ข้ามไปเนื้อหา

พระครูนิภาวิหารกิจ (ดำ จนฺทสโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูนิภาวิหารกิจ

(ดำ จนฺทสโร)
ชื่ออื่นหลวงพ่อดำ
ส่วนบุคคล
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2484 (67 ปี)
มรณภาพ3 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดใหม่นภาราม นราธิวาส
อุปสมบทพ.ศ. 2504
พรรษา47
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่นภาราม

หลวงพ่อดำ จนฺทสโร (15 เมษายน พ.ศ. 24843 ธันวาคม พ.ศ. 2551) อดีตเจ้าอาวาส วัดใหม่นภาราม ผู้ที่สืบทอดวิชาการสร้างไม้ครูและพระควัมบดี (พระปิตตา) มาจากหลวงพ่อครน วัดบางแซะ (เจ้าของพระปิตตาค่านิยมหลักแสนหลักล้าน) วัตถุมงคลของหลวงพ่อดำโด่งดังไปทั่วเมืองไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ปิดกันให้แซ่ดว่า ขลังยิงไม่ออก แคล้วคลาดจากอันตรายนานัปการ เป็นมหาลาภ ปลดหนี้ปลดสิน พลิกฟื้นดวงชะตาได้อย่างไม่น่าเชื่อ แม้แต่ พระมหากษัตริย์ บางรัฐของมาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง] ยังแขวนพระปิตตาและถือไม้ครูของท่านด้วยความศรัทธา เนื่องจากในสมัย 10 ปีก่อน มีการทดสอบพระปิตตาของท่านในมาเลเซีย ต่อหน้ากษัตริย์แห่งรัฐนั้น ผลคือมหาอุตยิงไม่ออก เป็นที่กล่าวขานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์ เรื่องราวทั้งหมดได้ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์ [1] ครูบาอาจารย์ของท่าน นอกจากหลวงพ่อดำ ได้ไปศึกษากับหลวงพ่อครนแล้ว ท่านยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี (27 มีนาคม พ.ศ. 24305 มีนาคม พ.ศ. 2524) อีกด้วย แค่เอ่ยนามก็สามารถรับรู้ทันทีได้ว่า ท่านจะมีความเก่งกล้าเพียงใดในวิชาอาคม ส่วนสหธรรมิกของท่านได้แก่ หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย (5 เมษายน พ.ศ. 246126 เมษายน พ.ศ. 2554) และพ่อท่านเหมาะ วัดรังสิตาวาส จังหวัดยะลา [2]

ชาติภูมิของท่าน

[แก้]

ท่านมีนามเดิมว่า ดำ ไกรน้อย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2484 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ณ บ้านเลขที่ 200 หมู่ 6 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นบุตรของนายจันทร์และนางจันทร์ ไกรน้อย มีพี่น้องร่วมกัน 2 คน ท่านเป็นบุตรคนโต ในวัยเด็กโยมบิดานำท่านมาฝากไว้ที่สำนักเรียนที่วัดใหม่นภาราม จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีพระอธิการจันทร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่นภาราม เป็นผู้ดูแลและอบรมความประพฤติ ซึ่งในวัยเด็กท่านดำก็เป็นคนที่มีความประพฤติเรียบร้อยอยู่แล้ว ไม่เกกมะเหรกเกเรเหมือนเพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน เนื่องจากครอบครัวของท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี ไทยมาตั้งแต่โบราณ เมื่อถึงเทศกาลทำบุญก็จะพากันเข้าวัดเข้าวา ทำบุญสุนทานอยู่เป็นประจำ ทำให้ท่านดำมีจิตใจที่อ่อนโยน มีเมตตาต่อสัตว์อื่น ๆ เหมือนลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น และท่านเป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่ในการงานเช่น การทำไร่ไถนา รวมทั้งช่างก่อสร้างที่มีฝีมือคนหนึ่ง เมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2504 ณ พัทธสีมาวัดใหม่นภาราม โดยมีพระครูนิพัทธกาลัญญา วัดประชุมชลธาดา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดม่วง ฐิตธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการนุ้ย วัดใหม่นภาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จันทสโร [3] หลวงพ่อดำ ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีและนักธรรมชั้นโตได้ตามลำดับ ต่อมาจึงสนใจใฝ่รู้ และได้เรียนศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน ไสยศาสตร์ คาถาอาคม ได้ศึกษาวิชาเหล่านี้จาก คำภีร์ สมุดข่อยใบราณ อันเป็นของอันเก่าแก่ภายในวัด [4] และศึกษาหลักโดยตรงกับเจ้าอาวาส จนมีความเชี่ยวชาญทางด้านภาคปฏิบัติ ปริยัติ และปฏิเวธ ในพรรษาที่ 4 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดประชาภิรมย์ อยู่ในตัวเมืองนราธิวาส ในช่วงนี้ท่านก็สามารถสอบผ่านนักธรรมชั้นเอก จำพรรษาอยู่ที่นั่นนานถึง 10 พรรษา [5]

การเดินธุดงค์

[แก้]

เป็นการบำเพ็ญบารมีธรรม พระธุดงค์บางรูปก็ชอบโปรดชาวบ้านด้วยการสอนให้รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา ให้เข้าถึงพระรัตนตรัย ให้เลิกละการนับถือภูตผีปีศาจ สิ่งเหลวไหลงมงายโดยสิ้นเชิง เพราะการนับถือผีเป็นความหลงผิด มีแต่ความทุกข์ แต่การนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และยึดถือศีล 5 ศีล 8 เป็นข้อปฏิบัติ เมื่อตายแล้วจะได้ไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ [6] หลวงพ่อดำท่องเที่ยวธุดงค์ไปทั่วภาคเหนือเป็นเวลาหลายปี สถานที่ปลีกวิเวกส่วนมากมักจะเป็นป่าช้า หรือป่าเขาลำเนาไพร ในระหว่างการธุดงค์นี้ เมื่อได้ยินข่าวว่าครูบาอาจารย์ท่านไหนดี ก็จะไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอเรียนวิปัสสนากรรมฐานบ้าง เรียนคาถาอาคมบ้าง และจนกระทั่งตำราแพทย์แผนโบราณ ท่านก็ได้เริ่มเรียน หลังจากนั้นท่านได้เดินทางกลับนราธิวาสบ้านเกิดของท่าน มาจำพรรษาวักที่ท่านคุ้นเคย คือ วัดใหม่นภาราม สืบมาจนกระทั่งมรณภาพ ในปี พ.ศ. 2528 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ทำหน้าที่อุปสมบทให้กุลบุตรผู้ใฝ่ธรรมในปี พ.ศ. 2543 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกที่ พระครูนิภาวิหารกิจ แต่น่าเสียดาย ท่านได้มาถึงแก่มรณภาพในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ด้วยวัย 67 ปี 47 พรรษาเสียก่อน ทั้งทั้งที่อายุยังไม่เยอะเลย

อ้างอิง

[แก้]
  1. นิตยสารศักดิ์สิทธิ์ อำพล เจน ผู้แต่ง
  2. หนังสือ 19 พระคณาจารย์ยอดนิยมยุคปัจจุบัน
  3. "พ่อท่านดำ มรณภาพแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-10-10.
  4. ชีวประวัติพ่อท่านดำ วัดใหม่นภาราม[ลิงก์เสีย]
  5. พระกร่งมหาจักรพรรดิ
  6. "ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศีล 5 ศีล 8". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2011-10-10.