ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Yodnam saesin

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
       เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงที่พบอยู่ในปัจจุบันมีทั้ง AM และ FM   โดยเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงจะประกอบด้วย  ภาครับ  AM (บางครั้งเรียก medium  wave หรือในย่านความถี่  MW)  ภาครับ  FM (ย่านความถี่ VHF) และภาครับคลื่นสั้น (short wave  หรือ SW  ในย่านความถี่  HF) การรับสัญญาณ  MW หรือ SW  เราสามารถรับรายการกระจายเสียงจากสถานีที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ห่างไกล  เช่น  การรับฟังสถานีต่างประเทศได้แต่คุณภาพเสียงที่ได้จะได้ไม่ดีนัก  อาจจะมีการรบกวนแทรกอยู่บ้าง  สำหรับการรับสัญญาณ  FM  รับได้เฉพาะสถานีที่อยู่ได้ใกล้ๆและมีคุณภาพเสียงดี (เรียกว่าไฮไฟ)
          

เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง

         เครื่องรับวิทยุส่วนใหญ่จะเป็นแบบกรรมวิธีซูเปอร์เอดเทอโรดายน์     สัญญาณที่ได้รับจากสายอากาศจะป้อนเข้าสู่วงจรของ  RF  เพื่อทำการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นซึ่งมีผลให้ความไวในการรับสัญญาณดีขึ้น   วงจรขยาย RF ที่ดีควรมีนอยส์ต่ำละสามารถตัดสัญญาณเงาได้   วงจรถัดไป  คือ  มิกเซอร์  ทำหน้าที่ผสมสัญญาณจากวงจรขยาย  RF  กับสัญญาณจากจงจร โลคอลออสซิสเลเตอร์   จงจรมิกเซอร์นี้ออกแบบให้ทำงานในในช่วงที่ไม่มีลิเนียร์ทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นสัญญาณความถี่ผลต่างกับสัญญาณความถี่ผลรวมตัดทิ้งไป  ความถี่ผลต่างจะมีค่าความถี่เท่ากับความถี่  IF  ที่ป้อนเข้าสู่วงจรขยาย  IF  นี้เอง ที่ไปขยายวงจรจูเนอร์ที่มีความถี่ตายตัวไม่ว่าเราจะจูนวงจรขาย  RF   เพื่อรับสัญญาณความถี่ใดก็ตาม   สัญญาณโลคอลออสซิสเลเตอร์   ที่เข้าไปบีตหรือผสมในวงจร มิกเซอร์จะต้องมีค่าพอดีและให้ผลลัพธ์มีค่าออกมาตายตัวซึ่งจะเท่ากับความถี่  IF  เสมอ  เนื่องจากวงจรขยาย IF  ที่ทำงานความถี่คงที่ฉะนั้นจึงเป็นการง่ายที่เราจะออกแบบให้มีคุณสมบัติที่เราต้องการใช้   โดยปกติจงจรขยาย  IF  มักออกแบบให้มีอัตราขยายสูง  และควบคุมให้แบนด์วิดมีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงตามการจูนรับสัญญาณ   คุณสมบัตินี้เป็นข้อดีของขบวนการซูเปอร์เอดเทอโรดายน์     
          สัญญาณเอาต์พุตที่ออกมาจากวงจรขยาย   IF  จะเหมือนกับสัญญาณที่รับได้ของวงจรขยาย RF  เว้นแต่ความถี่จะลดลงจากความที่ RF เป็นตวามที่  IF   ในกรณที่เครื่องรับเป็น AM  สัญญาณที่รับได้ของวงจรขยาย  RF   จะเป็นสัญญาณ  AM  ฉะนั้นสัญญาณเอาพุตจากวงจรขยาย  IF  ก็ย่อมเป็นสัญญาณ  AM  ฉะนั้นสัญญาณเอาพุตของวงจรขยาย  IF ย่อมเป็นสัญญาณ  AM 
แต่ถ้ากรณีเครื่องรับ  FM   สัญญาณที่รับได้ที่วงจรขยาย  RF  จะเป็น  FM  ฉะนั้นสัญญาณเอาต์พุตจากวงจรขยาย  IF  ก็ย่อมเป็นสัญญาณ FM  เหมือนกัน
         หลังจากวงจรขยาย  IF  แล้ว  สัญญาณ  AM และ FM ที่มีความถี่  IF   ที่มีความถี่ IF  จะถูกนำไปดีมอด(การแยกสัญญาณเสียงที่มอดูเลตบนคลื่นพาหะกลับคืนมา) เพื่อคืนสัญญาณเสียงที่เข้ามอดูเลต  (สัญญาณเสียงที่เข้าไปมอดูแลบนคลื่นพาหะ)กลับมาดังเดิม สัญญาณเสียงจะถูกขยายให้มีความดังมากขึ้นออกสู่ลำโพงต่อไป    

ในกรณีที่เป็นสัญญาณ AM การดีมอดก็ต้องใช้ดีมอด AM และถ้าเป็นสัญญาณFM การดีมอดก็ต้องใช้ดีมอดFM

เครื่องรับ FM

     แผนผังของเครื่องรับ FM  มีความคล้ายคลึงกับเครื่องรับ  AM  มาก  จะแตกต่างกันเฉพาะขบวนการเท่านั้นดีเทกเท่านั้น  สำหรับถวามถี่ IF  มักจะใช้ 10.7 เมกะเฮิรตซ์  เพื่อกำจัดสัญญาณเงาและเพื่อให้แบนวิดท์ของเครื่องรับสัญญาณ  FM   ความเบี่ยงเบนของสัญญาณ FM   ที่ส่งมามีค่า 75 กิโลเฮิรตซ์   ดังนั้น

เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง

           เครื่องส่งวิทยุกระเสียงส่วนใหญ่จะต้องมีการส่งกำลังสูง  เพราะต้องการให้กระจายคลื่นไปได้ไกลๆ   ดังนั้นภาคขยายกำลังใช้หลอดสุญญากาศ หรือบางเครื่องก็ใช้ทรานซิสเตอร์  ในกรณีที่กำลังส่งไม่ถึง  1000 วัตน์  จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดีเพราะกำลังที่สูญเสียย่อมเป็นความร้อนในตัวเครื่อง  นอกจากนี้ไฟเลียงวงจรหลอดจะตั้งมีค่าสูงรวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้  เช่น  ตัวเก็บประจุ  ตัวเหนี่ยวนำ  และตัวต้านทานจะต้องทนแรงดันได้หลายพันโวลต์  มิฉะนั้นจะเกิดการสปาร์ก (sprak) ขดลวดเหนี่ยวนำจะต้องพันรอบให้ห่างๆกันเพื่อไม่ให้เกิดการสปาร์กขดลวดที่อยู่ชิดกัน

พลังงานความร้อนในหลอดสุญญากาศต้องระบายความร้อนออกไปโดยใช้ พัดลมเป่า(forced air cooling) หรือบางเครื่องส่งใช้วิธีระบายความร้อนด้วยน้ำ ภาคแหล่งจ่ายไฟ 3 เฟส จะมีระบบป้องกันอัตโนมัติต่างๆ เช่นการป้องกันโอเวอร์โหลดของไฟของ AC หรือ DC ระบบอินเตอร์ล็อก (interlock) เครื่องส่งได้รับการออกแบบให้แยกส่วนเป็นภาคๆหรือเป็นโมดูลๆ (modular) หรือใช้วิธีปลั๊กอิน(plug in) เพื่อนำมาซ่อมตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังมีมิเตอร์เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบได้ เอาพุตจากภาคขยายสุดท้ายจะต้องผ่านฮานามอนิกฟิลเตอร์เพื่อกรองฮาร์มอนิกทิ้งไปและต้องมีสายอากาศดัมมี่(dummy antenna) ซึ่งโหลดสำรอง(แทนสายอากาศจริง) เพื่อป้องกันคลื่นแปลกปลอมออกอากาศ เครื่องส่ง AM

           เครื่องส่ง AM ชนิดมอดูเลตที่รับสัญญาณขนาดใหญ่ๆ  ทั้งสัญญาณพาหะและสัญญาณเสียงจะต้องขยายกำลังให้สูงมากพอที่จะที่จะขับวงจรมอดูเลเตอร์ AM  (ซึ่งเป็นวงจรขยายกำลังในตัว) สเถียรภาพของเครื่องส่งขึ้นอยู่กับวงจรคริสตอลออสซิลเลเตอร์

เครื่องส่ง FM

        เครื่องส่งFM ใช้สัญญาณเสียงผ่านการขยายแล้วป้อนสู่มอดูเลเตอร์   ซึ่งวงจรมอดูเลเตอร์จะทำการเปลี่ยนความถี่ของออสซิสเลเตอร์  โดยมีช่วงความถี่เบี่ยงเบนและอัตราการเบี่ยงเบนขึ้นอยู่กับแอพพลิจูดและความถี่เสียงสัญญาณตามลำดับ  พาหะ FM ที่ถูกมอดูเลตแล้วถูกขยายโดยภาคขยายกำลังสุดท้ายป้อนสู่สายอากาศเพื่อส่งออกอากาศ  เครื่องส่งกระจายเสียง FM  มีความถี่ยู่ระหว่าง  88 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์
  

หลักการทำงานเครื่องรับส่งวิทยุและระบบวิทยุสื่อสาร สุชาติ กังวารจิตต์