พญาทะละ (เสนาบดี)
หน้าตา
อัครมหาเสนาบดี พญาทะละ အဂ္ဂမဟာသေနာပတိ ဗညားဒလ | |
---|---|
หัวหน้ารัฐมนตรี-นายพล | |
ดำรงตำแหน่ง 1559–1573 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าบุเรงนอง |
ก่อนหน้า | พญาลอ |
ถัดไป | พญาลอ |
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1555–1559 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 1518 อาณาจักรหงสาวดี |
เสียชีวิต | ป. กันยายน ค.ศ. 1573 (54–55 ปี) กำแพงเพชร, สยาม, จักรวรรดิตองอู |
วิชาชีพ | เจ้าหน้าที่ทหาร, นักวิชาการ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ราชวงศ์ตองอู |
สังกัด | กองทัพอาณาจักรพม่า |
ประจำการ | คริสตทศวรรษ 1540–1573 |
ยศ | นายพล (1559–1573) ผู้บัญชาการ (1555–1559) |
หน่วย | กลุ่มทหารของพระเจ้านันทบุเรง (1557–1570) |
ผ่านศึก | อังวะ (1554–55) รัฐชาน (1557) ล้านนา (1558) มณีปุระ (1560) สยาม (1563–64) ล้านช้าง (1565) สยาม (1568–69) ล้านช้าง (1569–70) ล้านช้าง (1572–73) |
อัครมหาเสนาบดีพญาทะละ (พม่า: အဂ္ဂမဟာသေနာပတိ ဗညားဒလ, เสียงอ่านภาษาพม่า: [ʔɛʔɡa̰ məhà θènàpətḭ bəɲá dəla̰]; บางครั้งเรียก พญาทะละ , 1518 – 1573) รัฐบุรุษ,นายพลและนักปราชญ์ชาวพม่าในระหว่างรัชสมัย พระเจ้าบุเรงนอง แห่ง ราชวงศ์ตองอู เขาเป็นที่ปรึกษาและนายพลที่พระเจ้าบุเรงนองไว้วางพระราชหฤทัยมากที่สุด[1][2] และเป็นกุญแจสำคัญในการขยายและปกป้องดินแดนของ อาณาจักรตองอู ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1550 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1573[3] รวมถึงเป็นแม่กองบูรณะ เมืองหงสาวดี ขึ้นมาใหม่ระหว่าง ค.ศ. 1565 ถึง 1568 นอกจากนี้เขายังเป็นที่รู้จักจากการริเริ่มแปลพงศาวดารมอญเรื่อง ราชาธิราช จากภาษามอญเป็นภาษาพม่าเพื่อให้คนพม่าอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น[4] พญาทะละถึงแก่อสัญกรรมระหว่างถูกเนรเทศที่ กำแพงเพชร ภายหลังจากความพ่ายแพ้ในการพยายามพิชิต อาณาจักรล้านช้าง อีกครั้ง[5]