ข้ามไปเนื้อหา

พระมงคลวิสุทธิ์ (สุภา กนฺตสีโล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมงคลวิสุทธิ์

(สุภา กนฺตสีโล)
ชื่ออื่นหลวงปู่สุภา
ส่วนบุคคล
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2439 (116 ปี)
มรณภาพ2 กันยายน พ.ศ. 2556
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
บรรพชาพ.ศ. 2448
อุปสมบทพ.ศ. 2459
พรรษา98
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสิริสีลสุภาราม

หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล (17 กันยายน พ.ศ. 2439 - 2 กันยายน พ.ศ. 2556) ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสีลสุภาราม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และ พระอาจารย์สีทัตต์ วัดท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นพระเถระคณาจารย์ที่มีพรรษาแก่กล้า และมีอายุยืนถึง 116 ปี 98 พรรษา[1][2] ตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่ 5 นับเป็นเวลาถึง 5 แผ่นดิน และเชี่ยวชาญพุทธาคมมากที่สุดรูปหนึ่งในรูปปัจจุบัน พระเครื่องที่ออกนามในวัดสารอด รุ่นเสด็จกลับ เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดของท่านเช่นเดียวกับเครื่องราง แมงมุมเรียกทรัพย์ และ จระเข้อาคม อันขึ้นชื่อลือชา

ประวัติ

[แก้]

พระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2439 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านคำบ่อ ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร[3] โยมบิดาชื่อ ขุนพลภักดี ผู้ใหญ่บ้านคำบ่อ โยมมารดาชื่อ นางสอ วงศ์คำภา มีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน 8 คน ท่านเป็นคนที่ 6 เมื่อมีอายุได้ 9 ขวบตรงกับปี พ.ศ. 2448 บิดามารดาจึงนำไปบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์สวน เจ้าอาวาสวัดในหมู่บ้านคำบ่อ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เดินทางไปศึกษาไปเรียนหนังสือคัมภีร์มูลกัจจายน์ที่วัดไพร่ใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี ใช้เวลาศึกษาคำภีร์มูลกัจจายน์อยู่ที่วัดไพร่ใหญ่อยู่หลายปี ในปี พุทธศักราช 2459 ท่านได้อุปสมบท ณ ภูเขาควาย ประเทศลาว โดมีพระอาจารย์สีทัตต์เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า กนฺตสีโล 4 พรรษาเต็มแห่งการเดินธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรพอถึงปี พ.ศ. 2463 ท่านได้กราบลาพระอาจารย์สีทัตต์ไปศึกษาพุทธาคมกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตามที่พระอาจารย์สีทัตต์แนะนำได้รับการอบรมสั่งสอนด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมเป็นเวลาถึง 3 ปีเต็ม ได้รำเรียนวิชาอาคมและการสร้างเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นอกจากนี้ท่านยังธุดงค์ข้ามไปยัง ประเทศเขมร ลาว พม่า จีน อินเดีย และอัฟกานิสถาน ได้ศึกษาและเปลี่ยนวิชากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน, หลวงพ่อโอภาสี เป็นต้น

มรณภาพ

[แก้]

มรณภาพด้วยวัย 116 ปี ที่วัดคอนสวรรค์ จังหวัดสกลนคร อันเป็นวัดบ้านเกิด หลังอาพาธด้วยโรคชรามานานร่วม 2 ปี แพทย์ รพ.สกลนคร ตรวจพบลิ้นหัวใจรั่ว น้ำท่วมปอด นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนาน 3 เดือน ก่อนอนุญาตให้กลับวัดตามความประสงค์ของหลวงปู่ กระทั่งมรณภาพอย่างสงบในเดือนเกิดพอดี[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'หลวงปู่สุภา' ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 119 ปี". www.thairath.co.th. 2013-09-02.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  3. "หลวงปู่สุภา กันตสีโล | ณ สัทธา อุทยานไทย". 2018-03-28.
  4. อาลัย'หลวงปู่สุภา'มรณภาพ อริยสงฆ์5แผ่นดิน-วัย118ปี
  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์
  2. นมัสการหลวงปู่สุภา[ลิงก์เสีย]
  3. หลวงปู่สุภา กันตสีโล เก็บถาวร 2011-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. หลวงปู่สุภา กันตสีโล