พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 1 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
ประสูติ | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2387 |
สิ้นพระชนม์ | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (67 ปี) |
หม่อม | หม่อมเวก ดารากร ณ อยุธยา |
พระบุตร | พระยาราชสีหยศ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร) เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร) หม่อมราชวงศ์ศุข ดารากร |
ราชสกุล | ดารากร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเทพ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2387 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2454) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเทพ เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2387 มีพระนามเมื่อแรกประสูติที่ หม่อมเจ้าจันทร์
หม่อมเจ้าจันทร์ ทรงรับราชการในกรมช่างมหาดเล็ก มีผลงานในการทำหน้าบันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซ่อมแซมพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซุ้มพระแกลพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และทำพระที่นั่งทรงผนวช ในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็น พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ ทรงศักดินา 3,000[1] เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2443
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ ประชวรด้วยพระโรคพระธาตุพิการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2454 เวลา 10.40 นาฬิกา[2] สิริพระชันษา 67 ปี พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4] (ชื่อเดิม:มหาสุราภรณ์)
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4] (ชื่อเดิม:นิภาภรณ์)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 (ม.ป.ร.4)[4]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมแลตั้งกรมพระองค์เจ้า เจ้าพระยา เก็บถาวร 2016-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119, หน้า 484-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 13 สิงหาคม ร.ศ. 130, หน้า 945
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเพลิงพระศพพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เล่ม 29, ตอน ง, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2455, หน้า 463
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 โรงเรียนมหาดเล็ก. บาญชีพระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน ศก 128. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สามมิตร, พ.ศ. 2452. 70 หน้า. หน้า 7.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายน่า แล ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗, ๒๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๙, หน้า ๕๐๐
- บรรณานุกรม
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum