ข้ามไปเนื้อหา

พรชัย อรรถปรียางกูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรชัย อรรถปรียางกูร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(1 ปี 18 วัน)
คะแนนเสียง69,824 (69.71%)
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(3 ปี 365 วัน)
คะแนนเสียง39,521 (44.05%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544–2549)
พลังประชารัฐ (2561–2564, 2566–ปัจจุบัน)
ไทยสร้างไทย (2564–2566)

พรชัย อรรถปรียางกูร (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 สังกัดพรรคไทยรักไทย 2 สมัย ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ

[แก้]

นายพรชัย เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายศักดิ์ชัย กับนางไข่แก้ว อรรถปรียางกูร สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาพาณิชยกรรม จากวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ เมื่อปี พ.ศ. 2520 ระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี จากวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2524 และระดับปริญญาโท สาขาต้นทุน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530[1]

การทำงาน

[แก้]

นายพรชัย อรรถปรีบางกูร เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 39,521 คะแนน มากกว่าคู่แข่งสำคัญอย่างนายพงศ์ประยูร ราชอาภัย นักแสดงละครทางช่อง 7 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าของพื้นที่เดิม 5 สมัย ในสังกัดพรรคความหวังใหม่[2][3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ยังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในพื้นที่เดิม

ในปี พ.ศ. 2549 นายพรชัย เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกจับเชิญตัวไปสอบสวนในกรณีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวในภายหลัง เนื่องจากเจ้าตัวให้เหตุผลว่าเข้าใจผิดว่ามีการยกเลิกประกาศแล้ว[4] ช่วงหลังเหตุการณ์ทางการเมืองในปี พ.ศ. 2549 นายพรชัย จึงวางมือทางการเมืองชั่วคราว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ประกาศตัวลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ[5] และลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] ต่อมาย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย

แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐอีกครั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
  3. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  4. อดีต ส.ส. ไทยรักไทยเชียงใหม่ เปิดใจ หลังถูกปล่อยตัว "คิดว่ายกเลิกคำสั่ง คปค. ฉบับที่ 15 ไปแล้ว"
  5. 'พลังประชารัฐ' ขึ้นเหนือ วางยุทธศาสตร์ชิงเก้าอี้ส.ส.38ที่นั่ง
  6. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๒๑ ตอน ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๑๙ ตอน ๒๑ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕