พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ | |
---|---|
![]() พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ | |
ชื่อเดิม | พระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงก์ |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | โบราณสถาน |
ประเภท | พระที่นั่ง |
สถาปัตยกรรม | อยุธยา |
ที่ตั้ง | พระราชวังโบราณ |
เมือง | ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2175 |
รื้อถอน | พ.ศ. 2310 (ถูกทำลาย) |
ในกำกับดูแลของ | กรมศิลปากร |
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/06/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.png/220px-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.png)
พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕ โดยสร้างเป็นปราสาทตรีมุขที่มุมกำแพงชั้นในของเขตพระราชฐานติดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงก์"
ต่อมา สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่า สมเด็จพระอมรินทราธิราชเสด็จลงมานั่งแทบพระองค์และตรัสให้ตั้งจักรพยุหแล้วจึงหายไป เมื่อพระองค์เสด็จออกขุนนางทรงตรัวเล่าพระสุบินให้โหราพฤฒาจารย์ทั้งหลายฟัง พระมหาราชครูปโรหิตโหราพฤฒาจารย์ทูลว่า พระนามพระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงก์ที่พระราชทานนั้นเห็นไม่ต้องนามสมเด็จพระอมรินทราธิราชซึ่งลงมาบอกให้ตั้งจักรพยุห ซึ่งจักรพยุหนี้เป็นที่ตั้งใหญ่ในมหาพิไชยสงคราม จึงขอให้นำนามจักรนี้ให้เป็นนามของมหาปราสาทว่า "พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์มหาปราสาท" สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงโปรดให้เปลี่ยนนามมหาปราสาทตามคำกราบบังคมทูลของโหราพฤฒาจารย์[1]
พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์มีลักษณะเป็นปราสาทโถง มีสามชั้น สำหรับเป็นที่ประทับเพื่อทอดพระเนตรกระบวนแห่มหรสพ และการยกทัพพยุหยาตราผ่านบริเวณสนามไชยซึ่งอยู่หน้าพระที่นั่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)