ข้ามไปเนื้อหา

พระยาแสนซ้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาแสนซ้าย
พระยานครแพร่
ครองราชย์พ.ศ. 2330-ก่อน พ.ศ. 2348
รัชกาลก่อนหน้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย)
รัชกาลถัดไปพระยาเทพวงศ์
พระนามเต็ม
พระยาแสนซ้าย (พญาแสนซ้าย)
พระบุตรพระยาเทพวงศ์
ราชวงศ์แสนซ้าย
เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่ง
ราชวงศ์แสนซ้าย
*พระยาแสนซ้าย
*พระยาเทพวงศ์
*พระยาอินทวิไชย
พระยาพิมพิสารราชา
เจ้าพิริยเทพวงษ์

พระยาแสนซ้าย หรือ เจ้าหลวงแสนซ้าย ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 1 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย และเป็นปฐมเจ้าผู้ครองนครแพร่แห่งราชวงศ์แสนซ้าย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ราชประวัติ

[แก้]

พระยาแสนซ้าย ไม่ปรากฏนามราชบิดาราชมารดา และพระนามเดิม สันนิษฐานว่าเดิมเป็นขุนนางตำแหน่งแสนซ้าย (แสนศรีไชย หรือแสนศรีซ้าย) มาก่อน เมื่อพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย) ถูกกักตัวที่กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2330 แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้สถาปนาให้เป็นพระยาแพร่แทน ได้รับยศเป็น พระยาแสนซ้าย[1]ในฐานะหัวเมืองประเทศราช[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]

ภายหลังเมื่อพระยาแสนซ้ายถึงแก่พิราลัยแล้ว พระเมืองไชย (พระเมืองใจ) ราชโอรสจึงได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ต่อจากพระองค์เป็นพระยาเทพวงศ์ ตามที่พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) กล่าวว่า

"...เมืองแพร่นั้น เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น พระยาแสนซ้ายได้เป็นเจ้าเมือง ครั้นถึงแก่กรรมแล้ว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งพระเมืองใจบุตรพระยาแสนซ้ายเป็นพระยาแพร่..."[2][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]

ราชโอรส-ธิดา

[แก้]

พระยาแสนซ้าย มีราชโอรสดังนี้

พระยาแสนซ้าย มีพระขนิษฐานาม เจ้าปิ่นแก้ว ภายหลังสมรสกับเจ้าวังขวา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภูเดช แสนสา.เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ใน หมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนา: รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ ๖ ทศวรรษ ศาสตราจารย์สรัสวดี-รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล. บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออกจำกัด (มหาชน), พ.ศ. 2556.
  2. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑ ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พิมพ์เป็นที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค); วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดประยูรวงศาวาส; พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร