ข้ามไปเนื้อหา

พระวิมลเกียรติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวิมลเกียรติ จิตรกรรมฝาผนังในถ้ำตุนหวง, ศตวรรษที่ 8

พระวิมลเกียรติ หรือ พระวิมลกีรติ (สันสกฤต: विमल Vimalakīrti) เป็นบุคคลสำคัญใน วิมลเกียรติสูตร ซึ่งบรรยายถึงพระวิมลเกียรติในฐานะฆราวาสอุบาสกพุทธศาสนิกชนมหายานที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง[1] และในฐานะบุคคลร่วมสมัยกับสมัยพุทธกาลของพระโคตมพุทธเจ้า ไม่ปรากฏการกล่าวถึงพระวิมลเกียรติมาก่อนในคัมภีร์พุทธฉบับใดเลยกระทั่งปรากฏในงานเขียนของพระนาคารชุน[2] ในวิมลเกียรติสูตรซึ่งเป็นคัมภีร์มหายานยังมีการกล่าวถึงนครไวศาลี[3] ว่าเป็นที่อยู่อาศัยของพระวิมลเกียรติ[4]

ในวิมลกีรตินิรเทศสูตร (ส.; หรือ ป. วิมลกีรตินิทเทสสูตร) อธิบายถึงพระวิมลเกียรติว่าเป็นผู้มั่งคั่งที่คอยปรนนิบัติพระโคตมพุทธเจ้า[5] ในความเชื่อมหายานมักถือว่าท่านเป็นบุคคลที่มีตัวตนในประวัติศาสตร์จริงเหมือนพระโคตมพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นบุคคลกึ่งตำนานอย่างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ดังนั้นในทางศาสนพิธีและศาสนกิจจึงไม่ปรากฏพระวิมลเกียรติได้รับการบูชาบนแท่นบูชาหรือตามพิธีทางตันตระ[6]

ในอารามพุทธแบบฉานในจีน คำเรียกเจ้าอาวาสคือคำว่า ฟางจ้าง (方丈; Fāngzhàng) ซึ่งแปลว่า "หนึ่งตารางจ้าง" ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างถึงขนาดของคูหาหินของพระวิมลเกียรติ[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Vimalakirti and the Doctrine of Nonduality". Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
  2. Thurman, Robert (2000). The Holy Teaching of Vimalakirti: A Mahayana Scripture. Pennsylvania State University Press. p. ix. ISBN 0271012099.
  3. The Holy Teaching of Vimalakīrti: A Mahāyāna Scripture. Motilal Banarsidass Publ. 1991. p. 20. ISBN 978-81-208-0874-4.
  4. Thurman, Robert. "VIMALAKIRTI NIRDESA SUTRA". สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
  5. Baroni, Helen Josephine (2002). The Illustrated Encyclopedia of Zen Buddhism. The Rosen Publishing Group. p. 369. ISBN 9780823922406.
  6. Leighton, Taigen Dan. "Boddhisattvas of Compassion Lesson 8: Vimalakirti". Ashoka: the eDharma learning center. DharmaNet International. สืบค้นเมื่อ 22 August 2014.
  7. Buswell Jr., Robert E.; Lopez Jr., Donald S. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press. p. 295. ISBN 978-1-4008-4805-8.