พระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล)
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล) (18 เมษายน 2430 – 17 พฤษภาคม 2469)[1] เป็นขุนนางชาวไทย เป็นอดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง คนที่ 7 ระหว่างปี 2464–2469 และอดีตองคมนตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]พระยาอนุรักษ์โกษา เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2430 เป็นบุตรชายของ พระอินทราธิบาล ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2469 เนื่องจากอหิวาตกโรค ขณะมีอายุได้เพียง 39 ปี
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงแถม มีธิดาคือ คุณหญิงเยาวมาลย์ บุนนาค ภรรยาของศาสตราจารย์เดือน บุนนาค อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา[2]
รับราชการ
[แก้]พระยาอนุรักษ์โกษา เริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนกรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อปี 2447 ถึงปีถัดมาคือปี 2448 เป็น รองผู้ตรวจบัญชีเงิน ในปี 2450 ท่านไปศึกษาต่อด้านวิชาบัญชีที่ยุโรป ก่อนจะเดินทางกลับในปี 2455 และได้เข้ารับราชการเป็นนายเวรกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จากนั้นในวันที่ 11 สิงหาคม 2456 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอนุรักษ์โกษา ถือศักดินา 600[3] ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม ศกเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานยศเป็น รองอำมาตย์เอก หลวงอนุรักษ์โกษา[4]
ในวันที่ 30 ธันวาคม 2457 ท่านได้เลื่อนยศเป็น อำมาตย์โท หลวงอนุรักษ์โกษา[5] ในปีถัดมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดิน ต่อมาในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2459 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม ถือศักดินา 800[6] ในวันที่ 8 ธันวาคม ศกเดียวกัน ท่านได้เลื่อนยศเป็น อำมาตย์เอก พระอนุรักษ์โกษา[7] และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2460[8]
ปี 2462 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในนามเดิม ถือศักดินา 1000 และได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2462 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา[9] ต่อมาในวันที่ 27 สิงหาคม 2463 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรักษาราชการแทนอธิบดีกรมบัญชีกลาง แทนที่ พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ที่ขยับขึ้นไปรับตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ[10] พร้อมกับเลื่อนยศเป็นมหาอำมาตย์ตรี ในวันที่ 1 เมษายน 2464 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง[11]
ในปี 2466 ท่านได้เป็นพระยาพานทอง ในวันที่ 11 มีนาคม ศกเดียวกัน ท่านได้รักษาราชการแทนในตำแหน่ง อธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดินและกรมเจ้าจำนวน[12] ต่อมาในวันที่ 4 เมษายน 2467 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี[13] ในวันที่ 10 เมษายน 2469 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการแห่งสภากรรมการรถไฟ[14]
ตำแหน่ง
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2466 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2463 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[18]
- พ.ศ. 2460 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[19]
- พ.ศ. 2450 –
เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 –
เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวตาย (หน้า 919-920)
- ↑ ศาสตราจารย์เดือน บุนนาค
- ↑ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ (หน้า 1034)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า 1511)
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า 2413)
- ↑ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ (หน้า 2390)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศเรื่องตั้งผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี พระพุทธศักราช 2467 (หน้า 68)
- ↑ ประกาศ ตั้งกรรมการแห่งสภากรรมการรถไฟ
- ↑ แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ แจ้งความเรื่องบริษัทแบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๘, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๐, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๗, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๗, ๕ มีนาคม ๒๔๕๘