ข้ามไปเนื้อหา

พระมหากษัตริย์ฮันโนเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์
ตราแผ่นดิน
พระองค์สุดท้าย
พระเจ้าเกออร์คที่ 5
18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851 –
20 กันยายน ค.ศ. 1866
รายละเอียด
พระราชอิสริยยศฮิส มาเจสตี
กษัตริย์องค์แรกพระเจ้าเกออร์คที่ 3
กษัตริย์องค์สุดท้ายพระเจ้าเกออร์คที่ 5
สถาปนาเมื่อ12 ตุลาคม ค.ศ. 1814
การล้มล้าง20 กันยาย ค.ศ. 1866
ผู้แต่งตั้งสืบราชสันตติวงศ์
ผู้อ้างสิทธิเป็นกษัตริย์เจ้าชายแอ็นสท์ เอากุสท์

พระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเวอร์ (เยอรมัน: König von Hannover) เป็นพระบรมราชอิสริยยศอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งรัฐของราชอาณาจักรฮันโนเวอร์ เริ่มต้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ ได้รับการถวายพระบรมราชอิสริยยศเป็น พระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์ ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1814 ณ กรุงเวียนนา และพระบรมราชอิสริยยศนี้สิ้นสุดลงจากการผนวกรวมเข้ากับราชอาณาจักรปรัสเซีย เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1866

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1692 จักรพรรดิเลโอพ็อท์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค เป็นนครรัฐผู้คัดเลือกที่เรียกว่า รัฐผู้คัดเลือกฮันโนเฟอร์ การยกฐานะในครั้งนี้ทำให้เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเวอร์สามารถมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองได้เป็นอย่างมาก เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกพระองค์แรกแห่งฮันโนเฟอร์คือ แอ็นสท์ เอากุสท์ ซึ่งเกออร์ค ลูทวิช พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองบัลลังก์บริเตนใหญ่เป็น พระเจ้าจอร์จที่ 1 ในปี ค.ศ. 1714 เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 และคงไว้ซึ่งการมีพระมหากษัตริย์เป็นโปรเตสแตนต์ บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และฮันโนเฟอร์จึงกลายเป็นรัฐร่วมประมุขจนถึงปี ค.ศ. 1837

รัฐผู้คัดเลือกฮันโนเฟอร์กลายเป็น ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ ในปี ค.ศ. 1814 หลังจากการพ่ายแพ้ของนโปเลียน และการจัดระเบียบดินแดนของเยอรมันใหม่ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ผู้มีครองรัฐผู้คัดเลือกฮันโนเฟอร์ ในพระอิสริยยศ เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก ทรงได้รับการถวายพระบรมราชอิสริยยศเป็น พระมหากษัตริย์ เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญทางการเมืองของฮันโนเฟอร์ที่เพิ่มมากขึ้นภายในสมาพันธรัฐเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ระบบราชาธิปไตยควบคู่สร้างความซับซ้อน เนื่องจากราชบัลลังก์อังกฤษและฮันโนเฟอร์มีกฎการสืบราชบัลลังก์แยกจากกัน ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 เสด็จสวรรคต และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ขึ้นครองราชสมบัติสหราชอาณาจักรสืบต่อจากพระปิตุลาในปี ค.ศ. 1837 แต่กฎหมายกึ่งซาลิกของฮันโนเฟอร์ (agnatic-cognatic) จะให้พระราชสิทธิพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าก่อนฝ่ายใน ด้วยเหตุนี้ เจ้าชายเออร์เนสต์ ออกัสตัส ดยุกแห่งคัมบาร์ลันด์ ซึ่งเป็นพระปิตุลาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย จึงได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์ สืบต่อจากพระเชษฐา

ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์เผชิญกับความท้าทายที่สำคัญในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วง สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี ค.ศ. 1866 แม้จะเข้าร่วมกับจักรวรรดิออสเตรีย แต่ฮันโนเฟอร์ก็ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรปรัสเซีย หลังจากที่ออสเตรียพ่ายแพ้ ส่งผลให้สูญเสียอำนาจปกครองตนเองในฐานะราชอาณาจักร ต่อมา ในปี ค.ศ. 1871 ดินแดนนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากปรัสเซียรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน การลุกฮือขึ้นต่อต้านในพื้นที่ทำให้ ฮันส์ ฟ็อน ฮาร์เดินแบร์ค กรรมาธิการพลเรือนที่กำกับดูแลการผนวกฮันโนเฟอร์เข้ากับปรัสเซีย ถึงกับออกความเห็นว่า:

ชนชาวฮันโนเฟอร์โดยรวมแล้วเป็นกลุ่มชนที่เข้มแข็งและไม่ยอมประนีประนอมต่างจากชาวซัคเซิน แนวคิดเฉพาะของพวกเขาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความกลัวต่อพวกปรัสเซียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นที่หยั่งรากลึก ว่าไม่มีชีวิตที่ใด จะดีไปกว่าชีวิตที่ฮันโนเฟอร์อีกแล้ว พวกเขาช่างยึดมั่นในความชาตินิยมอย่างแข็งขันเสียจริง

— ฮันส์ ฟ็อน ฮาร์เดินแบร์ค [1]

การประท้วงของพระเจ้าเกออร์คที่ 5 แห่งฮันโนเฟอร์ และประชาชนในพื้นที่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการผนวกรวมฮันโนเฟอร์เข้ากับปรัสเซีย และนำไปสู่การก่อตั้ง พรรคเยอรมัน-ฮันโนเฟอร์ ซึ่งได้รับคะแนนเสียงชาวฮันโนเวอร์ 46.6% ใน การเลือกตั้งสหพันธรัฐในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1871 [2]

รายพระนามเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์

[แก้]

แอ็นสท์ เอากุสท์ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกพระองค์แรกแห่งฮันโนเฟอร์ในปี ค.ศ. 1692 แต่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1698 ก่อนที่มหาสภาจักรวรรดิจะรับรองการยกฐานะฮันโนเฟอร์เป็นนครรัฐผู้คัดเลือกในปี ค.ศ. 1708 โซฟีแห่งฟัลทซ์ พระชายาม่ายของพระองค์ ยังทรงเป็นที่รู้จักในพระยศ พระชายาในเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ พระโอรสของทั้งสองพระองค์คือ เกออร์คที่ 1 ซึ่งทรงเป็น เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ พระองค์แรกอย่างเป็นทางการ

พระรูป พระนาม รัชกาล การสืบสันตติวงศ์ หมายเหตุ
เกออร์คที่ 1 ลูทวิช ค.ศ. 1708–1727 พระโอรสของแอ็นสท์ เอากุสท์ เสวยราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ ในปี ค.ศ. 1714 ได้รับดินแดนเมืองเบรเมิน-แวร์เดิน ในปี ค.ศ. 1719
เกออร์คที่ 2 เอากุสท์ ค.ศ. 1727–1760 พระโอรสของเกออร์คที่ 1 ลูทวิช ได้รับที่ดินฮาเดิลน์ ในปี ค.ศ. 1731
เกออร์คที่ 3 วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช ค.ศ. 1760–1806 พระนัดดาของเกออร์คที่ 2 เอากุสท์ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (โดยพระราชบัญญัติสหภาพกับไอร์แลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1801 และทรงได้รับพระยศเป็น เจ้าชายมุขนายกแห่งออสแนบรึค ในปี ค.ศ. 1803 ต่อมาทรงสูญเสียพระราชอำนาจโดยพฤตินัยเหนือฮันโนเฟอร์หลายครั้ง จากการยึดครองและผนวกดินแดนในช่วง มหาสงครามฝรั่งเศส (ค.ศ. 1801–1813) หลังจากที่พระยศ เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก สิ้นสุดลง พร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1806 แต่ทรงรักษาพระยศไว้จนถึงต้นปี ค.ศ. 1814 เมื่อพระเจ้าจอร์จได้รับการประกาศให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์ ซึ่งเป็นพระบรมราชอิสริยยศที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันในระหว่างการประชุมแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1814–15)

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์

[แก้]
พระมหากษัตริย์ รัชกาล การสืบสันตติวงศ์ ราชวงศ์ พระอัครมเหสี
# พระบรมฉายาลักษณ์ พระปรมาภิไธย เริ่มต้น สิ้นสุด พระฉายาลักษณ์ พระนามาภิไธย
1 พระเจ้าเกออร์คที่ 3

(1738–1820)

เยอรมัน: König Georg III
12 ตุลาคม 1814

29 มกราคม 1820 พระนัดดาในเกออร์คที่ 2 เอากุสท์ ฮันโนเฟอร์ ชาร์ล็อทเทอ

(1744–1818)

เยอรมัน: Königin Charlotte
2 พระเจ้าเกออร์คที่ 4

(1762–1830)

เยอรมัน: König Georg IV
29 มกราคม 1820 26 มิถุนายน 1830 พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าเกออร์คที่ 3 ฮันโนเฟอร์ คาโรลีเนอ

(1768–1821)

เยอรมัน: Königin Caroline
3 พระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 1

(1765–1837)

เยอรมัน: König Wilhelm I
26 มิถุนายน 1830 20 มิถุนายน 1837 พระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในพระเจ้าเกออร์คที่ 3 ฮันโนเฟอร์ อาเดิลไฮท์

(1792–1849)

เยอรมัน: Königin Adelaide
4 พระเจ้าแอ็นสท์ เอากุสท์ที่ 1

(1771–1851)

เยอรมัน: König Ernst August
20 มิถุนายน 1837 18 พฤศจิกายน 1851 พระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในพระเจ้าเกออร์คที่ 3 ฮันโนเฟอร์ ฟรีเดอรีเคอ

(1778–1841)

5 พระเจ้าเกออร์คที่ 5

(1819–1878)

เยอรมัน: König Georg V
18 พฤศจิกายน 1851 20 กันยายน 1866 พระราชโอรสในพระเจ้าแอ็นสท์ เอากุสท์ที่ 1 ฮันโนเฟอร์ มารี

(1818–1907)

ธงพระอิสริยยศและตราอาร์ม

[แก้]

หลังจากการเป็นรัฐร่วมประมุขกับบริเตนใหญ่ สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1837 พระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเวอร์ยังคงใช้ตราอาร์มและธงพระอิสริยยศของอังกฤษ โดยเพียงแค่นำมงกุฎใหม่มาใช้ (ตามอย่างอังกฤษ)

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Schmitt, H. A. (1975). "Prussia's Last Fling: The Annexation of Hanover, Hesse, Frankfurt, and Nassau, June 15 – October 8, 1866". Central European History. 8 (3): 316–347. doi:10.1017/s0008938900018008. JSTOR 4545753. S2CID 145525529.
  2. Stehlin, Stewart A. (2011). A Study in Particularist Opposition to National Unity. New York: Springer Dordrecht. pp. 2–3. ISBN 978-9401024075.