ข้ามไปเนื้อหา

ฝูงหมาป่า (ยุทธวิธีทางเรือ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฝูงหมาป่า (เยอรมัน: Rudeltaktik หรือ Wolfsrudeltaktik; อังกฤษ: wolfpack) เป็นยุทธวิธีการโจมตีจำนวนมากเพื่อปะทะกับคอนวอย ที่ใช้โดยเรืออูของครีคส์มารีเนอเยอรมันในระหว่างยุทธการแห่งแอตแลนติก

เรือดำน้ำเยอรมัน

[แก้]
เรือดำน้ำเยอรมัน อู-52

คาร์ล เดอนิทซ์ เรียกยุทธวิธีของเขาในการสงครามเรือดำน้ำว่ารูเด็ลทัคทิค (Rudeltaktik) ซึ่งแปลว่า "ยุทธวิธีแห่งฝูงสัตว์" มันได้กลายเป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "วูล์ฟแพ็ค" (wolfpack) ซึ่งเป็นคำอุปมาที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่การแปลตามตัวอักษร

ยุทธวิธี

[แก้]

การเคลื่อนไหวของเรืออูได้รับการควบคุมโดยเบเฟลชาเบอร์แดร์อูโบท (เยอรมัน: Befehlshaber der Unterseeboote; อักษรย่อ: BdU; คำแปล: "ผู้บังคับบัญชาเรือดำน้ำ") โดยมีความใกล้ชิดมากกว่าเรือดำน้ำอเมริกา ซึ่งได้รับความเป็นอิสระอย่างยิ่งในการลาดตระเวนครั้งหนึ่ง เรือดำน้ำมักจะลาดตระเวนแยกออกจากกันอย่างสอดคล้อง และมักจะจัดให้มีสายออกในแถวที่ประสานกันขวางเส้นทางคอนวอย เพื่อประมือเรือค้าขายและเรือพิฆาตที่เปราะบางขนาดเล็กเฉพาะราย ซึ่งจะได้รับคำสั่งให้รวมตัวกันหลังจากที่ตั้งขบวนคอนวอยและแจ้งเตือนผู้บังคับบัญชาเรือดำน้ำแล้วเท่านั้น ดังนั้นรูเด็ล หรือฝูงหมาป่า จึงประกอบไปด้วยเรืออูจำนวนมาก ที่สามารถไปถึงจุดเกิดเหตุของการโจมตี ด้วยข้อยกเว้นของคำสั่งที่กำหนดโดยผู้บังคับบัญชาเรือดำน้ำ ผู้บัญชาการเรืออูสามารถโจมตีได้เมื่อเห็นว่าเหมาะสม บ่อยครั้งที่ผู้บัญชาการเรืออูได้รับจำนวนที่น่าจะเป็นของเรืออูที่จะแสดงตน และจากนั้นเมื่อพวกเขาได้ประชิดกับคอนวอย ก็ทำสัญญาณเรียกเพื่อดูว่ามีกี่ลำที่มาถึง หากจำนวนของพวกเขาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับภัยคุกคามที่คาดหมายไว้ของเรือคุ้มกันขบวนเรือ พวกเขาก็จะโจมตี

วิธีการรับมือ

[แก้]
หน่วยคุ้มกันคอนวอย และเครื่องบินต่อต้านเรือดำน้ำ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941

แม้ว่าฝูงหมาป่าจะพิสูจน์แล้วว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการขนส่งของพันธมิตร แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรก็พัฒนาวิธีการรับมือเพื่อเปลี่ยนการควบคุมเรืออูให้ต่อต้านตัวเอง สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือความจริงที่ว่าฝูงหมาป่าต้องการการสื่อสารทางวิทยุที่กว้างขวางเพื่อประสานงานการโจมตี สิ่งนี้ทำให้เรืออูต้องเสี่ยงต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่าตัวค้นหาทิศทางความถี่สูง (เอชเอฟ/ดีเอฟ หรือ "ฮัฟ-ดัฟ") ซึ่งอำนวยให้กองกำลังพันธมิตรทำการตรวจสอบที่ตั้งของเรือข้าศึกที่ส่งสัญญาณและโจมตีพวกมัน นอกจากนี้ เครื่องบินคุ้มกันในอากาศที่มีประสิทธิภาพ ทั้งเครื่องบินระยะไกลพร้อมเรดาร์ และเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน รวมถึงเรือเหาะ อำนวยให้เห็นเรืออูเป็นจุดในฐานะที่พวกมันประกบตัวคอนวอย (รอคอยการโจมตียามค่ำคืน)

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • คอนวอย เอสซี 7 สำหรับเรื่องราวของหนึ่งในขบวนเรือสัมพันธมิตรแรก ที่ประสบการโจมตีจากฝูงหมาป่า

อ้างอิง

[แก้]
  • Peter Maas, The Terrible Hours: The Man Behind the Greatest Submarine Rescue in History (HarperCollins New York, 1999)
  • E. B. Potter and Chester W. Nimitz, eds; Sea Power: A Naval History (Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall, 1960)