ข้ามไปเนื้อหา

แควาเลียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฝ่ายกษัตริย์นิยม)
เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ โดยไซมอน เวเรลสต์

แควาเลียร์ (อังกฤษ: Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (อังกฤษ: Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร์[1]

ช่วงต้น

[แก้]

แควาเลียร์มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า เชอวาลีเย (Chevalier; อัศวิน) ในภาษาฝรั่งเศส และคำว่า กาบาเยโร (Caballero; สุภาพบุรุษ) ในภาษาสเปน โดยในภาษาละตินพื้นบ้านซึ่งเป็นรากศัพท์คำว่า กาบัลลารีอุส (Caballarius) แปลว่าทหารม้า ส่วนเชกสเปียร์ใช้คำว่า แควาเลอรอส (Cavaleros) เพื่อใช้อธิบายอันธพาลเอาแต่ใจหรือชายเจ้าชู้ผู้ผยองตนในบทละคร พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ตอนที่สอง โดยกล่าวเพียงผิวเผินว่า "ข้าจะดื่มแด่บาร์ดอล์ฟผู้เป็นนายของข้า และแด่เหล่าแควาเลอรอสทุกคนในลอนดอน"[2]

แควาเลียร์ผู้บาดเจ็บ โดย วิลเลียม เชกสเปียร์ เบอร์ตัน

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

[แก้]
ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจ็วตและน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจ็วต ซึ่งทั้งสองเสียชีวิตในการต่อสู้เพื่อองค์กษัตริย์ วาดโดยเซอร์อันโตนี ฟัน ไดก์

แควาเลียร์ เป็นคำอธิบายเกี่ยวข้องกับฝ่ายนิยมกษัตริย์ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาอังกฤษช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ ในตอนแรกปรากฏเป็นคำศัพท์เชิงตำหนิและดูถูกที่ใช้เรียกผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1642:

ค.ศ. 1642 (10 มิถุนายน) ประพจน์ของฝ่ายรัฐสภา ในแคลเรนดัน วี. (1702) ไอ. 504 กลุ่มผู้มุ่งร้ายหลากหลายประเภทผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์; บางส่วนใช้ชื่อแควาเลียร์กระทำการอันไม่เคารพกฎหมายของแผ่นดินหรือไม่เกรงกลัวทั้งพระเจ้าและมนุษย์ด้วยกันเอง พร้อมที่จะกระทำการชั่วร้ายและรุนแรงในทุกรูปแบบ, ค.ศ. 1642 (17 มิถุนายน) คณะกรรมาธิการและขุนนางฎีกา ในรุส์ชว์ ชุดที่สาม (1721) ไอ. 631 ที่ซึ่งสมเด็จ..จะโปรดให้ยกเลิกองค์รักษ์วิสามัญของคุณ แควาเลียร์และผู้อื่นในลักษณะเช่นนั้น ผู้ซึ่งมีความสนใจและเสน่หาอันน้อยนิดในประโยชน์ทางสาธารณะ คำพูดและอัชฌาสัยมีเพียงแต่การแบ่งแยกและสงคราม

พระราชดำรัสของพระเจ้าชาลส์ต่อคณะกรรมธิการฎีกาในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1642 กล่าวถึงแควาเลียร์ว่า "คำศัพท์ถึงความผิดพลาดใดที่ดูเหมือนจะได้รับความไม่พอใจอย่างมาก"[3] ต่อมาคำว่าแควาเลียร์ก็ถูกใช้ในอีกความหมายหนึ่ง (เป็นชื่อของเกียรติยศ) โดยพรรคของพระมหากษัตริย์ ผู้ซึ่งในทางกลับกันได้เรียกฝ่ายรัฐสภาว่าเป็นคู่อริ และในช่วงการฟื้นฟูราชวงศ์ พรรคของราชสำนักยังคงรักษาชื่อนี้เอาไว้จนอยู่รอดต่อมาถึงการเรียกใช้คำใหม่ว่า "ทอรี"[3]

ในอดีตแควาเลียร์ไม่ได้ถูกเข้าใจในความหมายปัจจุบันซึ่งใช้อธิบายถึงลักษณะการแต่งกาย แต่เป็นคำที่ใช้อธิบายทัศนคติด้านสังคมและการเมือง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันคำว่าแควาเลียร์กลายมาเป็นคำที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับลักษณะการแต่งกายในราชสำนักซึ่งไว้ผมยาวสลวยเป็นลอน, สีสันสดใส และถูกตัดอย่างบรรจง รวมไปถึงการใส่ปลอกคอลูกไม้และกำไลข้อมือ และหมวกประดับขนนก[4] ซึ่งแตกต่างจากการแต่งตัวของฝ่ายรัฐสภาสุดโต่งที่สนับสนุนรัฐสภาอังกฤษ โดยจะแต่งตัวด้วยชุดที่เรียบง่ายกว่าและไว้ผมสั้น ซึ่งภาพพจน์ของทั้งสองฝ่ายต่างถูกเหมารวมอย่างสอดคล้องกันทั้งหมด นายพลส่วนมากของฝ่ายรัฐสภาสวมใส่หมวกซึ่งมีความยาวเช่นเดียวกับฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เป็นกรณียกเว้น และในความเป็นจริงแล้วผู้วาดสภาพเสมือนของขุนนางที่ดีที่สุดและเป็นผู้แสดงภาพพจน์ของฝ่ายแควาเลียร์ได้ดีที่สุดอย่าง อันโตนี ฟัน ไดก์ จิตรกรในราชสำนักพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กลับเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมือง ส่วนภาพที่แสดงถึงแควาเลียร์อันโด่งดังที่สุดน่าจะเป็น แควาเลียร์ผู้หัวเราะ โดยฟรันส์ ฮัลส์ ซึ่งแสดงถึงสุภาพบุรุษจากเมืองฮาร์เลมของฝ่ายแควาเลียร์จัดในดัตช์ในปี ค.ศ. 1642 ภาพพจน์ของแควาเลียร์ในทางเสื่อมเสีย (ในช่วงเวลาที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย) ยังแสดงให้เห็นว่าฝ่ายรัฐสภามองฝ่ายกษัตริย์นิยมว่าเป็นกลุ่มคนเอาแต่ใจที่ให้ความสำคัญกับความฟุ้งเฟ้อมากกว่าประเทศชาติส่วนรวม

ภาพแกะสลักพระเจ้าชาลส์ที่ 1 และผู้ติดตาม

อนุศาสนาจารย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 อธิบายแควาเลียร์ว่า "เยาวชนแห่งเกียรติยศ สุภาพบุรุษจากตระกูลผู้ดี ผู้ซึ่งรักกษัตริย์ของเขาเพราะความรู้สึกผิด ด้วยใบหน้าอันแจ่มชัดและดูโดดเด่นกว่าใคร และด้วยหัวใจอันจงรักภักดีกว่าใคร"[5] ซึ่งมีชายหลายคนในกองทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ผู้สอดคล้องกับคำอธิบายข้างต้น ที่ซึ่งนายทหารภาคสนามมีอายุอยู่ในช่วงต้นของวัยสามสิบ, แต่งงานแล้ว และมีที่ดินในชนบทที่ต้องกลับไปจัดการ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีทัศคติเดียวกันในการเทิดทูนพระเจ้าในฐานะอิสรภาพของอังกฤษแห่งกองทัพตัวแบบใหม่ แต่พระเจ้าก็มักจะเป็นศูนย์รวมใจในชีวิตของพวกเขา แควาเลียร์ลักษณะเช่นนี้ถูกอุปมาโดยเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง ผู้ซึ่งกล่าวคำภาวนาอันโด่งดังช่วงก่อนยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์ว่า "โอ พระเจ้า, ท่านรู้ดอกไม่ว่าวันนี้ตัวข้าจะยุ่งสักเพียงไร หากข้าพเจ้าลืมท่าน โปรดอย่าลืมข้าพเจ้า"[6] ในการสิ้นสุดลงของสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 แอสต์ลีย์ให้สัตยาบันว่าจะไม่จับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐสภาอีกครั้ง และให้คำมั่นว่าเขารู้สึกถึงหน้าที่ซึ่งห้ามเขาไม่ให้ช่วยเหลือฝ่ายกษัตริย์นิยมในการก่อสงครามการเมืองครั้งที่สอง

ทหารของครอมเวลล์บุกเข้าไปในที่อยู่อาศัยของแควาเลียร์ วาดโดยเจ. วิลเลียมสัน สำหรับหนังสือ ภาพแห่งประวัติศาสตร์บริเตนเพิ่มเติม โดยอี.แอล.ฮอสคิน กรุงลอนดอน ค.ศ. 1914

อย่างไรก็ตามสัตยาบันดังกล่าวกลับถูกประกาศโดยฝ่ายรัฐสภาว่าเป็นภาพพจน์ชวนเชื่อและดูหมิ่นของความมักมากในกาม, ชายเสเพลผู้ดื่มสุราจัดและไม่ค่อยนึกถึงพระเจ้า ซึ่งเป็นภาพพจน์นี้เองที่ยังคงอยู่รอดมาและตรงกับลักษณะของฝ่ายกษัตริย์นิยมหลายคน เช่น เฮนรี วิลมอต์ เอิร์ลแห่งรอเชสเตอร์ที่ 1[7] และ ลอร์ดกอริง ผู้ซึ่งเป็นนายพลในกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยม[8] เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแคลเรนดัน ที่ปรึกษาคนสำคัญของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 กล่าวไว้ว่าเขา "จะล้มเลิกความไว้วางใจใด ๆ โดยปราศจากความลังเล และผ่านร่างพระราชบัญญัติการคลังใดก็ตามเพื่อบรรเทาความกระหายและตอบสนองความประสงค์ทั่วไป; และในความเป็นจริงมิได้ประสงค์สิ่งใดเลยนอกจากความมานะอุตสาหะ (ให้เขามีปัญญา, ความกล้าหาญ, ความเข้าใจ และความทะเยอทะยาน ที่ไม่ถูกควบคุมโดยความกลัวจากพระเจ้าหรือมนุษย์ด้วยกันเอง) เพื่อให้เขามีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จสูงสุดในความชั่วร้ายในฐานะใครก็ตามไม่ว่าจะในยุคที่เขามีชีวิตอยู่หรือยุคก่อนหน้าก็ตาม คุณสมบัติอำพรางทั้งหมดถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของเขา; ที่ซึ่งเขาเชี่ยวชาญอย่างมาก มากเสียจนผู้คนไม่ได้ละอายใจหรือเสียหน้าด้วยการถูกหลอกอย่างปกติ แต่รู้สึกดังกล่าวซ้ำสองจากตัวเขา[9] ความรู้สึกนี้ถูกพัฒนาขึ้นในการใช้คำว่าแควาเลียร์ของภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งใช้อธิบายทัศนคติที่หละหลวมและไม่ใยดี

แควาเลียร์ยังถูกใช้อธิบายถึงสมาชิกของพรรคการเมืองที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ จนกระทั่งวิกฤตการณ์ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ ค.ศ. 1678 – ค.ศ. 1681 ที่คำดังกล่าวถูกแทนที่ด้วยคำว่า "ทอรี" ซึ่งเป็นอีกคำหนึ่งที่ถูกใช้เชิงดูถูกเหยียดหยามในตอนแรก และในช่วงเวลาดังกล่าวคำที่ใช้เรียกฝ่ายรัฐสภาว่า กลุ่มหัวเกรียน ก็ถูกแทนที่ด้วยคำว่า "วิก" ซึ่งก็ถูกใช้ในเชิงดูถูกเหยียดหยามในตอนแรกเช่นกัน[10]

ในศิลปกรรม

[แก้]
สามพระพักตร์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ อันโด่งดังโดยอันโตนี ฟัน ไดก์
ฝ่ายกษัตริย์นิยมผู้ถูกเนรเทศ ค.ศ. 1651 โดย จอห์น เอเวอเรทท์ มิเลส์

ตัวอย่างของภาพวาดแนวแควาเลียร์สามารถพบเห็นได้ใน สามพระพักตร์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ โดย อันโตนี ฟัน ไดก์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. , Manganiello, p. 476
  2. 2.0 2.1 OED. "Cavalier"
  3. 3.0 3.1 Encyclopaedia Britannica Eleventh Edition Article: CAVALIER
  4. OED "Cavalier", Meaning 4. attrib., First quotation "1666 EVELYN Dairy 13 Sept., The Queene was now in her cavalier riding habite, hat and feather, and horseman's coate."
  5. Carlton p. 52
  6. Hume p. 216 See footnote r. cites Warwick 229.
  7. Barratt, 177
  8. Memegalos, inside front cover
  9. Encyclopaedia Britannica Eleventh Edition Article: GEORGE GORING GORING
  10. Worden 2009, p. 4.

อ้างอิง

[แก้]
  • Barratt, John. Cavalier Generals: King Charles I and His Commanders in the English Civil War, 1642-46, Pen & Sword Military, 2005
  • Carlton, Charles. Going to the Wars: The Experience of the British Civil Wars, 1638–1651, Routledge, 1994 ISBN 0-415-10391-6.
  • Hume David. The History of England from the Invasion of Julius Caesar to the Revolution 1688 (Volume V).T. Cadell, 1841
  • Manganiello Stephen C. The Concise Encyclopedia of the Revolutions and Wars of England, Scotland, and Ireland, 1639–1660, Scarecrow Press, 2004, ISBN 0-8108-5100-8
  • Memegalos, Florene S. George Goring (1608–1657): Caroline Courtier and Royalist General, Ashgate Publishing, Ltd., 2007 ISBN 0-7546-5299-8
  • Oxford English Dictionary Second Edition 1989 (OED).
  • Worden, Blair (2009). The English Civil Wars 1640-1660. London: Penguin Books. ISBN 0-14-100694-3.
อ้างอิงถึง

ดูเพิ่ม

[แก้]