พระมงคลสิทธาจารย์ (รวย ปาสาทิโก)
พระมงคลสิทธาจารย์ (สำรวย ปาสาทิโก) | |
---|---|
ชื่ออื่น | ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อรวย |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2464 (95 ปี) |
มรณภาพ | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 |
นิกาย | มหานิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดตะโก พระนครศรีอยุธยา |
บรรพชา | พ.ศ. 2480 |
อุปสมบท | 12 เมษายน พ.ศ. 2484 |
พรรษา | 76 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดตะโก |
ท่านเจ้าคุณ พระมงคลสิทธาจารย์ (หลวงพ่อรวย วัดตะโก) (9 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดความรู้มาจากพระคณาจารย์รุ่นก่อน ด้วยนามอันเป็นมงคลสูงและศีลาวัตรปฏิบัติอันงดงาม ควรแก่การศรัทธาและเคารพอย่างยิ่ง ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชามาจาก หลวงพ่อชื้น (พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ) อดีตเจ้าอาวาสวัดภาชี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกูล” ลูกศิษย์สายตรงของ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ และหลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ (ปรมจารย์ด้านมีดหมอสายภาคกลาง) และเป็นหนึ่งในบุคคลที่กล่าวถึงในสมัยอยุธยาเป็นราชธานีในวันที่ (3 เมษายน พ.ศ. 1893 – 7 เมษายน พ.ศ. 2310) และเสียกรุงให้กับพม่า และ กลับมาเป็นราชธานีอีกครั้งหนึ่งในวันที่ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310) ซึ่งถือว่า พระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำ และมีความเชื่อกับสิ่งของโบราณ และสถานที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขนาดพระคณาจารย์ชื่อดัง ยังมีอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะ พระเกจิอาจารย์ใช้สถานที่ฝึกตำราพิชัยสงคราม สรรพวิชาต่าง ๆ มากมาย ตำรับสายเวทในวัดประดู่ทรงธรรม [1]
ประวัติ
[แก้]ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2464 ที่บ้านตะโก หมู่ที่ 2 ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายมี และ นางสินลา มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน บรรพบุรุษฝ่ายบิดาเป็นคนกรุงศรีสัตตนาคนหุตอาณาจักรล้านช้าง เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้เรียนอยู่ที่วัดตะโกเพราะในสมัยนั้นในละแวก ตำบลหญ้านาง ไม่มีโรงเรียนประถม จึงต้องเรียนกับพระภิกษุบนศาลาการเปรียญ และพอมีอายุได้ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร มีพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดตะโก เป็นพระอุปัชฌาย์ สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในขณะที่ครองเพศเป็นสามเณร จนกระทั่งมีอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยมีพระครูสุนทรธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อชื่น) เจ้าอาวาสวัดภาชี และเจ้าคณะอำเภอภาชี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจ้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดตะโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปาสาทิโก [2] และสอบนักธรรมชั้นโทได้เมื่อปี พ.ศ. 2485 และสอบนักธรรมชั้นเอกได้เมื่อ พ.ศ. 2487 หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาวิชากรรมฐานแลพุทธาคมต่าง ๆ โดยขอฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อชื้น พระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นศิษย์สายตรงของ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลังจากนั้น ก็ไปเรียนกับหลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาให้กับหลวงพ่อรวย จนหมดสิ้น [3] หลวงพ่อท่านเป็นพระคณาจารย์ระดับแนวหน้ารูปหนึ่งของประเทศ และเวลามีงานพุทธาภิเษก ปลุกเสกพระเครื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็จะนิมนต์หลวงพ่อรวย ไปปลุกเสกพระเครื่องเป็นประจำ ด้วยนามอันเป็นมงคลที่กล่าวมายังข้างต้น [2]
ประสบการณ์ที่เล่าขาน
[แก้]หลวงพ่อรวยมีฌานสมาธิอันแก่กล้าในกรรมฐาน ตั้งใจเล่าเรียนเพื่อเรียนวิชาให้รวดเร็ว จึงมีความเข้มขลังในวิทยาคมมาก ดังปรากฏการณ์มหัศจรรย์หลายอย่าง ต่อสายตามหาชน เมื่อคราววางศิลาฤกษ์ที่โรงเรียนบ้านตะโก- ดอนหญ้านาง ขณะที่พระสงฆ์สวดชยันโตและหลวงพ่อรวย กำลังเจิมแผ่นศิลาฤกษ์อยู่นั้น กำนันแสวง โชคชัย ได้ชักปืน 9 ม.ม ยิงข้ามสายสิญจน์เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ปรากฏว่า ยิงไม่ออก [3]
ฟ้าผ่าไม่ตาย
[แก้]มีอีกเรื่องหนึ่ง ที่เล่าโจษขานกันก็คือ มีชาวนาคนหนึ่งชื่อ นางจำนงค์ บังขจร ขณะดำนาอยู่ก็ถูกฟ้าผ่า และก็จมน้ำ ต่อหน้าต่อตาญาติพี่น้อง ทั้งสามีและลูก ต่างก็ช่วยอุ้มขึ้นมา ปรากฏว่าเสื้อผ้าไหม้เกรียมจนหมด แต่ในตัวกับไม่พบบาดแผลใด ๆ จึงพากันกลับบ้าน และใช้สุราพ่น รุ่งขึ้น อาการก็ทุเลาลง เริ่มลุกขึ้นได้ พอฟื้นขึ้นมา ก็ทราบว่า นางจำนงค์ ได้ห้อยเหรียญของหลวงพ่อรวย รุ่นแรก ที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองสมณศักดิ์พ.ศ. 2513 เพียงเหรียญเดียวเท่านั้น ความมหัศจรรย์เล่าขานกันต่อมา อย่างไม่รู้จบ
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2499 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์พัดยศฐานานุกรม ที่ พระปลัด สำรวย ปาสาทิโก
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์พัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่ พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ที่ พระมงคลสิทธาจารย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือ19 พระคณาจารย์ยอดนิยมยุคปัจจุบัน
- ↑ 2.0 2.1 หลวงพ่อรวย วัดตะโก อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "หลวงปู่" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 3.0 3.1 ประวัติ หลวงพ่อรวย วัดตะโก อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "หลวงพ่อ" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน