พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี)
มหาอำมาตย์ตรี พระยาโชฎึกราชเศรษฐี | |
---|---|
เกิด | มิ้น เลาหเศรษฐี 2411 |
ถึงแก่กรรม | 11 พฤษภาคม 2472 |
สาเหตุเสียชีวิต | โรคปอดบวม |
ตำแหน่ง | เจ้ากรมท่าซ้าย |
ภรรยาเอก | คุณหญิงเพิ่ม โชฎึกราชเศรษฐี |
บิดามารดา |
|
มหาอำมาตย์ตรี พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี) (2411 – 11 พฤษภาคม 2472)[1] เป็นขุนนางชาวไทย อดีตเจ้ากรมท่าซ้าย อดีตองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เกิดเมื่อปี 2411 เป็นบุตรชายของพระเจริญราชธน (เท่ง เลาหเศรษฐี) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับคุณหญิงเพิ่ม
พระยาโชฎึกราชเศรษฐีถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคปอดบวม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2472
รับราชการ
[แก้]พระยาโชฎึกราชเศรษฐีเริ่มต้นรับราชการในกรมท่าซ้าย ก่อนจะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเจริญราชธน ถือศักดินา 400 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2438[2] จากนั้นในวันที่ 22 สิงหาคม 2442 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม ถือศักดินา 800[3] ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2454 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในนามเดิม ถือศักดินา 1000[4]
ในวันที่ 27 สิงหาคม 2454 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ท่านเป็น อำมาตย์ตรี นอกตำแหน่ง[5] กระทั่งวันที่ 31 กรกฎาคม 2455 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้ากรมท่าซ้ายพร้อมกับพระราชทานยศ มหาอำมาตย์ตรี[6] ในวันที่ 30 ธันวาคม 2458 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ถือศักดินา 1400[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2464 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. 2459 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2460 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[10]
- 19 มีนาคม 2459 – เข็มข้าหลวงเดิม[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวตาย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร์ขุนนาง
- ↑ พระราชทานยศ กระทรวงนครบาล (หน้า 1162)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๘๖, ๒๙ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๙๓, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๓, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม