สมปอง นครไธสง
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
สมปอง นครไธสง | |
---|---|
สมปอง ขณะบวชเป็นพระภิกษุ | |
เกิด | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (23 พรรษา) |
มีชื่อเสียงจาก | พระนักพูดนักบรรยายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา |
สมปอง นครไธสง[1] หรืออดีตพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต เป็นพิธีกร นักพูด นักเขียนเสริมสร้างแรงบันดาลใจ ชาวไทย ก่อนหน้านั้นเคยเป็นพระนักพูดนักบรรยายที่มีชื่อเสียง ก่อนที่จะลาสิกขาบทมาเป็นฆราวาสในปี 2564
ประวัติ
[แก้]สมปอง นครไธสง เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นบุตรชายคนเล็กจากจำนวนพี่น้อง 7 คน บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2541 ได้รับฉายา ตาลปุตฺโต แปลว่าบุตรของนางตาล (ที่มาของฉายานี้พระมหาสมปองขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ตั้งเอง) จำพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ก่อนลาสิกขาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่วัดบางโพโอมาวาส[2] แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เขาชอบทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล
การศึกษา/วิทยฐานะ
[แก้]- โรงเรียนบ้านป่าว่าน จังหวัดชัยภูมิ
- เปรียญธรรม 7 ประโยค สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
- นักธรรมชั้นเอก สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
- ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) เอกปรัชญา (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ปริญญาโท สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (สส.ม.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- รับพระราชทานรางวัล“เสาเสมาธรรมจักร” ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัล ในงานสัปดาห์วิสาขบูชาโลก พ.ศ. ๒๕๕๑
- รางวัล “จำนง ทองประเสริฐ” “ฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในสาขา “พระพุทธศาสนา” พ.ศ. ๒๕๕๑
- รางวัล “คนดีศรีแผ่นดิน” ประจำปี ๒๕๕๐ จากหนังสือพิมพ์สื่อสารธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๐
- นิตยสาร Positioning ยกย่องให้เป็น “50 ผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี” พ.ศ. ๒๕๕๐ ฯลฯ
การทำงานในอดีต
[แก้]- วิทยากรบรรยายข้าราชบริพารในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ
- วิทยากรบรรยายข้าราชบริพารในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ
- หัวหน้าค่ายพุทธธรรมนำชีวิตของวัดสร้อยทอง
- อนุกรรมการขจัดสื่อร้ายขยายสื่อดี กระทรวงพัฒนาสังคมฯ
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์
- ที่ปรึกษาชมรม ทูบี นัมเบอร์ วัน (บริษัทเวลลอย)
- วิทยากรบรรยายพิเศษ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่าง
ปริญญากิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ
[แก้]- ปริญญาโทกิตติมศักดิ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ม.กิตติมศักดิ์) สาขาธรรมนิเทศ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภามหาวิทยาลัยปทุมธานี
- ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
งานสาธารณะสงเคราะห์
[แก้]- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสโมสรฟุตบอลจัมปาศรี ยูไนเต็ด[3][4]
ผลงานทางสื่อ
[แก้]ทางสื่อโทรทัศน์
[แก้]- พระวิทยากรประจำรายการ
- ธรรมะเดลิเวอรี่ ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- หลวงพี่มาแล้ว ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 09.50 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3
- โหนกระแสแต่เช้า ทุกวันอาทิตย์ 07.20 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3
- หลวงพี่ช่วยด้วย ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ 11.00 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ 23
- มหาพาสนุก ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 22.00 น. ทางช่อง 9 (เริ่มวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565-)
ทางสื่อออนไลน์
[แก้]- รายการธรรมะ Youtube : พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต Channel (เริ่มวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2563 – ปัจจุบัน)
- รายการ ห่างทุกข์ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 น. ทาง BUGABOO.TV, fanpage พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (เริ่มวันพุธที่ 2 กันยายน 2563 – ปัจจุบัน)
- อัศวิน" บิณไปกับ พระมหาสมปอง (19 กุมภาพันธ์ 2564 – ปัจจุบัน)
- ทธท (เทศน์ธรรมทั่วไทย) (22 กุมภาพันธ์ 2564 – ปัจจุบัน)
- แม่ปอง Official (30 ธันวาคม 2564 – ปัจจุบัน)
ทางสื่อต่างๆ
[แก้]- วีซีดี"ธรรมะเดลิเวอรี่", หนังสือ"ธรรมเดลิเวอรี่"เล่ม 1-5
- หนังสือ"ธรรมะเดลิเวอรี่ ฉบับอมยิ้มอิ่มใจ"
- หนังสือ"สุขกันเถอะโยม เล่ม 1–2"
- หนังสือ"โยมเอ้ยสิบอกไห่"
- หนังสือ"หลงทางเสียเวลา เดินตามอาตมามีอนาคต (นะโยม)"
- หนังสือ"ธรรมะเดลิเวอรี่ แฮปปี้ 24 ชั่วโมง
- หนังสือ"ธรรมะฮาเฮ ฉบับ ขอให้มั่งมีศรีสุขกันทุกวัน"
- หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ รู้แล้วสุขม้ากมาก"
- หนังสือ"รู้มั้ยธรรมะ ฉบับ ฮาทั่วทิศ สุขทั่วไทย"
- หนังสือ"คำคม ธรรมฮา พระมหาสมปอง"
- หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ สั้นๆ ไม่ลึก แต่ซึ้ง"
- หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ รักนะ...คนดี"
- หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ ขอให้โชคดีนะโยม"
- หนังสือ"สุขเว่อร์" โดยสำนักพิมพ์โปรวิชั่น
- หนังสือ"ปลดทุกข์ ปล่อยวางกันบ้างเถิดโยม"
- หนังสือ"ชีวิตไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นนะโยม"
- หนังสือ"ธรรมะฮาเฮ ฉบับ สุขอั๊ยย๊ะ ฮักจุงเลย"
- หนังสือ"โยมฮู้บ่ออยากมีความสุขจังฮู้ ยะจะได"
ผลงานการแสดง
[แก้]ละครโทรทัศน์
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด รับบท พระสมปอง
ชีวิตหลังลาสิกขา
[แก้]เพื่อปลดหนี้สินจำนวน 10 ล้านบาท
[แก้]สมปองได้ลาสิกขาบทไม่นาน ชาวไทยก็ทราบว่าหนึ่งในเหตุที่ให้สมปองต้องลาสิกขาบทออกมานั้นเกิดจากการที่มีภาระหนี้สินมากกว่า 10 ล้านบาท โดยสมปองได้ใช้เงินไปกับการก่อสาธารณะประโยชน์แก่สังคม สร้างหลากหลาย เช่น โรงเรียน สนามกีฬา วัด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระมหาสมปอง (แบบย่อ) ตาลปุตฺโต นครไธสง เก็บถาวร 2009-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เว็บไซต์ธรรมะเดลิเวอรี่. เรียกข้อมูลเมื่อ 19-6-52
- ↑ "พระมหาสมปองสึกแล้ว! เป็นฆราวาสเต็มตัว ด้านทิดไพรวัลย์โพสต์แซวนับรุ่น". mgronline.com. 2021-12-29. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 February 2023
- ↑ "พระมหาสมปอง" นั่งตำแหน่งที่ปรึกษาสโมสรฟุตบอล
- ↑ พระมหาสมปองนั่งแท่นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัมปาศรี ยูไนเต็ด
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2521
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดชัยภูมิ
- เปรียญธรรม 7 ประโยค
- นักเขียนชาวไทย
- พิธีกรชาวไทย
- ยูทูบเบอร์ชาวไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
- บุคคลจากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยปทุมธานี
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- สโมสรฟุตบอลจัมปาศรี ยูไนเต็ด
- พระสงฆ์ชาวไทย
- อดีตภิกษุ