พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป)
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) | |
---|---|
เกิด | 26 เมษายน พ.ศ. 2430 |
ถึงแก่กรรม | 14 กันยายน พ.ศ. 2498 (68 ปี) |
บิดามารดา |
|
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (26 เมษายน พ.ศ. 2430 – 14 กันยายน พ.ศ. 2498) เป็นนักบินคนแรกของประเทศไทยและเป็นผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศไทย
ประวัติ
[แก้]พระยาเฉลิมอากาศ มีนามเดิมว่า สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2430 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้คะแนนดีเยี่ยม จากนั้นเข้ารับราชการทหาร
ท่านได้รับทุนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ขณะมียศเป็น นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็นนักบินรุ่นแรก คนหนึ่งในจำนวน 3 คน ซึ่งประกอบด้วย นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์) และนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต)
ท่านรับราชการเป็นนักบินในกองทัพจนมียศเป็นนายพลโท บรรดาศักดิ์เป็นพระยาเฉลิมอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นผู้ริเริ่มหน่วยบินซึ่งเดิมมีเครื่องบินเพียง 8 ลำ จนพัฒนามาเป็น กรมอากาศยานทหารบก และกลายเป็นกองทัพอากาศไทย ในเวลาต่อมา
นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ พ้นจากหน้าที่ "เจ้ากรมอากาศยาน" เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[1] ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งได้มีคำสั่ง "ยกเลิกชั้นนายพลในกองทัพไทย" และกลับเข้าทำหน้าที่ ผู้กำกับการบินพลเรือน เป็นนายทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2481 ภายหลังได้รับพระราชทานยศ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2486
นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 68 ปี 141 วัน
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
- 6 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็น “หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ”[2]
- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เป็น “พระเฉลิมอากาศ”[3]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 เป็น “พระยาเฉลิมอากาศ” ถือศักดินา 1500[4]
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร
- สิงหาคม พ.ศ. 2446 เป็นนักเรียนนายร้อย
- มิถุนายน พ.ศ. 2448 เป็นว่าที่นายร้อยตรี
- 21 กันยายน พ.ศ. 2448 เป็นนายร้อยตรี [5]
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2449 เป็นนายร้อยโท [6]
- 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 เป็นนายร้อยเอก [7]
- 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายพันตรี [8]
- 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เป็นนายพันโท[9]
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2459 – เป็นนายพันเอก [10]
- 23 เมษายน 2461 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก[11]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เป็นนายพลตรี [12]
- 6 มีนาคม พ.ศ. 2473 เป็นนายพลโท [13]
- พ.ศ. 2475 ยกเลิกยศนายทหารชั้นนายพล ใน กองทัพบก
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็นนายนาวาอากาศเอก [14]
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เป็นพลอากาศโท[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[16]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[17]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 3 โยธิน (ย.ร.)[19]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป[21]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[22]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[23]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[24]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[25]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[26]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[27]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[28]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2466 – เหรียญชัย (ร.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ฝรั่งเศส:
- พ.ศ. 2464 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3 กอม็องเดอร์[29]
- อิตาลี:
- สเปน:
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 3[30]
- เนเธอร์แลนด์:
- พ.ศ. 2471 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 2 นายทัพ[31]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง นายทหารออกจากประจำการ
- ↑ ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน (หน้า ๒๔๔๐)
- ↑ ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๗๓๗)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก (หน้า ๗๗๓)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก (หน้า ๑๙๙)
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก (หน้า ๔๑๔)
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๙๒)
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๔๕๙๒)
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารอากาศ (หน้า ๒๕๕๙)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๒๘๓๖, ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๗๙, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีและเหรียญรามมาลา เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๒, ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๘๖, ๘ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฎิบัติราชการ เกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๔, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฏิบัติราชการ เกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๒๕, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๕, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๘, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๐๑, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๘๓, ๒๐ มกราคม ๒๔๗๑
บรรณานุกรม
[แก้]- ประวัติพระยาเฉลิมอากาศ เก็บถาวร 2007-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนังสือพระราชทานเพลิงศพ "พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ"
- ดนัย ไชยโยธา, นามานุกรมประวัติศาสตร์, โอเดียนสโตร์, 2548, ISBN 974-971-297-8
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2430
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2498
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ทหารบกชาวไทย
- ทหารอากาศชาวไทย
- ทหารอาสาชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- บุคคลจากอำเภอศรีประจันต์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ย.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์