ข้ามไปเนื้อหา

ฝั่ม เหญิต เหวื่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝั่ม เหญิต เหวื่อง
เกิด (1968-08-05) 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968 (56 ปี)
ไฮฟอง เวียดนาม
สัญชาติเวียดนาม
พลเมืองเวียดนาม
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเหมืองแร่และธรณีวิทยาแห่งฮานอย[1]
สถาบันสำรวจธรณีวิทยาแห่งมอสโก[2]
อาชีพนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
มีชื่อเสียงจากมหาเศรษฐีพันล้านคนแรกของเวียดนาม ผู้ก่อตั้งและประธานของวินกรุป
คู่สมรสฝั่ม ทู เฮือง
บุตร3
ลายมือชื่อ

ฝั่ม เหญิต เหวื่อง (เวียดนาม: Phạm Nhật Vượng; เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968) เป็นนักธุรกิจและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวเวียดนาม[4]

ประวัติ

[แก้]

เหวื่องเกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968 ที่เมืองไฮฟองในช่วงสงครามเวียดนาม[5] บิดาเป็นทหารอากาศในกองทัพประชาชนเวียดนาม มารดาเป็นแม่ค้าในร้านน้ำชา ฐานะจึงค่อนข้างขัดสน เหวื่องเติบใหญ่ในฮานอยและจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมปลายกีมเลียน ในปี ค.ศ. 1985 สองปีถัดจากนั้นได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเหมืองแร่และธรณีวิทยาแห่งฮานอย จากนั้นสามารถสอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่คณะเศรษฐศาสตร์ สถาบันสำรวจธรณีวิทยาแห่งมอสโก ในสหภาพโซเวียตได้ด้วยความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่เป็นเลิศ[4] เหวื่องจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1992 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และได้แต่งงานกับฝั่ม ทู เฮือง ภรรยาผู้พบรักกันตั้งแต่สมัยเรียนระดับมัธยม[4] ก่อนจะย้ายไปอยู่ด้วยกันที่คาร์กิว ประเทศยูเครน

เส้นทางผู้ประกอบการ

[แก้]

เหวื่องเปิดร้านอาหารเวียดนามเล็ก ๆ ในยูเครนด้วยเงินยืมจากเพื่อนและครอบครัว จากนั้นหันมาผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้ตั้งโรงงานผลิต Technocom จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแห้งรายใหญ่ของยูเครน[6] ซึ่งต่อมาเขาได้ขายให้กับบริษัทเนสท์เล่ด้วยมูลค่าสูงถึง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2009[7]

เมื่อเหวื่องเดินทางกลับเวียดนาม เขาได้เดินหน้าทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เริ่มจากโครงการวินเพิร์ลญาจาง (เปิดบริการ ค.ศ. 2003) และวินคอมซิตีทาวเวอร์ใจกลางกรุงฮานอย (เปิดบริการ ค.ศ. 2004) เหวื่องควบรวมกิจการของวินเพิร์ลและวินคอมเข้าเป็นบริษัทเดียวกันในชื่อ วินกรุป และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี ค.ศ. 2007 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ทางตะวันออกของฮานอย

ในปี ค.ศ. 2015 เหวื่องกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในเวียดนามด้วยมูลค่าทรัพย์สินราว 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] ความมั่งคั่งยังเติบโตเรื่อยๆจากกิจการที่ขยายใหญ่จนมีทรัพย์สินสุทธิกว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nguyên Đức (2 October 2014). "Chuyện về tỷ phú Phạm Nhật Vượng" [The story of billionaire Phạm Nhật Vượng] (ภาษาเวียดนาม). Báo Đầu Tư Online. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  2. "Former owner of domestic Mivina becomes richest man of Vietnam". InVenture. 25 January 2018. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  3. "#239 Pham Nhat Vuong". Forbes. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 Michael Noer (4 March 2013). "Vietnam's First Billionaire And The Triumph Of Capitalism". Forbes. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  5. "Tỷ phú Phạm Nhật Vượng đi từ 'không' đến 'có' thế nào?" [How does billionaire Phạm Nhật Vượng go from 'no' to 'yes'?] (ภาษาเวียดนาม). Tiền Phong. 19 March 2013. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
  6. Netty Ismail (29 October 2012). "Vietnam billionare bets on move from gold to land". Bloomberg. The Independent. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  7. "Nestlé acquires leading culinary company in Ukraine". Nestlé. 25 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  8. "Top 100 nguoi giàu nhất Việt Nam trên TTCK 2015" [Top 100 richest people in Vietnam on the stock market in 2015] (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 2015. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.