ทุติยเพ็ญ
ทุติยเพ็ญ[ต้องการอ้างอิง] หรือบลูมูน (อังกฤษ: blue moon) คือดวงจันทร์เต็มดวงที่มีกำหนดเวลาเกิดไม่แน่นอน โดยส่วนใหญ่ในแต่ละปีจะมีดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง เฉลี่ยเกิดประมาณเดือนละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าคิดเฉพาะระยะเวลาที่เกิดดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง (รอบ) ในหนึ่งปีของปฏิทินตามระบบสุริยคติจะมีจำนวนวันมากกว่าประมาณ 11 วัน ซึ่งเมื่อนำมาสะสมรวมกัน จะทำให้ทุกสองหรือสามปีมีดวงจันทร์เต็มดวงเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้ง (กล่าวคือจะเกิดขึ้น 2.71722874 ปี) ดวงจันทร์เต็มดวงที่เพิ่มขึ้นมานี้เรียกว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน" แต่เนื่องจากมีการนิยามความหมายของดวงจันทร์ “ที่เพิ่มขึ้นมานี้" ต่างกัน จึงทำให้การกำหนดวันที่เกิดดวงจันทร์นี้ต่างกัน โดยส่วนใหญ่ดวงจันทร์สีน้ำเงินหมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงที่เกิดครั้งที่สองของเดือน [1]
การใช้คำนี้ในชาวคริสต์และในภาษาอังกฤษยุคแรก
[แก้]คำว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน" (blue moon) มีบันทึกว่าใช้ในภาษาอังกฤษเก่าครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1528 ในหนังสือที่โจมตีนักบวชอังกฤษอย่างรุนแรง[2] หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Rede Me and Be Not Wrothe [Read me and be not angry] ข้อความมีว่า
Yf they say the mone is belewe / We must believe that it is true
[If they say the moon is blue, we must believe that it is true]
(ถ้าพวกเขาพูดว่าดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงิน เราต้องเชื่อว่านั่นเป็นเรื่องจริง)
บางคนตีความคำว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน” นี้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความไร้สาระและเป็นไปไม่ได้ [3] ภาษิตเกี่ยวกับดวงจันทร์ทำนองนี้ที่มีบันทึกครั้งแรกในปีต่อมาคือ
They would make men beleue ... that þe Moone is made of grene chese
[They would make men believe ... that the moon is made of green cheese]
(พวกเขาจะทำให้คนทั้งหลายเชื่อ...ว่าดวงจันทร์ทำมาจากชีสสีเขียว)
ดวงจันทร์สีน้ำเงินที่สามารถมองเห็นได้
[แก้]ความหมายที่แปลตามตัวอักษรที่สุดของคำว่า ดวงจันทร์สีน้ำเงิน คือ ดวงจันทร์ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดวงจันทร์เต็มดวง) ที่ปรากฏแก่ผู้สังเกตเป็นสีออกน้ำเงิน ผิดจากที่เห็นตามปกติ และเป็นเหตุการณ์ที่หาดูได้ยาก การที่ดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินอาจเกิดจากอนุภาคของฝุ่นควันในบรรยากาศ เช่นที่เกิดขึ้นหลังจากไฟป่าในประเทศสวีเดนและแคนาดาในปี ค.ศ. 1950 และที่เห็นเด่นชัดที่สุดเกิดหลังจากภูเขาไฟกรากะตัวระเบิดในปี ค.ศ. 1883 ซึ่งทำให้ดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินเกือบสองปี
คติชาวบ้าน
[แก้]ในคติชาวบ้าน ในแต่ละเดือนของปี ดวงจันทร์เต็มดวงมีชื่อเรียกหลายชื่อตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยว เช่น harvest moon (จันทร์เพ็ญในฤดูเก็บเกี่ยว) และ snow moon (ดวงจันทร์ในฤดูหนาว) และอาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่และวัฒนธรรม เนื่องจากบางปีอาจมีดวงจันทร์เต็มดวงสิบสามครั้ง ในปีนั้นจึงมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ดวงจันทร์เต็มดวงไม่ตรงกับฤดูที่ถูกต้อง และจะเรียกดวงจันทร์เต็มดวงครั้งนั้นว่า ดวงจันทร์สีน้ำเงิน หลังจากนั้น ดวงจันทร์เต็มดวงอีกสิบสองครั้งที่เหลืออยู่ในปีนั้นก็จะปรับตรงตามช่วงเวลาดังเดิม
ต้นกำเนิดของคำว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน” แทรกซึมอยู่ในคติชาวบ้าน และความหมายของคำคำนี้ได้แปรเปลี่ยนไปทีละน้อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป บางคติกล่าวว่า ในเวลาที่ดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงิน ดวงจันทร์จะมีใบหน้า และจะพูดคุยกับผู้ที่อยู่ใต้แสงจันทร์
ดวงจันทร์สีน้ำเงินในบันทึกเหตุการณ์ของชาวนา
[แก้]ในศตวรรษที่สิบเก้า และต้นศตวรรษที่ยี่สิบ บันทึกเหตุการณ์ของชาวนาเมือง Maine ได้ทำรายการวันที่ที่เกิดดวงจันทร์สีน้ำเงินสำหรับชาวนา วันเหล่านี้ตรงกับดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สามในไตรมาสของปี เมื่อมีดวงจันทร์เต็มดวงสี่ครั้ง (ตามปกติไตรมาสหนึ่งมีดวงจันทร์เต็มดวงสามครั้ง)
เวลาที่จะเกิดดวงจันทร์สีน้ำเงินระหว่างปี ค.ศ. 2009 ถึง 2037
[แก้]ตามฤดูกาล
[แก้]เมื่อใช้นิยามดวงจันทร์สีน้ำเงินตามบันทึกเหตุการณ์ของชาวนา (ซึ่งหมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สามในฤดูที่มีดวงจันทร์เต็มดวงสี่ครั้ง) จะเกิดดวงจันทร์สีน้ำเงินดังนี้
- 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010
- 21 สิงหาคม ค.ศ. 2013
- 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2016
- 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
- 22 สิงหาคม ค.ศ. 2021
ตามปฏิทิน
[แก้]เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงสองครั้งคือ [4]
- เดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 (2 ธันวาคม และ 31 ธันวาคม)
- เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 (2 สิงหาคม และ 31 สิงหาคม)
- เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 (2 กรกฎาคม และ 31 กรกฎาคม)
- เดือนมกราคม ค.ศ. 2018 (2 มกราคม และ 31 มกราคม)
- เดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 (2 มีนาคม และ 31 มีนาคม)
- เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 (1 ตุลาคม และ 31 ตุลาคม)
- เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 (1 พฤศจิกายน และ 30 พฤศจิกายน)
- เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 (1 สิงหาคม และ 30 สิงหาคม)
- เดือนธันวาคม ค.ศ. 2028 (2 ธันวาคม และ 31 ธันวาคม)
- เดือนมกราคม ค.ศ. 2029 (1 มกราคม และ 30 มกราคม)
- เดือนมกราคม ค.ศ. 2037 (1 มกราคม และ 31 มกราคม)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sinnott, Roger W., Donald W. Olson, and Richard Tresch Fienberg (May 1999). "What's a Blue Moon?". Sky & Telescope. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
The trendy definition of "blue Moon" as the second full Moon in a month is a mistake.
- ↑ Koelbing, Arthur, Ph.D. (1907–21). "Barclay and Skelton: German influence on English literature". The Cambridge History of English and American Literature, Volume III. Bartleby.com.
- ↑ Hiscock, Philip (June 19, 2006). "Folklore of the "Blue Moon"". International Planetarium Society.
- ↑ Giesen, Jurgen (21 พฤษภาคม 2550). "Blue Moon". Physik und Astromonie. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- อย่าพลาด!ชม'บลูมูน'2.72ปีมี1ครั้ง เก็บถาวร 2012-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนหนังสือพิมพ์คมชัดลึก