ข้ามไปเนื้อหา

พระยาเพ็ชรพิไชย (เจิม อมาตยกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาเพ็ชรพิไชย (เจิม อมาตยกุล)
ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2390
เสียชีวิต6 มิถุนายน พ.ศ. 2465
คู่สมรสคุณหญิงถนอม อมาตยกุล
บุตรพระยาปฏิภาณพิเศษ (อาเล็กซานเดอร์ อมาตยกุล)
พระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล)
บุพการี
ครอบครัวอมาตยกุล
ความสัมพันธ์พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) (พี่ชาย)
พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล) (น้องชาย)

มหาเสวกโท พระยาเพ็ชรพิไชย นามเดิม เจิม สกุลอมาตยกุล (2390–6 มิถุนายน 2465) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง อดีตรัฐมนตรี อดีตองคมนตรี

ประวัติ

[แก้]

พระยาเพ็ชร์พิไชยเกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 6 ค่ำ ปีมะแม นพศก จุลศักราช 1209 ตรงกับ พ.ศ. 2390 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 มีนามเดิมว่า เจิม เป็นบุตรชายของ พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) กับ คุณหญิงพลอย (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) ผู้เป็นภรรยาเอกมีพี่ชายร่วมมารดา 1 คนน้องชายและน้องสาวร่วมมารดาอีก 2 คนคือ

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงถนอม อมาตยกุล มีบุตรชายที่สำคัญคือ

พระยาเพ็ชรพิไชยถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2465 สิริอายุได้ 75 ปี[1]

รับราชการ

[แก้]

พระยาเพ็ชรพิไชยเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือน 12 ปีระกา ตรีศก จุลศักราช 1223 ตรงกับ พ.ศ. 2404 โดยโปรดเกล้าฯ ให้เข้าไปช่วยงานบิดาที่ โรงกษาปณ์สิทธิการ

ในวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช 1231 ตรงกับ พ.ศ. 2412 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงวิจารณ์จักรกิจ ปลัดกรมกษาปณ์สิทธิการ จากนั้นในวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีระกา เบญจศก จุลศักราช 1235 ตรงกับ พ.ศ. 2416 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก

ต่อมาในวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ ฉอศก จุลศักราช 1236 ตรงกับ พ.ศ. 2417 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ปรีวีเคาน์ซิล หรือองคมนตรี จากนั้นในวันศุกร์ เดือน 12 แรม 2 ค่ำ ปีจอ ฉอศก ปีเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็กเวรเดช

ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2441 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน เจ้ากรมพระราชอุทยานสราญรมย์ ปีถัดมาคือในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2442 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตริตาภรณ์ช้างเผือก จากนั้นในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2443 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาบำเรอภักดิ์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง หลังจากนั้นในวันที่ 11 กันยายน ปีเดียวกัน ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี

ต่อมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า ในการนี้ ถนอม ภรรยาเอกของท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตติยจุลจอมเกล้า ทำให้เธอได้เลื่อนขึ้นเป็น คุณหญิงถนอม นับแต่บัดนั้น จากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ท่านได้รับพระราชทาน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2446 ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

จากนั้นในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ท่านได้รับพระราชทาน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 ในวันที่ 18 มกราคม ปีเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย อีก 2 ปีต่อมาท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2449

ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ท่านได้รับพระราชทาน เข็มพระชนมายุสมมงคล จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาเพ็ชร์พิไชย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 อีก 2 วันถัดมาคือในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 ท่านก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น จางวางกรมล้อมพระราชวัง โดยมี พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) มารับตำแหน่ง ปลัดทูลฉลองกระทรวงวังสืบแทน

ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น มหาเสวกโท

บรรดาศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2412 หลวงวิจารณ์จักรกิจ ปลัดกรมกษาปณ์สิทธิการ
  • พ.ศ. 2417 เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็กเวรเดช
  • 18 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน เจ้ากรมพระราชอุทยานสราญรมย์[2]
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2443 พระยาบำเรอภักดิ์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง ถือศักดินา ๑๐๐๐[3]
  • 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 พระยาเพ็ชรพิไชย อธิปไตยพาหิรเขตร ราชนิเวศน์สมันตารักษ์ วิบุลยศักดิ์อรรคมนตรีพิริยพาห ถือศักดินา ๕๐๐๐[4]
  • 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 จางวางกรมล้อมพระราชวัง[5]

ตำแหน่งและยศ

[แก้]
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2443 รัฐมนตรี[6]
  • 22 มีนาคม พ.ศ. 2443 องคมนตรี[7]
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2447 ผู้ช่วยปฏิคมใน หอพระสมุดวชิรญาณ[8]
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2455 มหาเสวกโท[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข่าวตาย
  2. พระราชทานสัญญาบัตร
  3. พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ
  4. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  5. แจ้งความกระทรวงวัง
  6. พระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรีและรัฐมนตรี
  7. พระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรี
  8. พระราชทานสัญญาบัตรกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ
  9. ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงวัง (หน้า ๑๔๐๕)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๗๑๔, ๗ ตุลาคม ๑๒๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๔, ๔ ตุลาคม ๑๒๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๖, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา แลเหรียญดุษฎีมาลา เหรียญจักรมาลา เหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๓๕๙, ๗ ตุลาคม ๑๑๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๖๑, ๒๗ มีนาคม ๑๒๘

แหล่งข้อมูล

[แก้]