พระพรหมพิจิตร (พรหม พรหมพิจิตร)
พระพรหมพิจิตร | |
---|---|
เกิด | 27 กันยายน พ.ศ. 2433 |
เสียชีวิต | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 (74 ปี) |
อาชีพ | ขุนนาง สถาปนิก อาจารย์ |
คู่สมรส | พวงเพ็ญ |
บุตร | พันเอก สมฤทธิ์ พรหมพิจิตร พันเอก กัมพล พรหมพิจิตร |
ศาสตราจารย์ พระพรหมพิจิตร (พรหม พรหมพิจิตร) (27 กันยายน 2433-15 กุมภาพันธ์ 2508) ขุนนางและสถาปนิกชาวไทย ผู้ควบคุมการก่อสร้างพระเมรุมาศของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ออกแบบพระเมรุมาศของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระเมรุมาศของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผู้ก่อตั้งและคณบดีคนแรกของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เดิมชื่อคณะสถาปัตยกรรมไทย) และเป็นบุคคลท่านแรกที่นำคอนกรีตเสริมเหล็กมาประยุกต์ใช้กับงานสถาปัตยกรรมไทย
ประวัติ
[แก้]พระพรหมพิจิตรมีนามเดิมว่า อู๋ ลาภานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2433 เป็นบุตรของนายเฮง จบการศึกษาจากโรงเรียนมหาพฤฒาราม
ได้รับพระราชทานนามสกุล ลาภานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2460 ขณะมียศและบรรดาศักดิ์เป็น รองเสวกตรี ขุนบรรจงเลขา [1] ก่อนจะกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2485[2] ต่อมาท่านได้เปลี่ยนชื่อของท่านจาก อู๋ มาเป็น พรหม และได้ใช้ราชทินนามคือ พรหมพิจิตร เป็นนามสกุลแทนนามสกุลเดิมคือ ลาภานนท์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2485[3]
ยศและบรรดาศักดิ์
[แก้]- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ขุนบรรจงเลขา ถือศักดินา ๔๐๐[4]
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2457 รองเสวกตรี[5]
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2466 หลวงสมิทธิเลขา ถือศักดินา ๖๐๐[6]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2466 รองเสวกโท[7]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 พระพรหมพิจิตร ถือศักดินา ๘๐๐[8]
ผลงาน
[แก้]- พระเมรุมาศของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในฐานะผู้ควบคุมการก่อสร้าง)
- พระเมรุมาศของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ในฐานะผู้ออกแบบ)
- พระเมรุมาศของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (ในฐานะผู้ออกแบบ)
- เมรุ วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
- ศาลาโรงธรรม วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
ตำแหน่งพิเศษ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[10]
- พ.ศ. 2483 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[11]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๗๔ (หน้า ๓๒๓๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ (หน้า ๖๔)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล (หน้า ๒๔๕)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๔๔๓)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๑๔๑)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๓๒๒๒)
- ↑ "พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๗๓๖)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต (หน้า ๒๕๙๕)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๑๖๑)
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 8 (หน้า ๓๐๔๐)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3308. 25 มกราคม 1919.