พระนามส่วนพระองค์
พระนามส่วนพระองค์ ในไฮเออโรกลีฟ | ||||
---|---|---|---|---|
sˁ-Rˁ Sa-Rê บุตรแห่งรา | ||||
พระนามคาร์ทูชของฟาโรห์คาฟเรที่ปรากฏพระนามนิซุต-บิติและพระนามซา-เรอยู่ข้างใน |
พระนามส่วนพระองค์ของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ เป็นหนึ่งใน "ห้าพระนาม" ที่เริ่มใช้ขึ้นโดยฟาโรห์ดเจดเอฟเร ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สามจากราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์ เพื่อเป็นการเพิ่มเติมตราสัญลักษณ์นิซุต-บิติแบบดั้งเดิม ซึ่งต่อมาพระนามดังกล่าวได้ถูกแยกออกจากพระนามนำหน้า เพื่อใช้เป็นพระนามอิสระ[1]
ลักษณะพระนาม
[แก้]พระนาม ซา-เร (Sa-Rê) ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "บุตรแห่งรา" ที่เขียนขึ้นโดยปรากฏสัญลักษณ์รูปสุริยจักรและรูปห่านวางอยู่ด้านล่าง ซึ่งในช่วงแรก สัญลักษณ์รูปสุริยจักรและรูปห่านถูกวางไว้ที่ส่วนท้ายของคาร์ทูชที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์ และจะถูกอ่านว่า: "กษัตริย์แห่งอียิปต์ล่างและบน ฟาโรห์ ... พระโอรสแห่งรา" ต่อมาสัญลักษณ์ทั้งสองก็ถูกวางไว้หน้าแทน ตำแหน่งด้านหน้าของพระนามฟาโรห์และอ่านว่า: "พระโอรสแห่งรา, ฟาโรห์ ..." ซึ่งสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณที่ใช้ในพระนามดังกล่าวนั้นจะถูกวางไว้ในคาร์ทูช[2]
สัญลักษณ์
[แก้]ในรัชสมัยของฟาโรห์ดเจดเอฟเรแห่งราชวงศ์ที่สี่ ลัทธิการบูชาสุริยเทพราได้เป็นที่นิยมมากที่สุด ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวฟาโรห์แห่งอียิปต์ทรงเชื่อว่าพระองค์เป็นพระโอรสที่แท้จริงของเทพรา เนื่องจากเทพราเองก็ทรงเพิ่งกลายเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาเทพเจ้าทั้งหมด[3][1] ซึ่งจะเปลี่ยนไปในช่วงเวลาภายหลัง และเทพรารวมเป็นสัญลักษณ์กับเทพอามุน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Stephen Quirke: The Cult of Ra: Sun-worship in Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2001, ISBN 0500051070, p. 59-51.
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen (= Münchner Ägyptologische Studien, vol. 49). von Zabern, Mainz 1999, ISBN 3-8053-2591-6, p. 25–27.
- ↑ Jochem Kahl: „Ra is my Lord“. Searching for the Rise of the Sun God at the Dawn of Egyptian History (= Menes, vol. 1). Harrassowitz, Wiesbaden 2007, ISBN 978-3-447-05540-6, p. 8, 30 & 43.
- ↑ George Hart: A Dictionary of Egyptian Gods and Goddesses. Routledge & Kegan Paul, London 1986, ISBN 0-415-05909-7, p. 179–182.