พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
อธิบดีกรมศุลกากร | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2472 |
ประสูติ | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2411 |
สิ้นพระชนม์ | 20 กันยายน พ.ศ. 2482 (71 ปี) |
หม่อม | 8 คน |
บุตร | 14 คน |
ราชสกุล | สนิทวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท |
มหาอำมาตย์โท[1] พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช (24 สิงหาคม พ.ศ. 2411[2] – 20 กันยายน พ.ศ. 2482) อดีตอธิบดีกรมศุลกากร เป็นพระโอรสลำดับที่ 33[3] ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เมื่อประสูติเป็นหม่อมเจ้า มีพระนามว่า หม่อมเจ้าพร้อม
พระประวัติรับราชการ
[แก้]หม่อมเจ้าพร้อม ทรงรับราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสารบาญชี (ปัจจุบันคือ กรมบัญชีกลาง) ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งกรมเมื่อปี พ.ศ. 2433[4] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร ระหว่างปี พ.ศ. 2436 – 2472[5] เป็นผู้จัดร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากร โดยอาศัยตามหลักกฎหมายอังกฤษ และดำเนินการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีศุลกากรกับต่างประเทศ[6] ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช" เมื่อปี พ.ศ. 2455[7]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช ประทับอยู่ที่วังบางพลูอยู่ติดกับวังของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ เชิงสะพานซังฮี้ ตำบลบางยี่ขัน อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือบริเวณซอยเจ้าพระยาสยาม
เสกสมรส
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช มีพระโอรสธิดาที่เกิดจากหม่อมต่าง ๆ ได้แก่ หม่อมสะอาด หม่อมลมัย หม่อมเจิม หม่อมจร หม่อมแป้น หม่อมพร หม่อมเกษร หม่อมเนิน และหม่อมไสว ทั้งสิ้น 14 คน[8] ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สอิ้ง ดิศกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล
- พระสนิทวงศ์อนุวรรต (หม่อมราชวงศ์พร้อมใจ สนิทวงศ์) สมรสกับทวี จารุรัตน์
- หม่อมราชวงศ์สุดสอาด ดิศกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล
- หม่อมราชวงศ์ชวลิต สนิทวงศ์ เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย[9][10]
- หม่อมราชวงศ์จำนงค์ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์ขจิต ศตศิริ
- หม่อมราชวงศ์อุไร ชมุนี
- หม่อมราชวงศ์กุศทิน สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์นันทา สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์สมศรี สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์วิภารดี อินทรประสิทธิ์
- หม่อมราชวงศ์พรรคพงศ์สนิท สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์วิจิตรมาลี สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์ระวีวรรณ ภัทรประภา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2482 ณ วังบางจาก สิริพระชันษา 71 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2482[3]
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2411 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 : หม่อมเจ้าพร้อม
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 20 กันยายน พ.ศ. 2482 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2451 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[14]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎปรัสเซีย ชั้นที่ 3[16]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏอิตาลี ชั้นที่ 2 [16]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์โอลก้าแอนด์โซเฟีย ชั้นที่ 2 [16]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2 [16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ ในหนังสือพระราชทานเพลิงพระศพ ระบุว่าประสูติวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2411
- ↑ 3.0 3.1 ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ "ประวัติกรมบัญชีกลาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
- ↑ "ประวัติธนาคารออมสิน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
- ↑ "ประวัติการคลังของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ↑ จากซางฮี้ถึงพร้อมพงษ์
- ↑ "พระประวัติพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. ก่อนเลือนหายในสายลม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, พ.ศ. 2542. 333 หน้า. ISBN 978-974-42-6298-1
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/1900.PDF
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 28 หน้า 1784 วันที่ 12 พฤศจิกายน 130
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ 14.0 14.1 โรงเรียนมหาดเล็ก. บาญชีพระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน ศก 128. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สามมิตร, พ.ศ. 2452. 70 หน้า. หน้า 10.
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 หน้า 2421
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 9 (ตอน 2): หน้า 12. 10 เมษายน 2435. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)