ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Wuttinan2539/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดหัวลำโพง
เลขที่๗๒๘ ถนนพระราม๔ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๐๐

ประวัติวัดหัวลำโพง[แก้]

วัดหัวลำโพงสร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เดิมชื่อวัดหัวลำพองในปีพุทธศักราช๒๓๑๐กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม จนในที่สุดได้เสียกรุงทำให้ประชาชนเสียขวัญ และได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัวลงมา ทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณหมู่บ้านทุ่งวัวลำพอง ต่อมาได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดวัวลำพอง ปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนา ประเทศในระบบใหม่ พระองค์ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือ จากสถานีกรุงเทพฯ ขึ้นไปบริเวณนอกเมืองใกล้กับคูเมืองชั้นนอกคือคลองผดุงกรุงเกษม พระราชทานนามว่า สถานีหัวลำโพง ซึ่งอยู่ ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ ๒ กิโลเมตร ครั้นถึงฤดูทอดพระกฐิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐินวันเดียวกันถึง ๓ วัด ตามลำดับ ดังนี้ คือ วัดสามจีน (วัดไตรมิตร วิทยาราม) วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) และวัดวัวลำพอง (วัดหัวลำโพง) ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน โปรดพระราชทานนามใหม่ว่า วัดหัวลำโพง และ โปรดพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เจ้าอาวาสคือ พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาธุระที่มีชื่อเสียง เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูญาณมุนี นับแต่นั้นมาด้วยเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์ไทยอันมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงวางรากฐานความเป็นมิ่งมงคล และทรงประกอบคุณงามความดีตามหลักพรหมวิหารให้เป็นที่ ประจักษ์แก่คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกา จึงได้ร่วมกันทำนุบำรุงพระบวรพระพุทธศาสนา สร้างถาวรวัตถุ ให้เจริญยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ท่าน วัดหัวลำโพงอันเป็นพระนามพระราชทาน เป็นนามมิ่งมงคลก็ประสบความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๔๕


สถานะและที่ตั้ง

วัดหัวลำโพง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๓๘ ถนนพระราม ๔ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๒ งาน ๔ ตารางวา


สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยจตุรมุข ๓ ชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้อง เคลือบสี ตรงกลางมียอดมณฑป ประกอบด้วยฉัตรฐาน มณฑปมีครุฑทรงสุบรรณทั้ง ๔ ด้าน ประดับช่อฟ้า ใบระกา เป็นพญานาคสามเศียร หน้าบันมีลายประดิษฐานตรา สัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เหนือครุฑ ทั้ง ๔ ด้าน ประตูและหน้าต่างมีซุ้มยอดมณฑปครึ่งซีกติดลาย ปูนปั้นลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี บานประตูและหน้าต่าง ด้านในและด้านนอกประดับมุกลวดลาย มีจิตรกรรมฝาผนัง ๔ ด้าน รอบพระอุโบสถ ด้านนอก มีเชิงชาย หลังคาประดับลวดลาย มีทวยเทพพนม และ หัวเสาปูนลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ระเบียงด้านนอกพระอุโบสถ มีทางเดินปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต

พระประธาน

ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามว่า พระพุทธมงคล ลงรักปิดทอง เหนือพระเกศ ประกอบด้วย ฉัตรโคมไฟ ๗ ชั้น ประทับอยู่บน ฐานชุกชี ๒ ชั้น ชั้นแรกเป็น ฐานหินอ่อน ชั้นบนเป็นฐานปูนปั้น ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี บนฐานชั้นแรกเป็นที่ประดิษฐาน พระอัครสาวกสององค์บนฐาน หินอ่อนแกะบัวหงาย เบื้องซ้าย พระโมคคัลลานะ เบื้องขวาพระ สารีบุตร ใต้ฐานชุกชีบรรจุ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ พระผง พุทธคุณ เหรียญพระคณาจารย์ ต่าง ๆ

พระวิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทย สูง ๒๑ ชั้น พื้นและฝาผนังปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต ชั้นบน เป็นตัวพระวิหาร ชั้นล่างเป็นอาคารอเนกประสงค์ พระเจดีย์

ลักษณะ		

ทรงกลม สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อยู่หลังพระอุโบสถ มีบันไดขึ้นชั้น ทำประทักษิณ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ ด้วยการสร้างครอบองค์เดิม สร้างเป็นห้องโถงสี่เหลี่ยม พื้นและฝาผนังปูด้วยหินอ่อน และหินแกรนิต มีพระเจดีย์ ทรงกลม ประดิษฐานบนห้องโถง สี่เหลี่ยมทอง มีแนวระเบียง เดียวกันกับพระอุโบสถ

หลวงพ่อดำ	 ปางประทับยืน	ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้าง			

เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อสัมฤทธิ์ ลงรักปิดทอง ระเบียงแก้ว เป็น กำแพงหินอ่อนโปร่ง ประดับหัว เสาเป็นหัวเม็ดทรงมณฑปหินอ่อน ตั้งเป็นแนวระเบียงรอบพระ อุโบสถ มีซุ้มทรงไทย ๓ ซุ้ม แขวนระฆังไว้จำนวน ๑๐๘ รูป

ปัจจุบัน พระเทพวิริยาภรณ์(นรินทร์ นรินฺโท) เป็นเจ้าอาวาส