พจนารถ แก้วผลึก
พจนารถ แก้วผลึก | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–2565, 2566–ปัจจุบัน) |
พจนารถ แก้วผลึก (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต 2 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 1 สมัย
ประวัติ
[แก้]เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จบการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนบางละมุง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร ปริญญาตรีจากวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา เมื่อจบการศึกษาได้ยึดอาชีพเป็นครูที่โรงเรียนอนุบาลอักษรศึกษา อ.บางละมุง อยู่ 6 ปี จากนั้นจึงได้ขยับขยายขึ้นเป็นผู้บริหารโรงเรียนและรับตำแหน่งนี้มานานถึง 23 ปี แล้วจึงลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว และลงเล่นการเมือง โดยพรรคที่ลงสมัครคือ พรรคประชาธิปัตย์
เริ่มเข้าสู่การเมือง
[แก้]เริ่มสนใจการเมืองเมื่อได้ดูรายการของ ASTV ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550
ในต้นปี พ.ศ. 2549 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ด้วย โดยมีบทบาทเป็นแกนนำของพันธมิตร ฯ ของจังหวัดชลบุรี
ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จากการชักชวนของ ดร.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ และ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ทั้ง ๆ ที่ไม่คิดว่าจะเล่นการเมืองมาก่อน โดยลงเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดชลบุรี ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งมาทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่เป็นพื้นที่ของพรรคชาติไทยมาก่อน (การเลือกตั้งคราวนี้ พรรคประชาธิปัตย์สามารถกวาดที่นั่งในภาคตะวันออกมาได้เกือบหมด ยกเว้นจังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น) โดยที่ พจนารถ แก้วผลึก ได้คะแนนมาเป็นลำดับหนึ่งด้วย[1]
เธอลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ทั้งพ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2]
และในปี 2565 เธอได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[3] แต่ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในปี 2566 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง โดยมีชวน หลีกภัย ร่วมลงพื้นที่หาเสียง[4] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พจนารถ แก้วผลึก จากพันธมิตรสู่ ส.ส. คะแนนอันดับหนึ่งของชลบุรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 'เทพไท' เสียดาย 'อดีต ส.ส.ชลบุรี' ทิ้ง ปชป. อีกราย
- ↑ อ้อนคะแนน! "ชวน" ลุยหาเสียงชลบุรี ช่วย"หมวย พจนารถ" ผู้สมัครส.ส. เขต 8 ปชป.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบางละมุง
- ครูชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.