พระยาอุปเทศทวยหาญ (เชื่อม ประพันธโยธิน)
หน้าตา
พันเอก พระยาอุปเทศทวยหาญ (เชื่อม ประพันธโยธิน) เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 เป็นบุตรของนายร้อยโทแช่ม รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ คือ ประจำกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 เป็นผู้บังคับกอบร้อยพิเศษโรงเรียนนายร้อยมัธยม ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยมัธยมเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกเมื่อปี พ.ศ. 2458 ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2459 เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกเป็นผู้รั้งผู้บังคับการนักเรียนนายร้อยชั้นปฐม ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2463 เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ลาออกจากราชการเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2469
ต่อมาเป็นผู้อำนวยการโรงพิมพ์ลหุโทษเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอุปเทศทวยหาญ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2457 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[1]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[2]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[3]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[4]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๔ เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๑๒, ๑๔ มกราคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๑, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๕, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๗, ๑๑ มกราคม ๒๔๖๒
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์. เกิดวังปารุสก์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ River Books, [ม.ป.ป.]. ISBN 974-8225-22-4