ฝน วีระสุนทร
ฝน วีระสุนทร | |
---|---|
เกิด | ประสานสุข วีระสุนทร จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน |
นายจ้าง | วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ (พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน) |
บุตร | 1 |
ฝน วีระสุนทร หรือ ประสานสุข วีระสุนทร[1][2] เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ แอนิเมเตอร์ และศิลปินสตอรีบอร์ดชาวไทย ร่วมงานในการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์เรื่อง ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (พ.ศ. 2556), ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้ และ นครสัตว์มหาสนุก (ทั้งสองเรื่องในปี ค.ศ. 2559) ในฐานะศิลปินสตอรีบอร์ด ร่วมงานในฐานะหัวหน้าเนื้อเรื่องของภาพยนตร์รายากับมังกรตัวสุดท้าย (พ.ศ. 2564) เปิดตัวในฐานะผู้กำกับของภาพยนตร์เรื่องพรมหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2566 โดยเป็นภาพยนตร์ที่กำกับร่วมกับคริส บัก
ประวัติช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]ฝน วีระสุนทรเกิดที่จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ในวัยเด็กได้รับแรงบันดาลใจจากจากภาพยนตร์เรื่องดัมโบ้ โดยเฉพาะฉากที่ออกแบบโดยแมรี แบลร์[1] ต่อมาเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร[3] ระหว่างที่ศึกษาในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมแฟ้มภาพผลงานส่งให้กับไพฑูรย์ รัตนศิรินทราวุธ ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุมศึกษาและแอนิเมเตอร์ที่ภายหลังทำงานที่วอลต์ดิสนีย์ฟีตเจอร์แอนิเมชันฟลอริดา ไพฑูรย์แนะนำฝนให้ลาออกจากมหาวิทยาลัยมหิดลและย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาวิจิตรศิลป์ที่วิทยาลัยศิลปะและการออกแบบโคลัมเบียด้วยทุนการศึกษา[4][5]
การทำงาน
[แก้]หลังจากฝน วีระสุนทรสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2547[6] ได้เข้าทำงานในหลายสตูดิโอ เช่น 6 พอยต์ฮาร์เนส, วอร์เนอร์บราเธอส์, นิกเคิลโลเดียนแอนิเมชันสตูดิโอส์ และอิลลูมิเนชันซึ่งฝนได้ทำงานในฐานะศิลปินเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ คุณปู่โลแรกซ์ มหัศจรรย์ป่าสีรุ้ง (พ.ศ. 2555) และ มิสเตอร์แสบร้ายเกินพิกัด 2 (พ.ศ. 2556) ในปี พ.ศ. 2554 ฝนเริ่มทำงานในแผนกเนื้อเรื่องที่วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ เริ่มต้นงานด้วยภาพยนตร์ ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (พ.ศ. 2556) ซึ่งภายหลังชนะเลิศรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2556[1] ต่อมาฝนทำงานในฐานะศิลปินเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ดิสนีย์อื่น ๆ ได้แก่ ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้ (พ.ศ. 2559), นครสัตว์มหาสนุก (พ.ศ. 2559) และ ราล์ฟตะลุยโลกอินเทอร์เน็ต (พ.ศ. 2561) ภายหลังฝนได้เลื่อนขึ้นเป็นหัวหน้าของแผนกแอนิเมชันดิสนีย์[1] และรับผิดชอบในฐานะหัวหน้าเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ รายากับมังกรตัวสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2564
ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565 ระหว่างงานนำเสนอดี 23 ประจำปี พ.ศ. 2565 ดิสนีย์แอนิเมชันประกาศว่าภาพยนตร์เรื่องถัดไปคือเรื่อง พรมหัศจรรย์ ซึ่งคริส บักและฝนเป็นผู้กำกับ[7] ฝนได้รับการยกย่องจากรัฐบาลไทยว่าเป็นศิลปินชาวไทยคนแรกที่กำกับภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์[8]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ปัจจุบันฝน วีระสุนทรอาศัยอยู่ในเมืองเบอร์แบงก์ รัฐแคลิฟอร์เนียกับสามี บุตรสาว และแมว 2 ตัว[5]
ผลงาน
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]ปี | เรื่อง | หมายเหตุ |
---|---|---|
พ.ศ. 2553 | บานาน่า | ภาพยนตร์สั้น, ศิลปินเนื้อเรื่อง |
โฮมเมกโอเวอร์ | ||
โอเรียนเตชันเดย์ | ||
พ.ศ. 2554 | ฮอพ กระต่ายซูเปอร์จัมพ์ | ศิลปินสตอรีบอร์ด |
พ.ศ. 2555 | คุณปู่โลแรกซ์ มหัศจรรย์ป่าสีรุ้ง | ศิลปินเนื้อเรื่องเสริม |
Hydee and the Hytops | ภาพยนตร์หนังแผ่น, หนังแผ่น | |
พ.ศ. 2556 | มิสเตอร์แสบร้ายเกินพิกัด 2 | ศิลปินเนื้อเรื่อง |
ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ | ศิลปินสตอรีบอร์ด | |
พ.ศ. 2559 | ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้ | ศิลปินเนื้อเรื่อง, ศิลปินพัฒนาวิชวล |
นครสัตว์มหาสนุก | ศิลปินเนื้อเรื่อง | |
พ.ศ. 2561 | ราล์ฟตะลุยโลกอินเทอร์เน็ต | |
พ.ศ. 2564 | รายากับมังกรตัวสุดท้าย | หัวหน้าเนื้อเรื่อง |
พ.ศ. 2566 | พรมหัศจรรย์ | ผู้กำกับร่วม |
ซีรีส์โทรทัศน์
[แก้]ปี | เรื่อง | หมายเหตุ |
---|---|---|
พ.ศ. 2550 | El Tigre: The Adventures of Manny Rivera | คีย์แอนิเมเตอร์, 6 ตอน |
พ.ศ. 2550-2551 | คัปปา ไมกี้ | แอนิเมเตอร์, 25 ตอน |
พ.ศ. 2553 | Los Tres Trabajadores: Boss man | ภาพยนตร์โทรทัศน์, แอนิเมเตอร์ |
พิ้งค์ แพนเตอร์และผองเพื่อน | ศิลปินสตอรีบอร์ด, 16 ตอน | |
พ.ศ. 2554-2555 | เดอะลูนีย์ทูนส์โชว์ | ศิลปินสตอรีบอร์ด |
พ.ศ. 2555 | Robot and Monster | ศิลปินสตอรีบอร์ด, 1 ตอน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Holt, Nathalia (2019). The Queens of Animation: The Untold Story of the Women Who Transformed the World of Disney and Made Cinematic History. Little, Brown. ISBN 9780316439169.
- ↑ Zahed, Ramin (March 20, 2020). "Animag's 2020 Rising Stars of Animation". Animation Magazine. สืบค้นเมื่อ August 8, 2023.
- ↑ Ruiz, Todd (May 14, 2014). "From Chonburi to the red carpet, Academy Award winner chased her dream". Coconuts. สืบค้นเมื่อ August 7, 2023.
- ↑ Norapoompipat, Apipar (March 25, 2017). "Big draw in Hollywood". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ August 8, 2023.
- ↑ 5.0 5.1 ACMI. "Storyboarding at Disney Animation with Fawn Veerasunthorn". สืบค้นเมื่อ August 8, 2023.
- ↑ "Notable alumni: Fawn Veerasunthorn (Animation, 2004)". ccad.edu. สืบค้นเมื่อ August 7, 2023.
- ↑ Valentine, Rebekah; Kim, Matt (September 10, 2022). "Disney's 2023 Animated Film Is Called Wish". IGN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2022. สืบค้นเมื่อ August 8, 2023.
- ↑ "Fawn Veerasunthorn praised for being Disney's 1st Thai animation film director". Pattaya Mail. September 19, 2022. สืบค้นเมื่อ August 8, 2023.