ข้ามไปเนื้อหา

พระราชพฤฒาจารย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) อดีตเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ เป็นพระเถราจารย์ที่เป็นศิษย์หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว ที่มีประวัติว่าเคยเดินทางมาศึกษากับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆัง พร้อมกับคณาจารย์ชาวบ้านสวนอีกหลายท่านอาทิ พ่อเจ็ก วัดหัวฝาย และหลวงพ่อแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่ รวม 6 พรรษา จากนั้นหลวงพ่อฤทธิ์ พร้อมคณะคณาจารย์จึงเดินทางกลับสุโขทัย หลวงพ่อห้อมเมื่อบวชในภายหลังจึงได้ไปศึกษาหาความรู้และเป็นที่เคารพนับถือในฐานคณาจารย์สายหลวงพ่อฤทธิ์ และสายสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่ถูกนับถือในสุโขทัยและจังหวัดอื่น ๆในวงกว้าง

ประวัติ

[แก้]

หลวงพ่อห้อม อมโร เกิดเมื่อวันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน ปีวอก ตรงกับปีสากลคือ 19 มกราคม 2451 เวลา 5 โมงเย็นโดยประมาณ เป็นบุตรนายเรื่อง ครุฑนาค มารดาคือ นางมาลัย ครุฑนาค เกิดที่บ้านคลองตะเคียน ตำบลบ้านสวน จังหวัดสุโขทัย ในขณะที่คลอดมีญาติมิตร มาร่วมแสดงความยินดีกันจำนวนมาก ปู่จึงถือนิมิตรนี้ในการตั้งชื่อว่า "ห้อม"

การบวช

[แก้]

ห้อม ครุฑนาค ในวัยถึงแก่การอุปสมบทตามประเพณีของชาวพุทธ ได้เข้าบวชที่พัทธสีมาวัดคุ้งยางใหญ่ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย เมื่อ วันพฤหัสบดี แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง วันที่19 มีนาคม 2471 โดยมีพระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) ในขณะที่มีสมณศักดิ์ที่พระครูวินัยสาร(ทิม ยสทินฺโน) เจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย ต่อมาท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระครูสังฆรักเจ๊ก เจ้าอาวาสวัดหัวฝาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทด้วยกันทั้งสิ้น 27 คน เข้าโบสถ์เวลาเช้ามืด ได้นามฉายา อมโร

http://oknation.nationtv.tv/blog/Bansuan/2010/02/05/entry-1
พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) วัดราชธานี พระอุปัชฌาย์

ศูนย์กลางศรัทธา

[แก้]

หลวงพ่อห้อม อมโร เป็นศูนย์กลางศรัทธาของจังหวัดสุโขทัย ในวงกว้าง ด้วยการที่มีศิษย์ได้นิมนต์ท่านไปสร้างวัดในหลาย ๆ แห่ง อาทิ วัดอมราวาส [1] หรือวัดศูนย์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ในเขตตำบลบ้านเกิดของท่าน หรือวัดคลองตะเคียน [2] อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อห้อมได้ไปริเริมสร้างวัด จนกระทั่งกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนหมู่ 6 ตำบลบ้านสวน พร้อมส่งพระปลัดทองดี มหาวีโร (พระครูสุพัฒนพิธาน) ด้วยความที่ท่านเป็นพระสงฆ์ด้านการปกครอง เป็นพระภิกษุนักพัฒนา รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาวัดในหลายๆ แห่ง เช่น วัดอมราวาส จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือในวงกว้าง

สมณศักดิ์

[แก้]

พระครูศุขวโรทัย (ห้อม อมโร)

ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย

ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระสุขวโรทัย [3]

พ.ศ. 2529 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชพฤฒาจารย์ [4]

มรณภาพ

[แก้]

มรณภาพ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ได้มีการบำเพ็ญกุศลศพอย่างต่อเนื่อง และเก็บสรีรสังขารของพระเดชพระคุณท่านไว้ ณ ศาลาการเปรียญ วัดคูหาสุวรรณ จังหวัดสุโขทัย จนกระทั่งปัจจุบัน

ศิษย์อุปัชฌาย์จารย์ในหลวงพ่อห้อม

[แก้]

พระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองตะเคียน จังหวัดสุโขทัย

พระครูสุวิมลศีลขันธ์ (เรียน สิรินธโร) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ จังหวัดสุโขทัย

พระครูสุธรรมไพโรจน์ (ชาญณรงค์ โชติธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดอมราวาส อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย (พระราชพฤฒาจารย์ ห้อม อมโร) ๒๕๒๙ ๒๕๔๑

พระครูวิบูลศุกภิจ (ลมูล อํสุธโร) เจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ จังหวัดสุโขทัย

พระครูสุขุมธรรมวิจิตร (สุรศักดิ์ ปญฺญาวโร) เจ้าอาวาสวัดศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย

พระโสภณธรรมวงศ์ ดร. (วศก ปญฺญาอกฺโข) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ กทม

อ้างอิง

[แก้]
  1. กองพุทธศาสนสถาน,กรมการศาสนา,กระทรวงศึกษาธิการ,ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 7,กรุงเทพ ฯ โรงพิมพ์การศาสนา,2531. หน้า 507
  2. กองพุทธศาสนสถาน,กรมการศาสนา,กระทรวงศึกษาธิการ,ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 7,กรุงเทพ ฯ โรงพิมพ์การศาสนา,2531. หน้า 505
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 94, ตอนที่ 3 ง, 6 มกราคม 2520, หน้า 6 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2520/D/003/1.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 113, ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม 2539, หน้า 17 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/023/14.PDF เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน