พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9
พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 | |
---|---|
ศิลปิน | เลาริตซ์ ทูกเซน |
ปี | ค.ศ. 1886 |
สื่อ | ภาพวาดสีน้ำมัน |
มิติ | 500 cm × 700 cm (200 นิ้ว × 280 นิ้ว) |
สถานที่ | พระราชวังไครซ์เตียนบอร์ก โคเปนเฮเกน |
พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 (เดนมาร์ก:Christian IX med sin familie) เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบขนาดใหญ่วาดโดยเลาริตซ์ ทูกเซน เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก และพระราชวงศ์ยุโรป รวมตัวกันที่การ์เดนฮอลของพระราชวังเฟรเดนส์บอร์ก ภาพนี้ปัจจุบันจัดแสดงที่ห้องประทับรับรองของสมเด็จพระราชินีนาถในพระราชวังไครซ์เตียนบอร์ก ส่วนภาพจำลองขนาดเล็กกว่าจัดแสดงที่อามาเลียนบอร์ก
ภูมิหลัง
[แก้]พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 และสมเด็จพระราชินีลูอีเซอ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 6 พระองค์ ทำให้ทรงมีพระสมัญญาว่า "พระสัสสุระแห่งยุโรป" เป็นธรรมเนียมที่พระราชวงศ์มารวมตัวกันที่พระราชวังเฟรเดนส์บอร์กในช่วงฤดูร้อน โดยทรงพาคู่เสกสมรสพร้อมโอรสธิดาตามเสด็จมาด้วย วันที่มารวมตัวกันในฤดูร้อนนี้ถูกเรียกว่า "วันเฟรเดนส์บอร์ก"[1]
งานสร้าง
[แก้]ภาพวาดดังกล่าวเป็นผลงานชิ้นแรกของทูกเซนที่วาดให้พระราชวงศ์ ทูกเซนได้พักอาศัยที่พระราชวังเฟรเดนส์บอร์กในช่วงวันเฟรเดนบอร์ก ปีค.ศ. 1883-86 เพื่อทำความคุ้นเคยกับรูปลักษณ์รูปร่างของพระราชวงศ์แต่ละพระองค์ แต่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ไม่ได้มาเป็นแบบให้วาดภาพพร้อมกัน ภาพวาดนี้ใช้ภาพถ่ายและการศึกษาแบบจำลองภาพบุคคลที่จัดเรียงเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งต่อมาได้ประกอบเป็นภาพวาดท้ายสุด พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 และสมเด็จพระราชินีลูอีเซอทรงฉายพระรูปที่พระราชวังอามาเลียนบอร์ก ในขณะที่พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ ฉายพระรูปที่การ์เดนฮอลล์ในพระราชวังเฟรเดนส์บอร์ก นอกจากนี้เขายังเดินทางไปดูตัวแบบของต่างประเทศที่บ้านพักของเขาในอังกฤษ กรีซและรัสเซีย เขาใช้เวลาทั้งหมดสามปีกว่าจะวาดภาพเสร็จ[2]
-
พระบรมฉายาลักษณ์อ้างอิงของพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 และสมเด็จพระราชินีลูอีเซอ
-
พระบรมฉายาลักษณ์อ้างอิงของจักรพรรดิและจักรพรรดินีรัสเซีย
-
พระบรมฉายาลักษณ์อ้างอิงของจักรพรรดินีมารีเยีย เฟโอโดรอฟนา
คำอธิบาย
[แก้]พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 และสมเด็จพระราชินีลูอีเซอ ประทับนั่งบนพระเก้าอี้ยาวตรงกลางภาพ บุคคลจะถูกจัดวางตามลำดับอิสริยยศ ผู้ที่มียศสูงจะอยู่ด้านหน้าและตรงกลางภาพมากที่สุด
บุคคลที่ปรากฏในภาพวาด
[แก้]มีบุคคลทั้งหมด 32 คน ปรากฏอยู่ในภาพวาด (จากซ้ายไปขวา)
- เจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ ดยุกแห่งคลาเรนซ์และเอวอนเดล
- เจ้าชายแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร)
- เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดราแห่งสหราชอาณาจักร)
- เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเดนมาร์ก
- เจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก
- เจ้าชายเกออร์คแห่งคัมบาร์ลันด์
- เจ้าหญิงมารีแห่งคัมบาร์ลันด์
- เจ้าหญิงไธรา ดัชเชสแห่งคัมบาร์ลันด์
- เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งคัมบาร์ลันด์
- สมเด็จพระราชินีลูอีเซอแห่งเดนมาร์ก
- เจ้าชายวัลเดมาร์แห่งเดนมาร์ก
- พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
- เจ้าชายคริสเตียน (ต่อมาคือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก)
- นีโคไล อะเลคซันโดรวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย (ต่อมาคือ จักรพรรดินิโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย)
- แกรนด์ดยุกมีฮาอิล อะเลคซันโดรวิชแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีมารีเยีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย
- แกรนด์ดัชเชสโอลกา อะเลคซันดรอฟนาแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย
- มกุฎราชกุมารเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก)
- มกุฎราชกุมารีลูอีสแห่งเดนมาร์ก (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีลูอีสแห่งเดนมาร์ก)
- พระเจ้าเยออร์ยีโอสที่ 1 แห่งกรีซ (แรกประสูติคือ เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งเดนมาร์ก)
- เจ้าหญิงไธราแห่งเดนมาร์ก
- เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งกรีซ
- สมเด็จพระราชินีโอลกาแห่งกรีซ
- เจ้าหญิงมาเรียแห่งกรีซและเดนมาร์ก
- เจ้าหญิงลูอีสแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ เจ้าหญิงลูอีส พระราชกุมารี)
- เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์ก (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์)
- แกรนด์ดยุกเกออร์กี อะเลคซันโดรวิชแห่งรัสเซีย
- เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งเวลส์
- เจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์)
- แกรนด์ดัชเชสเซนียา อะเลคซันดรอฟนาแห่งรัสเซีย
- เจ้าหญิงลูอีสแห่งเดนมาร์ก
การจัดแสดงและผลงานขั้นแรก
[แก้]ภาพนี้ปัจจุบันจัดแสดงที่ห้องประทับรับรองของสมเด็จพระราชินีนาถในพระราชวังไครซ์เตียนบอร์ก
ทูกเซนวาดภาพนี้แบบลดขนาดในหลากหลายรูปแบบ เขายังวาดภาพเหมือนและภาพร่างเบื้องต้นอื่นๆ บางส่วนต่อมาถูกนำไปใช้เป็นผลงานชิ้นอื่น ภาพวาดแบบลดขนาดภาพหนึ่งถูกจัดแสดงที่พระราชวังอามาเลียนบอร์ก ภาพเหมือนตัวอย่างของมกุฎราชกุมารีลูอีสถูกแขวนไว้ที่ปราสาทเซินเดอบอร์ก ซึ่งได้ถูกซื้อไปโดยมูลนิธินู คาร์ลเบิร์ก และนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ในปีค.ศ. 1939[3]
ภาพวาดของทูกเซนยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาพวาดหมู่ของโธมัส คลุจจ์ ในภาพชื่อ พระบรมวงศานุวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก[4]
-
ภาพลดขนาดจากภาพต้นฉบับ (สังเกตได้ว่าแกรนด์ดยุคมีฮาอิล อยู่ตรงกลางภาพวาด ซึ่งแตกต่างจากต้นฉบับ)
-
จักรพรรดิและจักรพรรดินีรัสเซียพร้อมพระราชโอรสองค์เล็ก มีฮาอิล
-
เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์พร้อมเจ้าหญิงอเล็กซานดรา และเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ พระราชโอรส
-
มกุฎราชกุมารีลูอีสพร้อมพระบุตร ปัจจุบันภาพอยู่ที่ปราสาทเซินเดอบอร์ก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "HM King Christian IX of Denmark". European Royal History. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
- ↑ "Tuxen. De kongelige billeder – ny kunsthistorisk bog fra Frydenlund". kulturkupeen.d (ภาษาเดนมาร์ก). สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
- ↑ "Christian 9. med familie, 1886" (ภาษาเดนมาร์ก). Kongernes Samlinger. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
- ↑ "A new portrait of the royal family" (ภาษาเดนมาร์ก). Kongehuset. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
- Svanholm, Line and Christian Fønss-Lundberg, Thyge: Tuxen. De kongelige billeder (2019)