ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Yyoomonter

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำการที่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายและเป็นการกระทำผ่านหรือโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิด ซึ่งมีวัตถุประสงค์มุ่งต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือบุคคล

ประเภทของผู้กระทำกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

[แก้]

Hacker

[แก้]

แฮคเกอร์ (Hacker) นั้นมีความหมายอยู่ 2 แบบ โดยส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงคำคำนี้จะเข้าใจว่า หมายถึง บุคคลที่พยายามที่จะเจาะเข้าระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ในอีกความหมายหนึ่งซึ่งเป็นความหมายดั้งเดิม จะหมายถึง ผู้ใช้ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายหรือในด้านลบ เช่น สำรวจเครือข่ายเพื่อตรวจหาเครื่องแปลกปลอม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการที่เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

  • ระดับความชำนาญ => แฮคเกอร์ (Hacker) มีความรู้ความชำนาญสูงทั้งในการใช้คอมพิวเตอร์ และการเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  • แรจูงใจ => เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงระบบให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  • เป้าหมายของการโจมตี => แล้วแต่ที่แฮคเกอร์ (Hacker) ติดตามหรือสนใจ

Cracker

[แก้]

แครร็คเกอร์ (Cracker) คือบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์พยายามที่จะเจาะเข้าระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต และอาศัยช่องโหว่หรือจุดอ่อนเพื่อทำลายระบบ

  • ระดับความชำนาญ => แครร็คเกอร์ (Cracker) มีความรู้ความชำนาญสูงทั้งในการใช้คอมพิวเตอร์ และการเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  • แรจูงใจ => แข่งขันกับผู้อื่นเพื่อแสดงความสามารถในการทำลายระบบ แครร็คเกอร์ (Cracker) จะภูมิใจถ้าเขาสามารถเจาะเข้าระบบได้มากกว่าผู้อื่น
  • เป้าหมายของการโจมตี => แล้วแต่ที่แครร็คเกอร์ (Cracker) ติดตามหรือสนใจ

Script kiddy

[แก้]

สคริปต์คิดดี้ส์ (Script - Kiddies) คือแฮคเกอร์ (Hacker) หรือ แฮคกิง (Hacking) ประเภทหนึ่งมีจำนวนมากประมาณ 95 % ของแฮคกิง (Hacking) ทั้งหมด ซึ่งยังไม่ค่อยมีความชำนาญ ไม่สามารถเขียนโปรแกรมในการเจาะระบบได้เอง อาศัย Download จากอินเทอร์เน็ต

  • ระดับความชำนาญ => สคริปต์คิดดี้ส์ (Script - Kiddies) มีความรู้ความชำนาญต่ำ
  • แรจูงใจ => เพื่อให้ได้การยอมรับหรือต้องการที่จะแสดงความรู้ความสามารถ
  • เป้าหมายของการโจมตี => แล้วแต่ที่สคริปต์คิดดี้ส์ (Script - Kiddies) ติดตามหรือสนใจ ส่วนมากเป็นผู้ใช้งานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
  • ระดับความรุนแรง => มีอันตรายมาก ส่วนใหญ่เป็นเด็ก มีเวลามาก ใช้เวลาในการทดลอง และมักไม่เข้าใจในเทคโนโลยีที่ตัวเองใช้โจมตีว่าจะสร้างความเสียหายมากน้อยขนาดไหน

สายลับทางคอมพิวเตอร์ (Spy) คือบุคคลที่ถูกจ้างเพื่อเจาะระบบและขโมยข้อมูล โดยพยายามไม่ให้ผู้ถูกโจมตีรู้ตัว

  • ระดับความชำนาญ => สายลับทางคอมพิวเตอร์ (Spy) มีความรู้ความชำนาญสูงมากทั้งในการใช้คอมพิวเตอร์ และการเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  • แรจูงใจ => เพื่อมให้ได้มาซึ่งเงิน
  • เป้าหมายของการโจมตี => การโจมตีมีความเฉพาะเจาะจงตามที่ถูกจ้าง

Employee

[แก้]

พนักงาน (Employee) คือ พนังงานภายในองค์กร หรือเป็นบุคคลลภายในระบบที่สามารถเข้าถึงและโจมตีระบบได้ง่าย เพราะอยู่ภายในระบบ

  • ระดับความชำนาญ => มีระดับความชำนาญหลากหลายระดับ แล้วแต่ผู้โจมตีแต่ละคนนั้นจะชำนาญด้านไหน
  • แรจูงใจ => อาจมีแรงจูงใจจาก
1. แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีจุดอ่อน
2. แสดงความสามารถของตัวเองเนื่องจากถูกประเมินค่าต่ำเกินไป หรืออาจเกิดความไม่พอใจในการพิจารณาผลงาน
3. ผลประโยชน์ส่วนตัว เช่น ถูกจ้างจากคู่แข่ง
  • เป้าหมายของการโจมตี => ระบบขององค์กรที่ตนเองได้ทำงานอยู่

Terrorist

[แก้]

ผู้ก่อการร้าย (Terroist) คือกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่มีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย ภยันตราย แก่บุคคลอื่น หรือองค์กรต่างๆ

  • ระดับความชำนาญ => ความชำนาญสูง คาดเดาวิธีการได้ยาก
  • แรจูงใจ => เพื่อก่อการร้าย
  • เป้าหมายของการโจมตี => เป้าหมายไม่แน่นอน อาจเป็นระบบเล็กๆ หรือขนาดใหญ่ เช่น ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้า

รูปแบบของการกระทำความผิด

[แก้]

ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

Social Engineering

[แก้]
  • เป็นปฏิบัติการทางจิตวิทยา หลอกหล่อให้เหยื่อติดกับโดยไม่ต้องอาศัยความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ใช้วิธีโทรศัพท์สอบถามข้อมูล หรืออาจใช้วิธีค้นหาข้อมูลจากถังขยะ (Dumpster Diving) เพื่อค้นหาข้อมูลจากเอกสารที่นำมาทิ้ง หรือใช้วิธี Phishing
  • การป้องกันทำได้โดย มีการกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เข้มงวด เช่น การเปลี่ยนรหัสผ่าน รวมถึงมีการอบรมและบังคับใช้อย่างจริงจัง

Password Guessing

[แก้]
  • Password เป็นสิ่งที่ใช้ในการพิสูจน์ความเป็นตัวตนของผู้ใช้งาน เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใช้มักกำหนดโดยใช้คำง่ายๆ เพื่อสะดวกในการจดจำ สาเหตุจากต้องเปลี่ยนบ่อย หรือมี Password หลายระดับ หรือระบบห้ามใช้ Password ซ้ำเดิม Password ที่ง่ายต่อการเดา ได้แก่ สั้น ใช้คำที่คุ้นเคย ใช้ข้อมูลส่วนตัว ใช้ Password เดียวทุกระบบ จด Password ไว้บนกระดาษ ไม่เปลี่ยน Password ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • Password Guessing คือการเดา Password เพื่อเข้าสู่ระบบ

Denial of Service (DOS)

[แก้]

Denial of Service (การโจมตีโดยคำสั่งลวง) คือการโจมตีลักษณะหนึ่งที่อาศัยการส่งคำสั่งลวงไปร้องขอการใช้งานจากระบบและการร้องขอในคราวละมากๆเพื่อที่จะทำให้ระบบหยุดการให้บริการ แต่การโจมตีแบบ Denial of Service สามารถถูกตรวจจับได้ง่ายโดย Firewall หรือ IDS และระบบที่มีการ Update อยู่ตลอดมักจะไม่ถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ ซึ้งมีบางกรณีก็ตรวจจับได้ยากเนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับการทำงานของ Software จัดการเครือข่าย เนื่องจากสามารถถูกตรวจจับได้ง่ายปัจจุบันการโจมตีในลักษณะนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบการโจมตีไปสู่แบบ Distributed Denial of Service (DDOS)[1] คือการอาศัย คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องโจมตีระบบในเวลาเดียวกัน

Decryption

[แก้]

คือ การพยายามให้ได้มาซึ่ง Key เพราะ Algorithm เป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว เพื่อถอดข้อมูลที่มีการเข้ารหัสอยู่ ซึ่งการ Decryption อาจใช้วิธีการตรวจสอบดูข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หา Key โดยเฉพาะการใช้ Weak Key ที่จะส่งผลทำให้ได้ข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน ทำให้เดา Key ได้ง่าย ควรใช้ Key ความยาวอย่างน้อย 128 bit หรืออาจใช้หลักทางสถิติมาวิเคราะห์หา Key จากตัวอักษรที่พบ

Birthday Attacks

[แก้]
  • เมื่อเราพบใครสักคนหนึ่ง มีโอกาสที่จะเกิดวันเดียวกัน 1 ใน 365 ยิ่งพบคนมากขึ้นก็ยิ่งจะมีโอกาสซ้ำกันมากยิ่งขึ้น
  • การเลือกรหัสผ่านวิธีการที่ดีที่สุดคือการใช้ Random Key แต่การ Random Key นั้นก็มีโอกาสที่จะได้ Key ที่ซ้ำเดิม

Man in the middle Attacks

[แก้]
  • การพยายามที่จะทำตัวเป็นคนกลางเพื่อคอยดักเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยที่คู่สนทนาไม่รู้ตัว มีทั้งการโจมตีแบบ Active จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล การโจมตีแบบ Passive จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล และการโจมตีแบบ Replay Attack ข้อความจะถูกเก็บไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วค่อยส่งต่อ
  • ป้องกันโดยการเข้ารหัสข้อมูล ร่วมกับ Digital Signature

ขั้นตอนการเจาะระบบคอมพิวเตอร์

[แก้]
  • การเลือกใช้เครื่องมือ => เครื่องมือที่จะใช้ในการเจาะระบบไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Hardware หรือ Software ก็ตาม
  • การสำรวจข้อมูลเป้าหมาย => เป็นการสำรวจเป้าหมายเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวางแผนการโจมตีว่าเป้าหมายนั้นใช้ ระบบ (OS) อะไร มีพอร์ทไหนบ้างที่เปิดอยู่
  • การสแกนเครือข่าย => เป็นทดสอบว่าเครื่องเป้าหมายเปิดอยู่หรือไม่ โดยมาจะนิยมใช้คำสั่ง ping เพื่อทดสอบว่าเครื่องนะมีสถานะออนไลน์หรือไม่ แต่ในบางกรณีอาจใช้วิธี telnet ไปยังเครื่องเป้าหมายที่ port 80, 25 เพื่อหลบเลี่ยงการกรองคำสั่ง ping ของ router หรือ firewall
  • การสแกนพอร์ต => เป็นการตรวจสอบช่องทางที่จะเข้าโจมตีเป้าหมาย ว่า สามารถเข้าไปสู่เครื่องเป้าหมายในช่องทางใดบ้าง
  • การโจมตี => ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเข้าโจมตีในรูปแบบที่ต้องการ

การป้องกันการถูกเจาะระบบ

[แก้]
  • สแกนเพื่อหาจุดอ่อน (Vulnerability Scanning) ควรทำจากหลายๆจุด จากทั้งภายในและภายนอก ในส่วนของ DeMilitalized Zone (DMZ) [2] ด้วย
  • เมื่อพบช่องโหว่ให้ทำการ Update Patch เพื่ออุดช่องโหว่นั้น

เครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัย

[แก้]

ตัวอย่างเครื่องมือที่เป็น Software ที่ใช้รักษาความปลอดภัย ส่วนมากจะเป็น Software ที่ใช้สแกนเพื่อหาจุดอ่อน (Vulnerability Scanning) และประเมินความเสี่ยงของระบบนั้นๆ

  • GFI LANguard Network Security Scanner (N.S.S.) [3] [4]
  • eEye Retina Network Security Scanner
  • Microsoft Baseline Seurity Analyser (MBSA) [5]
  • Nessus Security Scanner [6]

กฎหมายที่ใช้กับ Hacker

[แก้]

การที่เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การแอบดูข้อมูลผู้อื่น การลบ แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น นั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั้งสิ้น

กฎหมายต่างประเทศ

[แก้]

ตัวอย่างกฎหมายที่ใช้กับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ของต่างประเทศบางส่วน

  • ICCPR : International Covenant on Civil and Political Rights (กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง)[7] [8] โดยมีสาระสำคัญในส่วนของการใช้ Internet ดังนี้
1. การห้ามแทรกแซงความเป็นส่วนตัว (Privacy Right)
2. การคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด/การแสดงความคิดเห็น/การแสดงออก/สื่อ (Freedom of Belief/Freedom of Press/Freedom of Expression)
  • GUIDANCE ON COMPUTER MISUSE ACT[9] เป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการแกะหรือถอดคอมพิวเตอร์ของประเทศอังกฤษ ที่นำมาใช้กับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ดังต่อไปนี้
1. ความผิดเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้โดยใช้อินเทอร์เน็ตหรือวิธีการอื่นใดหรือใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมที่มีอำนาจไม่ให้ทำเช่นนั้น
2. หรือมีอำนาจในการเข้าใช้แต่ใช้เกินขอบเขตอำนาจ
3. กระทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแต่มีการเปลี่ยนแปลงเกินส่วน[10]

กฎหมายไทย

[แก้]

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR : International Covenant on Civil and Political Rights) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 (ICCPR ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2519) และมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 โดยมีสาระสำคัญในส่วนของการใช้ Internet ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งสิทธิมนุษยชนทั้ง 2 ประการ ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ไว้ในมาตราดังนี้

1. มาตรา 35 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ ส่วนตัว
2. มาตรา 36 เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
3. มาตรา 37 เสรีภาพทางความคิดในการถือศาสนา/ความเชื่อ
4. มาตรา 45 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
5. มาตรา 46 เสรีภาพของสื่อ

จากทั้งกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR : International Covenant on Civil and Political Rights) และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จะให้สิทธิประชาชนคนไทยเข้าถึงข้อมูล เผยแพร่ข้อมูล ได้อย่างมีเสรีภาพ แต่การกระทำนั้นต้องไม่ไปก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจนเกินไปมิฉะนั้นก็เป็นการกระทำผิดกฎหมายได้

และนอกจาก ICCPR และ รัฐธรรมนูญ แล้วประเทศไทยยังมีกฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้กับผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ได้ดังต่อไปนี้

1. ความรับผิดในทางแพ่ง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) สำหรับผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ได้ทำการเจาะระบบเข้าสู่เครื่องผู้อื่นนั้นแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหาย ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องผู้นั้นสามารถเรียกรร้องค่าเสียหายต่อผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้ที่กระทำละเมิดต่อตนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในมาตรา 420 และในบางครั้งผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์นั้นจะมีสิทธิเข้าถึงระบบแต่ถ้าการใช้สิทธิเกินในส่วนที่ตนมีอยู่ก็เป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในมาตรา 421 ได้

2. ความรับผิดในทางอาญา (ประมวลกฎหมายอาญา) สำหรับผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

สำหรับในทางอาญานั้นต้องดูที่ว่าการกรทำความผิดนั้นครบองค์ประกอบหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนมากการกระทำความผิดผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์นั้นมีอายุอยู่ในช่วงใด

1. อายุอยู่ต่ำกว่า 7 ปี ไม่ต้องรับโทษ ตามมาตรา 73
2.อายุมากกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษ ตามมาตรา 74
3.อายุมากกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี มีความผิดแต่ได้รับโทษ กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 75
4.อายุมากกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี มีความผิดแต่ได้รับโทษ สองในสามหรือกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 76
5. อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป รับโทษตามความผิดนั้นๆ

3. ความรับผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550[12] สำหรับผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

1.เป็นการกระทำความผิดที่มีวัตถุประสงค์มุ่งต่อระบบคอมพิวเตอร์

ตามพระราชบัญญัตินี้ความผิดที่มุ่งตรงต่อระบบคอมพิวเตอร์นั้บแบ่งออกดังนี้

* การกระทำความผิดตาม มาตรา 5 คือ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันโดยมิชอบการเข้าถึงนั้นไม่จำกัดว่าเข้าถึงในระดับใดทั้งระดับกายภาพ หรือผู้กระทำผิดดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ได้รหัสผ่านนั้นมาและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้โดยนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายความรวมถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ แม้ตัวบุคคลที่เข้าถึงจะอยู่ห่างโดยระยะทางกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ตนต้องการได้ นอกจากนั้นยังหมายถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ดังนั้นจึงอาจหมายถึง การเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือ9 ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบเพื่อใช้ในการส่งหรือโอนถึงอีกบุคคลหนึ่ง เช่นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่วนวิธีการเข้าถึงนั้นรวมทุกวิธีการไม่ว่าจะเข้าถึงโดยผ่านทางเครือข่ายสาธารณะ และยังหมายถึงการเข้าถึงโดยผ่านระบบเครือข่ายเดียวกันด้วยก็ได้ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงการเข้าถึงโดยการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย (wireless communication) อีกด้วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 6 คือ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไม่ว่าการรู้ถึงมาตรการป้องกันนั้นจะได้มาโดยชอบหรือไม่ก็ตาม และนำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยเป็นที่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 10 คือ การขัดขวางการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.เป็นการกระทำความผิดที่มีวัตถุประสงค์มุ่งต่อข้อมูลของคอมพิวเตอร์
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 7 คือ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีการป้องกันไว้เป็นพิเศษโดยมิชอบ ซึงการเข้าถึง วิธีการเข้าถึง ตลอดถึงชอ่งทางในการเข้าถึงนั้นมีส่วนคล้ายกับความผิดตามมาตรา 5 ดังที่ได้กล่าวไว้ในส่วนต้นแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 8 คือ การดักรับข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรับการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 9 คือ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นนการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมทั้งหมดหรือบ่างส่วนก็ตาม และผู้แก้ไขนั้นไม่มีสิทธิแก้ไข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 11 คือ การส่งข้อมูล หรือ E-mail ให้ผู้อื่น โดยไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูล โดยทำให้ผู้ที่รับข้อมูลนั้นเกิดความรำคาญ หรือรบกวนผู้อืนนั้นเอง การกระทำนี้ในปัจจุบันเราเรียกการกระทำนี้ว่า Spam Mail ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
3.เป็นการกระทำความผิดที่มีวัตถุประสงค์มุ่งต่อบุคคล
*การกระทำความผิดตาม มาตรา 12 คือ เป็นลักษณะกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองผู้ที่ถูกการกรบกวนตาม มาตรา 9 หรือ มาตรา 10 โดยมีลักษณะเป็นการเพิ่มโทษ ถ้าเป็นความเสียหายเกิดขึ้นกับบุคคล จะเพิ่มโทษเป็น โทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท และถ้าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ จะเพิ่มโทษเป็นจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 14 คือ เป็นการนำข้อมูลปลอม หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือข้อมูลที่มีลักษณะเป็นอันลามก เข้าสู่ระบบ แล้วทำให้เกิดความเสียหายความมั่นคงของประเทศหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* การกระทำความผิดตาม มาตรา 16 คือ การนำภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น เข้าสู่รระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นการนำเข้าโดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด และความผิดตามมาตรานี้ยอมความได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. DDoS (Distributed Denial of Service)
  2. Wisegeek,In Computer Networking What Is DMZ?
  3. GFI LANguard Network Security Scanner
  4. คำแนะนำ GFI LANguard Network Security Scanner
  5. [1]
  6. [2]
  7. [3],กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ฉบับภาษาอังกฤษ)
  8. [4] ,กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ฉบับแปลภาษาไทย)
  9. Computer Misuse Act 1990,พระราชบัญญัติว่าด้วยการแกะหรือถอดคอมพิวเตอร์ของประเทศอังกฤษ (ฉบับภาษาอังกฤษ)
  10. 1990 Computer Misuse Act compliance guidance
  11. Data Protection Act 1998,พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลของประเทศอังกฤษ (ฉบับภาษาอังกฤษ)
  12. [5],พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
  • จตุชัย แพงจันทร์, Master in Security, (นนทบุรี: อินโฟเพรส, 2550), หน้า 71 ถึง หน้า 111

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]