ฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย
ผลกระทบต่อสุขภาพ
[แก้]ปัญหาฝุ่นควันทำให้คนที่อยู่ในที่โล่งนาน ๆ มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้ง ระคายคอ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย และแน่นหน้าอก ผลวิจัยการหาความสัมพันธ์ของฝุ่นละออง กับอัตราการป่วยและเสียชีวิตของประชาชนในเชียงใหม่และลำพูน โดยคณะวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมี ผศ.ดร.มงคล รายะนาคร เป็นหัวหน้าโครงการ พบค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในเชียงใหม่สูงกว่ามาตรฐานของสหรัฐอเมริกา 3-6 เท่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปี และอัตราผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดต่อประชากรแสนคนสูงกว่ากรุงเทพมหานครและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย โดยพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.6 ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด อัตราต่อแสนประชากรเพิ่มจาก 9 คน ในปี 2545 เพิ่มเป็น 58.12 คน ในปี 2548 ฝุ่นขนาดเล็กจะทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นที่โรงพยาบาลสารภี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พบปริมาณฝุ่นละอองสูงที่สุดในเชียงใหม่[1]
ปัญหาฝุ่นควันในปี 2550
[แก้]ในปี พ.ศ. 2550 แนวโน้มความรุนแรงของปัญหาฝุ่นควันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2550 สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่สูงเกินมาตรฐาน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร[1] ปริมาณฝุ่นและฝุ่นควันอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ กรมควบคุมมลพิษจึงออกประกาศให้หลีกเลี่ยงการอยู่นอกอาคารเป็นเวลานาน และงดออกกำลังกายในที่โล่ง โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทางเดินหายใจ และหืดหอบ นอกจากนี้ปัญหาฝุ่นควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยพบว่ายอดการจองห้องพักล่วงหน้าของโรงแรมในช่วงสงกรานต์ 2550 อยู่ที่ 50%[1]
ปัญหาฝุ่นควันในปี 2555
[แก้]ในปี พ.ศ. 2555 แนวโน้มความรุนแรงของปัญหาฝุ่นควันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ 1 มกราคม และสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นครั้งแรกในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555[2]ตามค่ามาตรฐาน PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยก่อนหน้าวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555 ในบางช่วงบางเวลามีค่าฝุ่นละอองในอากาศมากกว่า 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรซึ่งถือว่าสูงมากจัดอยู่ในขั้นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งพบในหลายพื้นที่ของ 8 จังหวัดภาคเหนือ ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพุ่งสูงขึ้น โดยระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2555 ในโรงพยาบาล 87 แห่ง มีรายงานผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด 23,685 ราย กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด 24,837 ราย กลุ่มโรคตาอักเสบ 2,265 ราย และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 2,610 ราย[3]
ส่วนวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555 ถือว่าเลวร้ายขั้นสูงสุดเพราะค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน อยู่ที่ระดับบ 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใน 8 จังหวัดของภาคเหนือ[4]และวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วัดได้ 437.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนค่าดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 320 ซึ่งถือว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์อันตราย[5]
นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์กรณีปัญหาฝุ่นควันในภาคเหนือ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางจราจรได้ จากรายงานสถานการณ์ปัญหาฝุ่นควันด้านการแพทย์และสาธารณสุขใน 8 จังหวัดข้างต้นตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 18 กุมภาพันธ์ พบว่ามีผู้ป่วยจากปัญหาฝุ่นควันหลายกลุ่มโรค เช่น กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด และกลุ่มโรคตาอักเสบ[6]
กรมควบคุมมลพิษรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในภาคเหนือ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555 พบว่ามี 8 จังหวัด ที่มีปัญหาฝุ่นควันเกินค่ามาตรฐานคือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และพะเยา โดยเฉพาะที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กได้สูงถึง 307 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จัดอยู่ในขั้นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงรายยังถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควัน เป็นผลมาจากไฟป่าในหลายจุด ทั้งป่าตามเส้นทางสายเชียงราย-เชียงใหม่ ทำให้ทัศนวิสัยเหลือเพียง 2 กิโลเมตร ขณะที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐาน โดยในอำเภอเมืองวัดได้ 216 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร[7]
ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555 สถานการณ์ฝุ่นควันเริ่มกลับเป็นที่น่ากังวลอีกครั้งเนื่องจาก ค่าฝุ่นละอองสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน [8]โดยที่สถานีตรวจวัดอากาศสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย อ.เมืองเชียงราย วัดค่า PM10 ได้147.3ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และที่สถานีสาธารณสุขแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย วัดค่าPM10ได้ 167ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรโดยก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์เผาป่าในจังหวัดลำปาง[9]ซึ่งคาดว่าเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้สภาพอากาศกลับมาเกินเกณฑ์มาตรฐานอีกครั้งหลังกลับสู่เกณฑ์มาตรฐานแล้วทุกสถานี ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมาโดยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555 สถานการณ์ของค่าฝุ่นละอองที่จังหวัดเชียงใหม่มีค่าเกิดมาตรฐานส่งผลให้นายแพทย์รังสฤษฐ์ กาญจนวณิชย์ ได้ร่วมกับประชาชนราว 100 คน กันถือแผ่นป้ายออกเดินรณรงค์เรียกร้องให้ภาครัฐดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันไฟป่าอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[10]
ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 สถานการณ์ฝุ่นควันเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้งโดยที่สถานีสาธารณสุขแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงรายค่าฝุ่นละอองสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก ค่า PM10 อยู่ที่364.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและ ค่าดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 221[11]
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 สถานการณ์ฝุ่นควันเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้งโดยที่สถานีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย อ.เมืองเชียงรายค่าฝุ่นละอองสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก ค่า PM10อยู่ที่399 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและ ค่าดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 270[12]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายงานข่าวอากาศเชียงใหม่ มลพิษสูงกว่าอเมริกา เก็บถาวร 2014-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmatichonreport
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-14. สืบค้นเมื่อ 2022-05-27.
- ↑ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000030638[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://news.thaipbs.or.th/video/%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-400-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-03-10.
- ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331276258&grpid=&catid=19&subcatid=1906
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2012-03-17.
- ↑ http://www.nationchannel.com/main/news/social/20120316/27821364/ลำปางพบเผาป่าอีกระลอก/[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2012-03-18.
- ↑ "สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย - 31 มีนาคม 2555". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2012-04-01.
- ↑ "สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย - 1 เมษายน 2555". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2012-04-01.