ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Wotapot/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ประจำหน่วย

ประวัติหน่วย ร.13 พัน.2


กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 13[แก้]

ได้เริ่มตั้งขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อรัตนโกสินทร์ศกที่ 130 หรือราว พ.ศ.2454 มีนามหน่วยว่ากรมทหารราบที่ 10 มณฑลอิสาน โดยมี พ.ท.หลวงจงพยุหะ เป็นผู้บังคับหน่วยท่านแรก

- ปี พ.ศ.2470 ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 กองทัพน้อยที่ 2

- ปี พ.ศ.2475 ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันทหารราบที่ 7

- ปี พ.ศ.2477 ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันทหารราบที่ 21 โดยมี พ.ต.หลวง ห้าวหาญพล เป็นผู้บังคับหน่วย

- ในวันที่ 13 เม.ย. พ.ศ. 2489 ได้เคลื่อนย้ายกำลังมาเข้าที่ตั้งปกติ ณ ตำบลหนองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

- ปี พ.ศ.2498 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันทหารราบที่ 2

- ปี พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานนามค่าย ตามประกาศกองทัพบก เรื่องพระราชทานนามค่ายทหาร ลง 22 ส.ค. 2544 ว่า “ค่ายเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์”

เกียรติประวัติหน่วย[แก้]

การรบในสงครามไทย กับอินโดจีน ฝรั่งเศส ระหว่าง พ.ศ.2483 - 2484 กำลังพลทุกนายของหน่วย ร.พัน.21 (ร.13 พัน.2 ในปัจจุบัน) โดยการนำของ พ.ต.มล.เวก อิศรางกูร ณ อยุทธยา เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น ได้เข้าทำการรบด้วยการยอมเสียสละชีวิต อย่างใหญ่หลวงด้วยความกล้าหาญอย่างยอดเยี่ยม อย่างโชคโชน ถึงขั้น บพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญกล้าหาญประดับธงชัยเฉลิมพล ณ ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหน่วยเดียวในกองทัพอิสานของการรบครั้งนี้ โดยมี พล.ต.แปลก พิบูลย์สงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีฯ (หลักฐาน รกจ. เล่มที่ 58 หน้า 913 ลง 29 เม.ย. 2484)

การแสดงทางทหารประกอบดนตรี (Hop to the bodies slams) เมื่อ 11 พ.ย. 60 ร.13 และ หน่วยรอง ร.13 ทำการแสดงการฝึกทางทหารประกอบดนตรี (Hop to the bodies slams) ต่อหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ณ ลานแสดงของ ร.1 รอ.

กองทหารเกียรติยศ เมื่อ 10 พ.ย. ๖๓ หน่วยจัดกองทหารเกียรติยศ 1 กองร้อย ปฏิบัติภารกิจกองทหารเกียรติยศรับ - ส่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จในวโรกาสทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี อ.เมือง จว.อ.ด. ณ บน.23

วีรกรรมหรือการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วยและกำลังพล[แก้]

สงครามอินโดจีน – ฝรั่งเศส ปี พ.ศ.2483 ร.พัน.21 ได้ป้องกันการคุกคามและการรุกล้ำชายแดนของกองทหารฝรั่งเศส ที่ ช่องนาง อ.เดชอุดม และช่องเม็ก อ.พิบูลย์มังสาหาร ซึ่งในการรบครั้งนั้น ฝ่ายเราเสียเปรียบทหารฝรั่งเศส ในด้านความทันสมัยของอาวุธเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเสียสละเพื่อแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง ร.พัน 21 เข้าตีกองทหารฝรั่งเศสกว่าหนึ่งกองร้อย บริเวณบ้านดู่ ซึ่งได้ทำการดัดแปลงภูมิประเทศที่มั่นตั้งรับไว้อย่างมั่นคง การรบดำเนินไปจนถึงขั้นตะลุมบอน จนสามารถนำกำลังเข้าตีนครจำปาสักไว้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยมี พ.ต.มล.เวก อิสรางกุล ณ อยุธยา เป็น ผบ.หน่วย ขณะนั้น จากวีรกรรมดังกล่าว ในเดือน พ.ค.2484 หน่วยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทาน เหรียญกล้าหาญ ประดับธงชัยเฉลิมพล ณ ห้องสมุดศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม นับเป็น หน่วยเดียวของกองทัพอีสานในการรบครั้งนั้น

สงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ.2485 กองพันทหารราบที่ 21 ได้ปฏิบัติราชการทางด้านสหรัฐไทยเดิม ภายใต้การนำของ พ.ต.ยง ศรีดารานนท์ โดยนำกำลังเข้าตีข้าศึกที่ บ.ปางก้อ และดอยเขากิ่วชาย จึงถอนตัวกลับ ปี พ.ศ.2486 ได้เคลื่อนย้ายกำลังพล เข้าทำการรบอีก โดยได้ยึดเมืองป๊อก เมืองแผน และ ดอยจิกจ้องทำการ รักษา อยู่ตลอดปี พ.ศ.2487 จึงถอนตัวกลับประเทศไทย และนำกำลังไปทำหน้าที่เฝ้าทรัพย์สิน พระมหากษัตริย์ ใน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์

การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ปี พ.ศ. 2511 หน่วยปฏิบัติราชการสนามปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และพื้นที่ อ.นาแก จ.นครพนม โดยมี พ.ท.ไพศาล คำสุพรหม เป็น ผบ.หน่วยในขณะนั้น

ยุทธการภูขี้เถ้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ปี พ.ศ. 2512 ได้รับภารกิจให้เปลี่ยนกำลัง กับ ผส.6 ทภ.2 สน. ณ บ้านป่าหวาย อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยมี พ.ท.ไพศาล คำสุพรหม เป็นผู้บังคับหน่วยในขณะนั้น

สถานการณ์ค่อนข้างจะร้ายแรง แต่เหตุการณ์ที่กำลังพลทุกคน จะไม่มีวันลืม คือ พระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จไปเยี่ยม ถึงฐานปฏิบัติการท่ามกลางสายฝน พระองค์ก็มิได้ทรงย่อท้อ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน รอบ ๆ ฐานปฏิบัติการ เป็นขวัญและกำลังใจแก่กำลังพลทุกนาย

สมรภูมิบ้านนา ปี พ.ศ. 2513 - 2514 ได้ไปปฏิบัติราชการพิเศษในประเทศที่ 3 (ลาว) ในนาม บีไอ - 15 โดยมี พ.ท.ไพศาล คำสุพรหม เป็นผู้บังคับหน่วยในขณะนั้น

สมรภูมิภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก ปี พ.ศ.2515 ได้ทำการฝึกร่วมและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ร่วมกับ กองอำนวยการฝึกร่วม 15 และ กองทัพภาคที่ 3 ขึ้นเขา ภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ผลการปฏิบัติงานสำเร็จสมความมุ่งหมายของผู้บังคับบัญชา จนได้รับคำชมเชยจากกองทัพบก โดยมี พ.ต.สนอง สุทธา เป็น ผบ.หน่วยในขณะนั้น

การปราบปราม ผกค. ในเขต อ.สุวรรณคูหา - ปี พ.ศ.2516 จัดกำลังออกปราบปราม ผกค. ในพื้นที่ อ.นากลาง, น้ำโสม สามารถจับ นายยศ เทพบุรี หน.ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ ได้ที่ภูซางใหญ่ ได้รับคำชมเชยจากกองทัพบก โดยมี พ.ต.สนอง สุทธา เป็น ผบ.หน่วยในขณะนั้น

- ปี พ.ศ.2520 จัดกำลังออกไปปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่ อ.น้ำโสม และ อ.สุวรรณคูหา จ.อุดรธานี โดยมี พ.ท.สมพันธ์ บุญสังวาล เป็นผู้บังคับหน่วยในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2521 จัดกำลังเป็นกองร้อยหนุนของ กองทัพภาคที่ 2 ปราบปราม ผกค. ที่ จ.สกลนคร

- ปี พ.ศ.2522 จัดกำลังออกปราบปราม ผกค. ที่ อ.น้ำโสม, กิ่ง อ.สุวรรณคูหา ได้รับโล่รางวัลหน่วยปฏิบัติงานดีเด่นจาก ทภ.๒ สน.

การป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – สปป.ลาว ปี พ.ศ.2524 จัดกำลังสมทบกับ ศูนย์เฝ้าตรวจชายแดนที่ 202 ณ บ้านศรีวิไล ต.ชมภูพร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย และได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง สปป.ลาวกับประเทศไทย จึงได้นำกำลังทหาร, ตำรวจ, อส., ทสปช. เข้าทำการสกัดกั้น จนสามารถคลี่คลายปัญหาระหว่างประเทศได้ โดยมี พ.ท.สุเทพ สิงหบุตร เป็น ผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

การปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดน - ปี พ.ศ. 2529 จัดกำลัง 2 ร้อย.ร. สมทบ ร.13 พัน.3 ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย - กัมพูชา บริเวณ เนิน 538 อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ โดยมี พ.ท.บัณฑิต เกิดมณี เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2544 จัดกำลัง 1 ร้อย.ร. สมทบ ร.13 พัน.3 ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดน บริเวณ อ.อุ้งผาง จ.ตาก โดยมี พ.ท.ชาญชัย เอมอ่อน เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

การปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ - ปี พ.ศ. 2547 จัดกำลัง 1 พัน.ร. ปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบในพื้นที่ 3 จชต. พื้นที่ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส โดยมี พ.ท.ชาญชัย เอมอ่อน เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2549 จัดกำลัง 1 ร้อย.ร. สมทบ ร.13 พัน.3 ปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบในพื้นที่ 3 จชต. พื้นที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยมี พ.ท.วิชัย มารศรี เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2551 จัดกำลัง 1 ร้อย.ร. สมทบ ร.๑๓ พัน.๓ ปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบในพื้นที่ 3 จชต. พื้นที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยมี พ.ท.ชาคริต สนิทพ่วง เป็นผู้บังคับกองพัน ในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2551 จัดกำลัง 1 พัน.ร. ปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบในพื้นที่ 3 จชต. พื้นที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมี พ.ท.ชาคริต สนิทพ่วง เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

การปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา - ปี พ.ศ. 2553 - 2554 จัดกำลัง 2 ร้อย.ร. สมทบ ร.13 พัน.3 ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย - กัมพูชา พื้นที่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยมี พ.ท.ชาคริต สนิทพ่วง เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2555 จัดกำลัง 1 พัน.ร. ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย - กัมพูชา พื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมี พ.ท.ชาติชาย ศรีสุราช เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2556 จัดกำลัง 1 ร้อย.ร. สมทบ ร.13 พัน.1 ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย - กัมพูชา พื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมี พ.ท.สุภัทร ชูตินันทน์ เป็นผู้บังคับกองพัน ในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2556 จัดกำลัง 1 ร้อย.ร. สมทบ ร.13 พัน.1 ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย - กัมพูชา พื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมี พ.ท.สุภัทร ชูตินันทน์ เป็นผู้บังคับกองพัน ในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2559 จัดกำลัง 1 ร้อย.ร. สมทบ ร.13 พัน.1 ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย - กัมพูชา พื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมี พ.ท.เรวัฒ ธรรมจิรเดช เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น

- ปี พ.ศ. 2563 จัดกำลัง 1 พัน.ร. ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย - กัมพูชา พื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมี พ.ท.อินทราวุธ ทองคำ เป็นผู้บังคับกองพัน