ข้ามไปเนื้อหา

พระกุมารชีพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระกุมารชีพ
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 344
กูชา (ปัจจุบันคือกูชา ประเทศจีน)
มรณภาพค.ศ. 413 (68-69 ปี)
ฉางอัน โฮ่วฉิน (ปัจจุบันคือซีอาน ประเทศจีน
รู้จักจากผู้แปลคัมภีร์ศาสนาพุทธจากภาษาสันสกฤตไปเป็นภาษาจีน ผู้ก่อตั้งสำนักซันลุ่นของศาสนาพุทธนิกายมหายาน
อาชีพภิกษุ, นักวิชาการ, นักแปล และนักปราชญ์

พระกุมารชีพ (สันสกฤต: कुमारजीव, อักษรโรมัน: Kumārajīva) หรือชื่อในภาษาจีนว่า จิวหมัวหลัวฉือ (จีนตัวเต็ม: 鳩摩羅什; จีนตัวย่อ: 鸠摩罗什; พินอิน: Jiūmóluóshí; เวด-ไจลส์: Chiu1 mo2 lo2 shih2; ค.ศ. 344–413)[1] เป็นพระภิกษุ นักวิชาการ และนักแปลจากกูชา (ปัจจุบันอยู่ใน Aksu Prefecture, ซินเจียง ประเทศจีน) พระกุมารชีพถืิอเป็นหนึ่งในนักแปลที่ดีที่สุดของศาสนาพุทธแบบจีน โดยลฺหวี เฉิงกล่าวถึงงานแปลของพระกุมารชีพว่า "ไม่มีใครเทียบได้ทั้งในด้านเทคนิคการแปลหรือระดับความเที่ยงตรง"[2]

พระกุมารชีพในช่วงแรกศึกษาคำสอนในสำนักสรวาสติวาท ภายหลังศึกษากับพุทธสวามิน และท้ายที่สุดหันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยศึกษามัธยมกะของนาคารชุนะ หลังเชี่ยวชาญในภาษาจีน พระกุมารชีพจึงตั้งถิ่นฐานในฉางอันในฐานะนักแปลและนักวิชาการ (ป. ค.ศ. 401)[3] ท่านเป็นหัวหน้ากลุ่มนักแปล ซึ่งรวมเลขานุการประจำตัวชื่อ Sengrui[4] กลุ่มนักแปลมีส่วนในการแปลคัมภีร์ศาสนพุทธในภาษาสันสกฤตหลายเล่มเป็นภาษาจีน

ชีวิต

[แก้]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

กุมารยณะ บิดาของพระกุมารชีพ มาจากอินเดียโบราณ น่าจะมาจากบริเวณที่เป็นกัศมีร์ในปัจจุบัน[5][6][7] บิดาเป็นเจ้าชายอินเดีย[8] ผู้เป็นโอรสในรัฐมนตรีระดับสูงที่กษัตริย์แห่งกูชากดดันให้อภิเษกสมรสกับพระขนิษฐภคินี ชีพะ พระขนิษฐภคินีของพระมหากษัตริย์ สมรสกับพระองค์และให้กำเนิดพระกุมารชีพ ชีพะเข้าร่วมในสำนักนางชี Tsio-li ทางเหนือของกูชาตอนพระกุมารชีพอายุ 7 ขวบ[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pollard 2015, p. 287.
  2. Beeby Lonsdale, Allison; Ensinger, Doris; Presas, Marisa (2000). Investigating Translation: Selected Papers from the 4th International Congress on Translation, Barcelona, 1998, p. 48. John Benjamins Publishing.
  3. Rahul, Ram (2000). March of Central Asia, p. 83. Indus Publishing.
  4. Lai, Whalen (1991). "Tao Sheng's Theory of Sudden Enlightenment Re-examined". In Gregory, Peter N. Sudden and Gradual. Approaches to Enlightenment in Chinese Thought. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Private Limited. p. 180
  5. Singh 2009, p. 523.
  6. Chandra 1977, p. 180.
  7. Smith 1971, p. 115.
  8. Hansen, Valerie (2015). The Silk Road: A New History (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 66. ISBN 978-0-19-021842-3.
  9. Hansen, Valerie (2015). The Silk Road: A New History, p. 66. Oxford University Press.

ข้อมูล

[แก้]
  • Chandra, Moti (1977), Trade and Trade Routes in Ancient India, Abhinav Publications, ISBN 9788170170556
  • Pollard, Elizabeth (2015), Worlds Together Worlds Apart, New York: W.W. Norton Company Inc, p. 287, ISBN 978-0-393-91847-2
  • Singh, Upinder (2009), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century, Pearson Education India, ISBN 978-8131716779
  • Smith, David Howard (1971), Chinese Religions From 1000 B.C. to the Present Day, Weidenfeld & Nicolson
  •  บทความนี้รวมเอาข้อความจาก The Chinese recorder and missionary journal, Volume 3, อันเผยแพร่มาแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871, ปัจจุบันจึงกลายเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]