เจ้าชายพระราชสวามี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฐานันดรศักดิ์ยุโรป |
---|
จักรพรรดิ / กษัตริย์-จักรพรรดิ / ไคเซอร์ / ซาร์ |
กษัตริย์สูงสุด / มหาราช |
กษัตริย์ / ราชินีนาถ |
อาร์ชดยุก / เซซาเรวิช |
แกรนด์พรินซ์ / แกรนด์ดยุก |
คัวร์เฟือสท์ / เจ้าชาย / เจ้าหญิง / มกุฏราชกุมาร / อินฟันเต / โดแฟ็ง |
ดยุก |
เฟือสท์ |
มาร์ควิส / มาร์คกราฟ / ลันท์กราฟ |
เคานต์ / เอิร์ล / กราฟ / บวร์คกราฟ |
ไวเคานต์ / วีดาม |
บารอน / ไฟรแฮร์ |
บารอเนต / อัศวินจักรวรรดิ |
อัศวิน / เดม / เซอร์ / แซร์ / มาดาม / ลอร์ด / เลดี |
เอ็สไควร์ / เอดเลอร์ / สุภาพบุรุษ / ยุงเคอร์ |
Ministerialis |
เจ้าชายพระราชสวามี[1] (อังกฤษ: prince consort) หมายถึงพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถ แต่ไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์ตามสิทธิ์ของพระองค์เอง
โดยทั่วไปผู้ที่เป็นพระราชสวามีอาจได้รับพระยศเป็นเจ้าชาย เจ้าชายพระราชสวามี หรือพระมหากษัตริย์พระราชสวามี ตามแต่สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงแต่งตั้ง
กรณีที่ "เจ้าชายพระราชสวามี" เป็นอิสริยยศ พบว่าใช้กับเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ที่พระราชทานให้พระราชสวามีในปี ค.ศ. 1857 ต่อมาเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก ก็ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเดียวกันนี้จากสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่2ในปี ค.ศ. 2005
ราชสำนักจีน
[แก้]ในราชสำนักของจักรพรรดิจีน มีตำแหน่ง "ฟู่หม่า" (จีนตัวย่อ: 驸马; จีนตัวเต็ม: 駙馬; พินอิน: fùmǎ) ซึ่งเดิมเป็นตำแหน่งในราชสำนัก ต่อมาใช้กับพระสวามีของเจ้าหญิงด้วย จึงอาจเทียบได้กับ "เจ้าชายพระสวามี" ในฐานันดรศักดิ์ยุโรป เจ้าชายพระสวามีอาจดำรงตำแหน่งหรือยศอื่น ๆ อีกตามสิทธิ์ของพระองค์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑืตยสถาน, ราชวงศ์แห่งมหาอำนาจยุโรปในคริสต์ศตวรรษ 19 : กษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 290