พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | สภาผู้แทนราษฎร |
วันตรา | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 |
ผู้ลงนาม | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้ลงนามรับรอง | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
วันประกาศ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 |
วันเริ่มใช้ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 |
ท้องที่ใช้ | ประเทศสยาม |
การยกเลิก | |
พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2481 |
ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ขณะที่ประเทศไทยกำลังปรับตัวเข้าสู่การปกครองระบอบใหม่นั้น มีผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลหรือไม่ตรงกับระบบใหม่จำนวนมาก และการจะปราบปรามบุคคลเหล่านี้รัฐบาลก็ได้อาศัยวิธีการออกกฎหมายต่างๆ ขึ้นมาจัดการกับพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์และกำหนดให้เป็นความผิดตามกฎหมาย ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายกระทำการที่ได้บัญญัติไว้ก็ถือเป็นความผิดและต้องรับโทษ ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการออกกฎหมายเช่นนี้มาก่อนหน้านี้แล้วได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ 2476 โดยรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ส่วนพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญนั้นออกมาโดยรัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2476[1] หลังการรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 6 มาตรา
เนื่องจากก่อนการรัฐประหารมีการปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พระราชบัญญัตินี้จึงอาจเป็นการตอบโต้กับการการะทำของฝ่ายพระยามโนปกรณ์นิติธาดา อย่างไรก็ตามในพระราชบัญญัตินี้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐในการกักบริเวณผู้ต้องสงสัยได้เป็นเวลาถึงสิบปี และยังได้กำหนดระวางโทษการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญไว้สามปีถึงยี่สิบปีหรือปรับตั้งแต่ 500 บาทจนถึง 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัตินี้ยังถูกใช้ในการตัดสินคดีกบฏนายสิบในปี พ.ศ. 2478 อีกด้วย ปรากฏตามคำพิพากษาของศาลพิเศษ
จัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญนี้ถูกยกเลิกไปในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481[2] จากนั้นต่อมาอีก 9 ปีจึงเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งยกเลิกรัฐธรรมนูญในขณะนั้นและนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ "ฉบับใต้ตุ่ม" หรือ "ฉบับตุ่มแดง" มาใช้แทน