พระยาสุรเสนา (หม่อมราชวงศ์ชิต กำภู)
พลตรี พระยาสุรเสนา (หม่อมราชวงศ์ชิต กำภู) | |
---|---|
เกิด | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2427 |
ถึงแก่กรรม | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (62 ปี) |
ภรรยาเอก | คุณหญิงผอบ กำภู ณ อยุธยา |
บุตร | 13 คน |
บิดามารดา |
|
พลตรี พระยาสุรเสนา (หม่อมราชวงศ์ชิต กำภู) เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2427 เป็นโอรสของพันเอก หม่อมเจ้าชื่น กำภู กับหม่อมพุ่ม กำภู ณ อยุธยา เข้าศึกษาเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อปี พ.ศ. 2442 สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2445 จากนั้นจึงเข้ารับราชการเป็นผู้บังคับกองร้อยพิเศษ โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 เป็นปลัดกรมบัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเป็นเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2456 มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์เวร พ.ศ. 2459 เป็นเลขาธิการในคณะกรรมการอำนวยการสภากาชาดไทย พ.ศ. 2467 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี หลังเกษียณราชการ พระยาสุรเสนาประกอบอาชีพส่วนตัวด้วยการก่อตั้งบริษัท สุรเสนา จำกัด ดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากท่านมีความสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม
ท่านสมรสกับคุณหญิงผอบ กำภู ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 13 คน คือ
- หม่อมหลวงชูชาติ กำภู
- หม่อมหลวงชิตเชื้อ กำภู
- พันเอก หม่อมหลวงชวนชื่น กำภู
- หม่อมหลวงชดช้อย กำภู
- พันตรี นายแพทย์ หม่อมหลวงเอกชัย กำภู
- หม่อมหลวงเชิดไชย กำภู
- หม่อมหลวงอบชื่น กำภู สมรสกับนายกระเจิ่น สิงหเสนี บุตรพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)
- หม่อมหลวงอชิต กำภู
- หม่อมหลวงพิชิต กำภู
- หม่อมหลวงชินชัย กำภู
- หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู
- หม่อมหลวงชูชิต กำภู
- หม่อมหลวงชมชื่น กำภู
พระยาสุรเสนาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2489
ตำแหน่ง
[แก้]- ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์มณฑลกรุงเทพ
- 4 เมษายน พ.ศ. 2467 - องคมนตรี[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2461 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[5]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[6]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2465 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
- พ.ศ. 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 3 (เงิน)[8]
- พ.ศ. 2456 – เข็มพระบรมรูปประดับเพ็ชร์ของสมเด็จพระพันปีหลวง
- พ.ศ. 2456 – เข็มพระบรมนามาภิไธยย่อ ส.ผ. (ประดับเพ็ชร์)
- พ.ศ. 2457 – เข็มข้าหลวงเดิม[9]
- พ.ศ. 2463 – เข็มพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. (ประดับเพ็ชร์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๖๗ (หน้า ๖๘)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๘๓, ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๖[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๓๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๑๗, ๑๔ มกราคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา เก็บถาวร 2022-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๔, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๗, ๑๑ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๗, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๗๑, ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2427
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2489
- สมุหราชองครักษ์
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ราชสกุลกำภู
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ราชองครักษ์เวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์