ข้ามไปเนื้อหา

พระราชโพธิวรคุณ (พายัพ ฐิตปุญฺโญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชโพธิวรคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2488[1] (79 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ศน.บ., พธ.ม
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระธาตุดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
อุปสมบท30 มีนาคม พ.ศ. 2509
พรรษา56
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด

พระราชโพธิวรคุณ นามเดิม พายัพ กาวิยศ ฉายา ฐิตปุญฺโญ น.ธ.เอก ป.ธ.6 ศศ.ด.(กิตติ์) เป็นพระราชาคณะชั้นราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด[2] รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ อดีตเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด

ชาติภูมิ

[แก้]

ชื่อ พายัพ นามสกุล กาวิยศ เกิดวันที่ 12 เดือน กันยายน พ.ศ. 2488 ปีระกา เป็นบุตรของนายศรี นางลัย ภูมิลำเนาเดิม บ้านเลขที่ 12/1 ถนนสุมนเทวราช ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

บรรพชาและอุปสมบท

[แก้]

เมื่อวันที่ 30 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2509 ปีมะเมีย ณ วัดพระเนตร ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยมี พระครูอรรถธรรมวิภัช วัดพญาภู ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (พระเทพนันนาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดน่าน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์บุญเลื่อน ติลโก วัดพระเนตร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (พระครูบุญกิจสุนทร อดีตเจ้าคณะตำบลในเวียง เขต 1 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเนตร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาพรศักดิ์ ธมฺมวาที วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (พระเทพนันทาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดน่าน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ

[แก้]

  ตำแหน่ง

[แก้]

งานปกครอง

[แก้]
  • พ.ศ. 2523 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด(วัดราษฎร์)
  • พ.ศ. 2524 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด(วัดราษฎร์)
  • พ.ศ. 2525 เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2526 เป็นเจ้าคณะตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2531 เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2533 เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด 
  • พ.ศ. 2534 เป็นเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2555 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง
  • พ.ศ. 2555 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง[3]
  • พ.ศ. 2566 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่

งานการศึกษา

[แก้]
  • พ.ศ. 2513    เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรม  สำนักศาสนศึกษาวัดพระเกิด ตำบลเวียงเหนือ  อำเภอเมือง  จังหวัดน่าน
  • พ.ศ. 2513    เป็น กรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง ภาค 6 (ตรวจข้อสอบนักธรรม ภาค ๖ ประกอบด้วยจังหวัด เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)
  • พ.ศ. 2515    เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักศาสนศึกษาวัดบุพพาราม 
  • พ.ศ. 2524    เป็น  เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2524    เป็น  กรรมการศึกษาศิลปวัฒนธรรม  โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)
  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัดพระธาตุดอยสะเก็ด3
  • พ.ศ. 2527    เป็น  กรรมการตรวจธรรมสนามหลวงภาค 7
  • พ.ศ. 2529    เป็น กรรมการตรวจข้อสอบบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2530    เป็น พระปริยัตินิเทศ    ประจำจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2531    เป็น กรรมการควบคุมห้องสอบธรรมสนามหลวงอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2531    เป็น กรรมการควบคุมห้องสอบบาลีสนามหลวงจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2533    เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาตลอดชีวิตอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2534    เป็น  เจ้าหน้าที่จัดการฝ่ายสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2535    เป็น  กรรมการที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาเด็กสิรินธร ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • พ.ศ. 2543    เป็น  กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม
  • พ.ศ. 2543    เป็น  ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเชิงดอย(ดอยสะเก็ดศึกษา)
  • พ.ศ. 2545    เป็น  ผู้จัดการโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2552    เป็น  ผู้อำนวยการ ศูนย์ ICT ชุมชนวัดพระธาตุดอยสะเก็ด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร 

งานเผยแผ่

[แก้]
  • พ.ศ. 2527    เป็น  ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2530    เป็น  พระธรรมทูตเฉพาะกิจอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2534    เป็น  ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ประธานพระธรรมทูตปฏิบัติการอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์เผยแผ่ธรรมอำเภอดอยสะเก็ด

งานสาธารณูปการ

[แก้]
  • พ.ศ. 2526   เป็น  ประธานคณะกรรมการสาธาณูปการตำบลเชิงดอย เขต 1
  • พ.ศ. 2534    เป็น  ประธานคณะกรรมการสาธารณูปการอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2542    เป็น  ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน โรงพยาบาลดอยสะเก็ด ฝ่ายบรรพชิต
  • พ.ศ. 2544    เป็น  ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา) ฝ่ายบรรพชิต

งานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์-สาธารณสงเคราะห์

[แก้]
  • พ.ศ.  2524 เป็น    กรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์ การพัฒนาสุสานบ้านเชิงดอย หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงดอย 
  • พ.ศ. 2534    เป็น  ประธานกรรมการสาธารณสงเคราะห์ คณะสงฆ์อำเภอดอยสะเก็ด  +
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ประธานดำเนินการจัดตั้ง มูลนิธิแห่งความเมตตาและเอื้ออารีย์ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และผู้ด้อยโอกาส
  • พ.ศ.  2536   เป็น  ประธานกรรมการที่ปรึกษากลุ่มแม่หม้ายเอดส์ดอยสะเก็ด  ให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์
  • พ.ศ. 2546    เป็น  ประธานผู้ก่อตั้ง โครงการ “ร่มใบบุญ” ช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเขตที่ดินวัด  โดยการตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  และพัฒนาคุณภาพชีวิต

งานศึกษาสงเคราะห์       

[แก้]
  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2525    เป็น  ผู้อำนวยการศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดพระธาตุดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535    เป็น  ผู้อำนวยการค่ายคุณธรรมวัดพระธาตุดอยสะเก็ด

ผลงานที่ได้รับเชิดชูเกียรติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2529     ได้รับโล่เจ้าสำนักเรียนดีเด่น
  • พ.ศ. 2530     ได้รับโล่เกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา จากคุรุสภาอำเภอดอยสะเก็ด
  • พ.ศ. 2535     รางวัลนอร์มา เรื่องการสนับสนุนการศึกษาเด็กก่อนเกณฑ์   จากยูเนสโก  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จังหวัดเชียงใหม่ 
  • พ.ศ. 2535     ประกาศเกียรติคุณเจ้าคณะอำเภอดีเด่น จากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่  
  • พ.ศ. 2536     รางวัลเสาเสมาธรรมจักรทองคำสาขาการศึกษาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์         จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2537  ประกาศเชิดชูเกียรติ เดินตามรอยเยี่ยงครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย    
  • พ.ศ. 2537     รับรางวัล   เจ้าสำนักเรียน ผู้บริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมดีเด่น          จากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ 
  • พ.ศ. 2538     ได้รับโล่-รางวัลคนดีศรีสังคม      
  • พ.ศ. 2543    ได้รับโล่เจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น
  • พ.ศ. 2545     ได้รับโล่วัดส่งเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. 2548     ได้รับรางวัลคนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ
  • พ.ศ. 2549     ได้รับโล่ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ดีเด่น

สมณศักดิ์

[แก้]

พระราชโพธิวรคุณ ได้รับโปรดฯ พระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2528 เป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2529  เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอกที่ พระครูโสภณปริยัติสุธี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540  เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระโพธิรังษี[5]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชโพธิวรคุณ วิบูลธรรมกถาสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]

  อ้างอิง 

[แก้]
  1. อายุวัฒนมงคล 79 ปี พรรษา 59 “พระราชโพธิวรคุณ”
  2. พระราชโพธิวรคุณ ชี้ ศก.ฝืด ปีนี้คนทำบุญน้อย แนะอย่าเครียด เชื่อรบ.บริหารพ้นวิกฤตได้
  3. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๔ ภาค ๕ และภาค ๗[1]
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 103 ตอน 211 ง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2529 หน้า 4[2]
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (จำนวน 921 รูป) เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 121 ตอน 3 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 หน้า 17[3] เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 133, ตอนที่ 22 ข, 11 สิงหาคม 2559, หน้า 4[4]