พระยาพลพรรคภิบาล (น้อม ศาตะมาน)
พระยาพลพรรคภิบาล | |
---|---|
เกิด | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2419 |
ถึงแก่กรรม | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 (53 ปี) |
สาเหตุเสียชีวิต | เส้นประสาทพิการ |
ตำแหน่ง | ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คนที่ 2 |
วาระ | 1 พฤษภาคม 2472 – 23 พฤษภาคม 2473 |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน | พลตำรวจโทพระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) |
ผู้สืบตำแหน่ง | พลตำรวจตรีพระยาอาษาพลนิกร (อึ่ง อรรถจินดา) |
ยศตำรวจ | พลตำรวจตรี |
พลตำรวจตรี พระยาพลพรรคภิบาล (น้อม ศาตะมาน) (30 มิถุนายน 2419 – 23 พฤษภาคม 2473)[1] เป็นอดีตนายตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนที่ 2 ระหว่างปี 2472 – 2473 และเป็นต้นตระกูลศาตะมาน โดยเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 2489 ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2458[2]
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจตรี พระยาพลพรรคภิบาล เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2419 เป็นบุตรชายของ ขุนมรัสตานุการ (สาตร์ ศาตะมาน) กับนางปริก ศาตะมาน ปู่ชื่อ พระประธานเพ็ชร์ (มี ศาตะมาน) มีพี่ชายที่รับราชการเช่นกันคือ นายพันตำรวจตรี หลวงอารีราษฎร์ (ชม ศาตะมาน)[3]
รับราชการ
[แก้]พระยาพลพรรคภิบาลเริ่มต้นรับราชการในตำแหน่ง เสมียนกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ เมื่อปี 2435 ก่อนโอนย้ายมารับราชการเป็นเสมียนประจำที่ว่าการกรมกองตระเวน เมื่อปี 2437 กระทั่งปี 2447 จึงได้ขึ้นเป็นสารวัตรใหญ่[4] จากนั้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2448 ท่านได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพลพรรคภิบาล ถือศักดินา 600[5] ต่อมาในปี 2450 ได้ย้ายไปรับราชการเป็นปลัดกรมที่กองตระเวนสรรพากร แผนกกองอากร[6]
จากนั้นในปี 2452 ท่านจึงได้กลับมารับราชการที่กรมกองตระเวน แผนกกองตระเวนชั้นใน ในตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจสายลำน้ำ (ต่อมาคือตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายลำน้ำ)[7] ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2457 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม ถือศักดินา 800[8] ในวันที่ 3 มิถุนายน 2458 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ท่านเป็น อำมาตย์เอก พระพลพรรคภิบาล[9] และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2458[10]
ต่อมาในวันที่ 17 มกราคม 2458 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมกองตระเวนเป็นกรมตำรวจพระนครบาล พร้อมกับเปลี่ยนยศขุนนางข้าราชการในกรมตำรวจพระนครบาลจากยศฝ่ายพลเรือนเป็นยศตำรวจตามยศเดิมคือ รองอำมาตย์ เป็น นายร้อยตำรวจ, อำมาตย์ เป็น นายพันตำรวจ และมหาอำมาตย์ เป็น นายพลตำรวจ ทำให้ท่านเปลี่ยนยศกลายเป็น นายพันตำรวจเอก พระพลพรรคภิบาล[11] ในวันที่ 13 ธันวาคม 2459 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในนามเดิม ถือศักดินา 1000[12] และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2460[13]
ในวันที่ 22 มกราคม 2466 ท่านได้ย้ายไปรับตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายบางรัก แทน นายพันตำรวจเอก ซีซิล บีเดล ฟอลเล็ต ที่ขยับไปรับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[14] ต่อมาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2469 ท่านได้ย้ายไปรับตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายพระนคร[15] จากนั้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2472 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแทนที่นายพลตำรวจตรี พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) ที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร[16] ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจตรี พร้อมกับพระยาอธิกรณ์ประกาศ ที่ได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจโท[17] หลังจากที่ท่านถึงแก่กรรมเมื่อกลางปี 2473 ในช่วงปลายปีได้มีการแต่งตั้งให้ นายพันตำรวจเอก พระยาอาษาพลนิกร (อึ่ง อรรถจินดา) ผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายพระนคร[18] (ต่อมาได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจตรี[19]) ซึ่งรักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[20] เป็น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คนใหม่[21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[22]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[23]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[24]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[25]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวตาย
- ↑ นามสกุลพระราชทาน
- ↑ ข่าวตาย (หน้า 2099–2100)
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล (หน้า 187)
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล (หน้า 1699)
- ↑ ตั้งและเลื่อนยศบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนนามกรมพลตระเวนและเปลี่ยนยศข้าราชการในกรมพลตระเวน
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและตั้งผู้บังคับการตำรวจนครบาล
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและบรรจุตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลดและตั้งผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ย้าย และตั้งนายตำรวจชั้นผู้บังคับการ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและย้ายข้าราชการตำรวจ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๔, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๙๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๔, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๗๙, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๕๗