ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Weera8452

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                                        วัดแก้วฟ้า ป่าแก้ว ยุคอยุธยา

เรื่องวัดป่าแก้วในกรุงเก่าเป็นที่ฉงนสนเท่ห์มาก ความคิดเพิ่งมาปรากฏแก่ข้าพเจ้าเมื่อเห็นหนังสือเก่าๆ เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองพัทลุง ในหนังสือเหล่านั้นใช้คำ คณะป่าแก้วติดข้างท้ายชื่อวัด ทุกแห่ง ดังว่าวัดเขียน-คณะป่าแก้ว วัดจะทิง-คณะป่าแก้ว ดังนี้เป็นต้น ต้องกันกับชื่อวัดที่เคยเห็นในหนังสือพงศาวดารเหนือ ที่เรียกวัดทางเมืองสุโขทัยวัด ๑ ว่า วัดไตรภูมิ คณะป่าแก้ว ข้าพเจ้านึกว่าวัดป่าแก้วในกรุงเก่าบางทีจะมีชื่ออื่น และเรียกคำป่าแก้ว เข้าข้างท้ายอย่างเมืองสุโขทัยและเมืองนครศรีธรรมราช ชาวอยุธยาเก่า เรียกวัดแก้วฟ้า ว่า วัดแก้วฟ้า คณะป่าแก้ว หรือวัดแก้วฟ้า - ป่าแก้ว มีข้อควรสังเกตอยู่อย่างน้อย ๒ ประการ กล่าวคือประการแรกนั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงฯจะต้องทรงทราบดีอยู่ว่า วัดแก้วฟ้าซึ่งตั้งอยู่ใกล้คลองคูจาม (หลังวัดพุทไธศวรรย์) คือสถานที่ปลง พระศพของ เจ้าแก้ว เจ้าไทย ซึ่งพระเจ้าอู่ทองโปรดฯให้ขุดขึ้นมาปลง พระศพตามประเพณี เมื่อปี พ.ศ. ๑๐๙๖ (จ.ศ.๗๒๕) และโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ ในเมื่อเจ้าแก้ว เจ้าไทย ได้รับพระราชทานเพลิง พระศพ ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดแก้วฟ้า ก็ย่อมหมายความว่าหลังสิ้นพระชนม์ด้วยอหิวาตกโรค จะต้องมีการฝัง พระศพเอาไว้ในละแวกใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงน่าจะถือเป็นข้อสรุปได้ว่า ที่บางตำราระบุเรื่องปลง พระศพที่บริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดใหญ่ฯในปัจจุบันนั้น อาจเป็นข้อสันนิษฐานที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงกระมัง และหากจะว่าไปประเด็นดังกล่าวนี้ ก็มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านทีเดียวที่เชื่อว่า วัดแก้วฟ้าคือสถานที่ปลง พระศพเจ้าแก้ว เจ้าไทย หนึ่งในหลายท่านที่ว่านั้นมี อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ หรือ น. ณ ปากน้ำ นักเขียนสารคดีเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมชื่อดังรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญอาจารย์ท่านนี้ยังอุตส่าห์บุกป่าฝ่าทุ่งเข้าไปจนถึงวัดแก้วฟ้านี้ ดังมีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” ตอนหนึ่งว่า “สภาพวัดแก้วฟ้าที่เห็นเป็นเพียงโบราณสถานโทรมๆ ระเกะระกะไปด้วยอิฐสุมเป็นโคกสูง มีฐานเจดีย์ขนาดใหญ่และพระประธานปูนปั้น ซึ่งถูกทะลุทะลวงแทบจะหมดองค์ ผนังอุโบสถไม่มี พบเสาแปดเหลี่ยม บัวหัวเสาเป็นบัวกลุ่มแบบเดียวกับ วัดพุทไธศวรรย์ อิฐที่เจดีย์มีขนาด ๓๒ คูณ ๑๕ คูณ ๕ เซนติเมตร ฐานเจดีย์ก่อด้วยศิลาแลง พบเศษพระพุทธรูปหินทรายขาวเกลื่อนไปทั่วอุโบสถ และพระพุทธรูปหินทรายแงแบบชายสังฆาฏิตัดหลายองค์ด้วยกัน เข้าใจว่าคงเป็นแบบพระอู่ทองรุ่นหลัง ลายปูนปั้นรูปบัว เป็นแบบรุ่นแรก ที่นี่ต้องเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เท่าที่มีผู้สันนิษฐานหลายคน เช่น คุณนิคม มุสิกะคามะ (อดีตหัวหน้าโครงการประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และรองอธิบดีกรมศิลปากร) และอาจารย์อั้น (พระครูศีลกิตติคุณ) วัดพระญาติการาม ตลอดจนท่านผู้รู้อื่นๆ ต่างมั่นใจว่าวัดแก้วฟ้านี้ แท้จริงคือวัดป่าแก้ว อันกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารนั่นเอง เหตุผลที่สันนิษฐานก็คือ วัดนี้อยู่ลึกเข้าไปในป่าหลัง วัดพุทไธศวรรย์ พระตำหนักเวียงเล็กเดิมของพระเจ้าอู่ทอง มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า ศักราช ๗๒๕ ปีเถาะ เบญจศก ทรงพระกรุณาตรัสว่า เจ้าแก้ว เจ้าไทย ออกอหิวาตกโรคตาย ให้ขุดขึ้นเผาเสีย ที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาเจดีย์และวิหารเป็นพระอาราม แล้วให้นามชื่อว่าวัดป่าแก้ว (วัดแก้วฟ้า) หรือ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว พิจารณาด้วยเหตุผลว่า เจ้าแก้ว เจ้าไทย สิ้นพระชนม์ด้วยอหิวาตกโรคในวัง ก็ควรจะนำไปฝังไว้ท้ายวัง คือป่าหลัง วัดพุทไธสวรรย์นั้น ต่อเมื่อขุดศพขึ้นเผาในบริเวณใกล้เคียงกับที่ฝัง จึงได้สถาปนา วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วขึ้นตรงนั้น เหตุนี้วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วจึงควรอยู่ในตำแหน่งวัดแก้วฟ้าปัจจุบันนี้ ส่วนวัดป่าแก้วที่รู้จักกันคือวัดใหญ่ชัยมงคล (วัดพญาไท) ดูจะขาดเหตุผล เพราะอยู่ไกล คงไม่มีใครหามศพข้ามแม่น้ำตรงแหลมบางกะจะ ทั้งยังต้องข้ามคลองเล็กอีก ๒-๓ คลองไปฝังและเผาที่วัดพญาไทเป็นแน่ อีกประการ วัดใหญ่ชัยมงคลก็มีชื่อวัดเก่าแก่อยู่แล้ว เรียกกันว่า วัดพญาไท อันวัดแก้วฟ้านี้ สำเนียงดูจะใกล้เคียงกับวัดป่าแก้วอยู่ เนื่องจากรกร้างมานาน ๒๐๐ปีชื่อเสียงจึงเลือนๆ ไป ได้ตรวจดูอาณาบริเวณแล้วเห็นว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบมีป่าไผ่ล้อมรอบ ทั้งยังมีลำคูกว้างขวาง มีสระใหญ่ทางทิศใต้ ห่างไกลจากหมู่บ้านคนสมกับเป็นที่เปลี่ยว น่าจะเป็นที่ตั้งของวัดฝ่ายอรัญวาสีมากกว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางรอบ ทั้งยังมีลำคูกว้างขวาง มีสระใหญ่ทางทิศใต้ ห่างไกลจากหมู่บ้านคนสมกับเป็นที่เปลี่ยว น่าจะเป็นที่ตั้งของวัดฝ่ายอรัญวาสีมากกว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชน ทั้งยังวัดใหญ่น้อยล้อมรอบมากมาย โบราณสถานอายุก็เก่าแก่ถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง น่าเชื่อว่าจะเป็นวัดป่าแก้วจริงๆ และการที่ พระเฑียรราชามาเสี่ยงเทียนอธิษฐานแข่งบุญบารมีกับขุนวรวงศาธิราชที่นี่ดูจะลี้ลับกว่าวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นไหนๆ ประวัติวัดกษัตราธิราช กล่าวว่ารูปหล่อพระพนรัต หล่อด้วยโลหะสำริด (ปิดทองภายหลัง) ถอดได้ครึ่งองค์ประดิษฐานอยู่ในวิหารบูรพาจารย์ รูปหล่อสมเด็จพระพนรัต องค์นี้ เดิมสถิต ณ วัดป่าแก้ว โบราณเรียกว่า วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์ หมู่บ้านดงตาล ตำบลสำเภาล่ม อ.เมือง ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อแก่ (หลวงปู่เฒ่า) ต่างเคารพและนับถือกันว่า ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าปีใดฝนแล้ง ก็อาราธนาออกแห่แหน ฝนก็มักตกตามประสงค์ ประวัติพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) กล่าวว่า ท่านไปขึ้นทำวัตรกรรมฐาน ที่วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว วัดนี้อยู่ตรงข้ามกับวัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ฉะนั้นจึงวินิจฉัยได้ว่า วัดแก้วฟ้า คือวัดป่าแก้ว

(จากหนังสือลานโพธิ์ และ ห้าเดือน กลางซากอิฐปูน ที่อยุธยา น. ณ ปากน้ำ หน้า377-378 และประวัติวัดกษัตราธิราช)

วัดฝ่ายอรัญวาสี วัดฝ่ายอรัญวาสี ตั้งแต่ทางใต้ ของวัดพุทไธศวรรย์ ลงไปจนถึง วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว แถบริมคลองปะจาม หรือคลองคูจาม วัดจะเรียงรายอยู่ริมฝังตะวันตก และฝั่งตะวันออก ของคลองคูจามเช่น วัดท่าหอย วัดพระยากง วัดพระยาพาน วัดเตว็ด วัดตะมะ วัดบันไดนาค วัดสังกระจาย วัดยี่คำ วัดกุฏี วัดโคกแร้ง วัดชีธัมโม วัดท่าสัก วัดโคกสูง วัดคลองสวนพลู วัดเขียน วัดทอง วัดตำหนัก วัดท่าราบ วัดกะเต่อ วัดไผ่ล้อมเล็ก วัดสระสี่เหลี่ยม วัดนาค ล้วนเป็น วัดฝ่ายคณะอรัญวาสี (วัดป่า) ทั้งสิ้น วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นคณะอรัญวาสีใหญ่ วัดนอกนั้นเป็นวัดบริวาร ของวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว วัดคามวาสี ก็ต้องมาขึ้นกรรมฐานที่ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เหมือนกัน



การขึ้นพระกัมมัฏฐาน ใน วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ขึ้นทำวัตรกัมมัฏฐาน ทุกวันพฤหัสบดี ข้างขึ้น-ขึ้นพระกัมมัฏฐาน ที่พระวิหารหลวง วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว เมื่อมาขึ้นพระกัมมัฏฐาน นั้น ต้องเตรียม ข้าวตอก ๕ กระทง ดอกไม้ ๕ สี ๕ กระทง ธูป ๕ ดอก เทียนขี้ผึ้ง ๕ เล่ม ใส่รวมในถาดเดียวกัน เรียกว่าขันธ์ ๕ สวดมนต์ทำวัตรขึ้นกัมมัฏฐาน มีเทศขึ้นธรรมด้วยทุกครั้ง ถ้าเข้าพรรษาแล้ว จะขึ้นในวันพฤหัสบดีแรก ข้างขึ้น ขอ วันเข้าพรรษา วัดราชสิทธาราม ได้ทำตามแบบ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว มาจนทุกวันนี้ พระภิกษุ จะขึ้นกัมมัฏฐานที่โบสถ์ อุทกเสมา เจ้านาย เชื่อพระวงศ์ ขึ้นกัมมัฏฐานที่ พระวิหารหลวง

รูปถาด ขันธ์ ๕ ขึ้นกัมมัฏฐานโบราณ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

คัมภีร์ปริยายขึ้นธรรม พระคัมภีร์นี้เป็นของสมเด็จสุก ไก่เถื่อน เป็นของ ยุคอยุธยา ใช้เทศน์ขึ้นธรรมเดิม เป็นของ วัดแก้วฟ้า- ป่าแก้ว อายุ ๔๐๐ ปีพระพนรัตใช้เทศน์ขึ้นกัมมัฏฐาน เมื่อมีพระสงฆ์ไปขึ้นพระกัมมัฏฐานฐาน สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)ได้รับมาจาก ท่านขรัวตาจ้าว วัดเกาะหงส์ อยุธยา ก่อนกรุงแตก เป็นพระคัมภีร์ใบลาน ของวัดแก้วฟ้า- ป่าแก้ว อยุธยา ยุคอยุธยาใช้คัมภีร์นี้ สำนวนนี้ สำนวนเดียวเดียว และวัดราชสิทธารามก็ใช้คัมภีร์เทศน์ขึ้นธรรม ของวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

บาตรเข้าลูกสะกดพระกัมมัฏฐาน ปีติ ๕ ยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒ บาตรเข้าลูกสะกด แบบพระกัมมัฏฐานโบราณ มัชฌิมาแบบลำดับ จากวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ตกมาถึง วัดราชสิทธาราม ใช้เข้าสะกด พระปีติ ๕ พระยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒ มีในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ตอนกลาง พระพนรัต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว และพระสงฆ์ยุคอยุธยา ต้องผ่านการสะกดพระกัมมัฏฐาน ทุกองค์ และต้องมาขึ้นพระกัมมัฏฐาน กับพระพนรัต พระสังฆราช ฝ่ายซ้าย วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้วทุกองค์ สมัยอยุธยา มีพระกัมมัฏฐานแบบเดียว คือพระกัมมัฏฐานโบราณ มัชฌิมาแบบ ลำดับ

การศึกษาภายใน วัดแก้วฟ้า - ป่าแก้ว ๑.ศึกษาบาลี ตามหลักคัมภีร์มูลกัจจายน์ ฝึกเขียนอักษรขอมบาลี ขอมไทย คัมภีร์มูลกัจจายน์ แต่งโดย พระมหากัจจายน์ ศึกษาเพื่อไม่ให้ภาวนาผิดแบบ


พระคัมภีร์มูลกัจจายน์

๒.ศึกษาพระกัมมัฏฐานโบราณ มัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถระ เป็นนิกาย-ป่าแก้ว แบบสุโขทัย พระพนรัต แต่ละองค์ ชอบอยู่ป่าเป็นวัตร ชอบความวิเวก ผู้ที่จะได้ตำแหน่งพระพนรัต ต้อง จบพระกัมมัฏฐานโบราณ มัชฌิมาแบบ ลำดับ


คัมภีร์บันทึกกัมมัฏฐานโบราณ วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว สมเด็จสุก ไก่เถื่อน ได้รับสืบต่อจาก ท่านขรัวตาจ้าว ๓.พระคัมภีร์ มูลกัมมัฏฐาน มี ๑๐ ผูก แต่งโดยพระมหารัตนปัญญา ยุคสุโขทัย แต่งย่อมาจากพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์พระอภิธรรมมัตถสังคหะ สำนวนแบบสุโขทัย ต่อมาถึงสมัยอยุธยา เปลี่ยนมาเป็น สำนวนอยุธยาโบราณ

พระคัมภีร์มูลกัมมัฏฐาน อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ สมเด็จสุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม

              ศึกษาคัมภีร์ อภิธรรมมัตถสังคหะ และศึกษาพระธรรม 

คัมภีร์ อภิธรรมมัตถสังคหะ เมื่อสถาปนาวัดแก้วฟ้า -ป่าแก้ว แล้ว ตำแหน่ง พระเทพมุนี ตำแหน่ง พระธรรมภาวนาเถร จึงย้ายจาก วัดพุทไธศวรรย์ มาสถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อันเป็นคณะอรัญวาสี คณะใหญ่ ปลายกรุงศรีอยุธยา ตำแหน่งพระธรรมภาวนาเถร มาอยู่วัดราชาวาส เป็นวัดที่พระอาจารย์สุก มาศึกษาบาลี และพระกัมมัฏฐาน ขั้นสูงเพิ่ม ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปนาวัดกุฎีดาว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายตำแหน่งพระเทพมุนี พระราชาคณะอรัญวาสี ซึ่งเคยสถิตวัดป่าแก้ว ย้ายมาสถิตวัดกุฎีดาว ตำแหน่งพระธรรมภาวนาเถร มาสถิต วัดราชาวาส คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ศึกษาหนักไปในทางสมถะ-วิปัสสนาธุระมัชฌิมา แบบลำดับ (กัมมัฏฐานโบราณ) แต่ภายในวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ก็ศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ศึกษาควบคู่กันไป วัดแก้วฟ้า - ป่าแก้ว เดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทองที่ ครอง ราชสมบัติมาแล้ว ๑๕ ปี คือตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓–๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคจึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่ง ให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนาม พระอารามใหม่ว่า วัดแก้วฟ้า - ป่าแก้ว การสถาปนาวัดแก้วฟ้า - ป่าแก้วนั้น สถาปนาก่อนสวรรคต ๕ ปี วัดแก้วฟ้า - ป่าแก้ว เป็นวัดพระกรรมฐานหลัก วัดพระกรรมฐานใหญ่ มีวัดเล็กๆเป็นบริวารหลายวัด วัดแก้วฟ้า –ป่าแก้ว เป็นแม่แบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่ศึกษากันมาจนทุกวันนี้ พระสงฆ์กรุงศรีอยุธยา ต้องไปขึ้นพระกัมมัฏฐาน ที่วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นธรรมเนียมประเพณี วัดแก้วฟ้า - ป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระพนรัต เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือสังฆราช ฝ่ายอรัญวาสี ได้รับพระราชทานคานหาม คนหาม สัปทน กลด กาน้ำ ฯ สมัยต่อมา มีวัดเล็กๆ เป็นบริวาร วัดป่า คณะอรัญวาสี ๕ วัด เช่น วัดเตว็ด วัดบันไดนาค วัดตำหนัก วัดโคก พระเจ้าแผ่นดิน ทรงสร้าง หลังสถาปนา พระพนรัต ที่เคยเป็นพระอาจารย์ ที่ประทับเก่าเป็นของพระอาจารย์เดิม จะไม่ไปประทับทับที่เดิม ด้วยเคารพอาจารย์

แบบแปลน วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว แบบแปลน วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ยุคต้นอยุธยา เป็นแบบเดียว กับวัดพุทไธศวรรย์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม ต่างกันแต่เล็กใหญ่กว่ากัน และพระวิหารเป็นอุทกเสมา ตามแบบ คณะป่าแก้ว สมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๓๑ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ) กลุ่มอาคารในเขตพุทธาวาส มีระเบียบที่ชัดเจน ปรางค์ เป็นประธานของวัด มีพระวิหารอยู่หน้าปรางค์ และ ระเบียงคตจะล้อมรอบปรางค์ โดยมีส่วนท้ายจรนำพระวิหารเชื่อมเข้ากับระเบียงคตนี้ ส่วนพระอุโบสถ จะอยู่ในตำแหน่งด้านหลัง ของระเบียงคต ในแนวแกนปรางค์ประธานเดียวกัน พระวิหารมักจะหันหน้าสู่ทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถจะหันหน้าสู่ทิศตะวันตก และมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร เช่นวัดพุทไธศวรรย์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว วัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดราชบูรณะ จังหวัดอยุธยา ส่วนช่องเปิด ที่นิยมทำเป็นช่องลม แบบลูกมะหวด หรือบางแห่ง ทำเป็นแบบสันเหลี่ยมแบบมีอกเลา เช่นช่องเปิดผนังของอุโบสถวัดมหาธาตุ อยุธยา รับแบบมาจากสุโขทัย ตัวพระวิหาร อุโบสถ เป็นรูสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังวิหาร โบสถ์ก่ออิฐถือปูน ก่อฐานสูงเล็กน้อยประดับด้วยลวดลายบัวโดยรอบ ช่วงกลางแนวยาวลาดบัวทำโค้ง ลงจากเส้นระดับเล็กน้อย ภายในอาคารมีเสา ๒ แถว เป็นเสาแปดเหลี่ยม รองรับน้ำหนักจั่วข้างใน ชายคาใช้เสากลมตั้งรับแทน รอบพระอุโบสถ ทำให้เดินประทักษิณได้โดยรอบ หลังคาเป็นจั่วลดชั้น แต่พระอุโบสถ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว สร้างเป็นอุโบสถ มหาอุด มีประตูหน้าประตูเดียว มีน้ำล้อมรอบ พระอุโบสถ ตามแบบ วัดอรัญวาสี-พระกัมมัฏฐาน คณะป่าแก้ว


เสาพระวิหาร วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว เป็นเสากลม สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ ๑๘๙๓ – ๑๙๑๒ รวม ๑๙ ปี ทรงสถาปนา วัดพุทไธศวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๖ พร้อมทรงสร้างพระปรางค์บรรจุพระบรมธาตุไว้ในพระมหาธาตุ ครั้งแรกเป็นที่สถิตของ พระสังฆราชต่อมาเป็นที่สถิตของพระพุทธโฆษาจารย์

             ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิง เจ้าแก้ว เจ้าไทย ที่วัดชายทุ่งแล้ว สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จะสถาปนา วัดชายทุ่ง ให้เป็นพระอารามหลวง วันที่จะสมโภชพระอาราม และขนานนามพระอาราม  เป็นวันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ในเวลาเที่ยงคืน พระจันทร์เต็มดวงอยู่กลางฟ้าพอดี มีนิมิตพระพุทธรูปใสดวงแก้วขาวใส ลอยมาจากท้องฟ้า พระพุทธรูป และดวงแก้ว ลอยลงมาคลอบ ที่พระอุโบสถ พอดี มีแสงสว่างรุ่งโรจน์ จึงถือเป็น ฤกษ์ยาม-มงคลดี จึงทรงขนานนามพระอารามที่สถาปนาใหม่ว่า วัดแก้วฟ้า –ป่าแก้ว ให้เป็นที่สถิตของ คณะสงฆ์ป่าแก้ว อันสืบทอดมาแต่ สุโขทัย และ ศรีอโยธยา มาถึงอยุธยา ให้เป็นที่สถิตของ พระพนรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย ชาวบ้านชาวเมือง เรียกว่า วัดแก้วฟ้า คณะสงฆ์ยุคอยุธยา เรียกว่า วัดป่าแก้ว สถาปนาคณะป่าแก้ว หรือ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ก่อนพระเจ้าอู่ทอง สวรรคต ๕ ปี 

ปัจจุบัน มีชาวบ้านไปตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณ อุโบสถ บอกว่าเป็นที่เรียบดี มีกระเบื้องเขียวไข่กา อยู่ บนลานวิหาร ซากวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อยู่ลึกลงไปในดินประมาณเกือบ ๒เมตร วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว เป็นวัด ของคณะสงฆ์ป่าแก้ว และอีกหลายวัดเล็กๆในคลองตะเคียน คลองคูจาม เป็นวัดบริวาร ของวัดป่าแก้ว ต่อมาสมัยหลังๆเรียกว่า วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่าวัดแก้วฟ้า วัดแก้วฟ้า สร้างยุคต้นอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าอู่ทองมีพระพนรัต สถิตอยู่วัดนี้ถึง ๒๔ พระองค์

แผนที่ไปวัดท่าหอย –วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว-อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์

                             120  วัดพุทไธศวรรย์ - 112   วัดท่าหอย – 116 วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว อยู่ในหมู่บ้านดงตาล คลองตะเคียน อ.เมือง อยุธยา เป็นวัดร้าง มีมาตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา ปัจจุบันอยู่ในชุมชนมุสลิม ใกล้ถนนลาดยาง ผ่านบ้านดงตาล ไม่ไกล อยู่หลัง วัดพุทไธศวรรย์ ไปทางทิศใต้ และริมคลองคูจามฝั่งตะวันตก โดย น. ณ ปากน้ำ ปราชญ์สยามทางศิลปกรรมไทย อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ออกสำรวจแหล่งประวัติศาสตร์ทั่วเกาะเมืองอยุธยา ระหว่างปี ๒๕๐๙- ๒๕๑๐ แล้วเขียนบันทึกรวมพิมพ์เป็นเล่มชื่อ “ ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนอยุธยา” พรรณนาวัดแก้วฟ้า (ป่าแก้ว) ว่า มีฐานเจดีย์ขนาดใหญ่มากและพระประธานปูนปั้น ถูกทะลุทะลวงจนแทบจะหมดองค์ ผนังอุโบสถไม่มี พบเสาแปดเหลี่ยม บัวหัวเสาเป็นบัวกลุ่มแบบเดียวกับวัดพุทไธศวรรย์ ฐานเจดีย์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ก่อด้วยศิลาแลง พบเศษพระพุทธรูปหินทรายขาวเกลื่อนไปทั่วอุโบสถ เข้าใจว่าเป็นพระแบบอู่ทองรุ่นหลัง ลายปูนปั้นรูปบัวเป็นแบบรุ่นแรก ยุคต้นอยุธยา เข้าใจว่าที่นี่ต้องเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้น


วัดเตว็ด ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองในพื้นที่ทางตอนใต้ของ อยุธยา ในตำบลสำเภาล่ม อยู่บนฝั่งตะวันตกของคลองคูจามในระหว่างวัดน้อยหน่าและวัดตะมะ และเกือบจะตรงข้ามกับวัดท่าหอย พบเพียงซากปรักหักพัง กองอิฐปกคลุมไปด้วยพันธุ์พืช มีเพียงผนังด้านหน้าของโครงสร้างโบราณสถาน ลวดลายปูนปั้นตกแต่งบนหน้าจั่วยังคงมองเห็นได้ รูปแบบคล้ายๆผสมรูปแบบทางยุโรป โดยรอบบริเวณล้อมรอบด้วยคูน้ำ พบชิ้นส่วนพระพุทธ กระจายทั่วไป และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจำนวนหนึ่ง วัดเตว็ดสร้างโดยมเหสี ฝ่ายขวา ฝ่ายซ้าย ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นามว่า กรมหลวงโยธาทิพย์ –กรมหลวงโยธาเทพ พาเจ้าชายน้อยมาด้วย แล้วบวชเป็นชีอยู่วัดพุทไธศวรรย์ พระกรรมฐานที่ศึกษาในวัดป่าแก้ว เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ พระกัมมัฏฐานโบราณ สืบต่อมาจากวัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว กรุงสุโขทัย และสืบต่อจากวัดไชยปราการ กรุงศรีอโยธยา

	ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓  สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นพระอารามหลวง นามว่าวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว  มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้วสามพระองค์ ๓ องค์

เจ้าอาวาสองค์ที่หนึ่ง ถึงองค์ที่สามวัดชายทุ่ง ไม่ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ คือท่านขรัวจวน วัดชายทุ่ง ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แบบคณะสงฆ์ป่าแก้ว และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ มากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห สมัยกรุงอโยธยา

 ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนา วัดชายทุ่ง ให้เป็นพระอารามหลวง  แล้วทรงขนานพระนามพระอารามที่สถาปนาใหม่ว่า  วัดวัดแก้วฟ้า คณะป่าแก้ว  ให้เป็นที่สถิตของ พระพนรัต หรือสมเด็จพระนพรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย   พระสงฆ์สมัยอยุธยา ต้องมาขึ้นพระกัมมัฏฐาน วัดแก้ว-ป่าแก้ว ทุกวัด เหมือนวัดราชสิทธาราม พระสงฆ์กรุงรัตนโกสินทร์ ต้องมาขึ้นพระกัมมัฏฐาน ที่วัดราชสิทธารามนี้ เป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณ ครั้งกรุงศรีอยุธยา มารัตนโกสินทร์

ศรีพระอริยะสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของวัดแก้วฟ้า -ป่าแก้ว สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังสถาปนาแล้วมีดังนี้ ๑.พระพนรัต พระนามเดิมว่า จวน เจ้าอาวาสพระองค์แรกของ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ตำแหน่ง พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งพระพนรัต ตั้งแต่ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระพนรัต (จวน) เป็นพระราชาจารย์ ของพระเจ้าอู่ทอง

   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง สถาปนาพระมหาเถรจวน หรือชาวเมืองเรียกท่านว่า ท่านขรัวจวน เป็นพระราชาคณะที่พระพนรัต และทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้พระพนรัต (จวน) ตั้งพระรองเรื่อง ช่วยงาน (ถานานุกรม) ตามอย่างมาจากกรุงสุโขทัยได้อีก ๔ พระองค์คือ
   ๑.พระบูรพา-ทิศาจารย์  		พระรองเรื่อง ลำดับที่ ๑ 
   พระบูรพาทิศาจารย์ พระองค์แรกช่วยงานของพระพนรัต (จวน)  คือท่านขรัวแดง ต่อมาท่านขรัวแดง เลื่อนเป็นที่พระเทพมุนี ท่านขรัวรอด หรือที่ชาวเมืองเรียกขานท่านว่า   หลวงปู่เฒ่า จึงรับหน้าที่เป็นพระรองเรื่องช่วยงานที่พระบูรพาทิศาจารย์   องค์ต่อมา
   	๒.พระปัจฉิมา-ทิศาจารย์  		พระรองเรื่องลำดับที่ ๒
   	๓.พระทักษิณาทิษาจารย์   		พระรองเรื่องลำดับที่ ๓
   	๔.พระอุตราทิศาจารย์  		พระรองเรื่องลำดับที่ ๔
   พระรองเรื่องทั้ง ๔ พระองค์ ตั้งพระอนุรองเรื่องได้อีก ๔ องค์คือ ๑.พระบูรพาอนุทิศาจารย์  ๒.พระปัจฉิมาอนุทิศาจารย์   ๓.พระทักษิณาอนุทิศาจารย์   ๔.พระอุตราอนุทิศาจารย์  
	    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงอาราธนา  พระมหาเถร หรือท่านขรัวจวน  จากวัดชายทุ่ง ที่สถิตเดิมของท่าน (ก่อนสถาปนา เป็นวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว) สถาปนาเป็นพระพนรัต (จวน) พระสังฆราชฝ่ายซ้าย  ฝ่ายอรัญวาสี องค์แรกของกรุงศรีอยุธยา แต่นั้นมา พระสงฆ์กรุงศรีอยุธยา ต้องมาขึ้นกัมมัฏฐาน วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว กับพระพนรัต (จวน) พระสังฆราช ฝ่ายซ้าย
   พระพนรัต (จวน) บรรพชา-อุปสมบทกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น ที่วัดสามไห เมืองอโยธยา ศึกษพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา  และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์กับ   ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น   วัดสามไห  เมืองอโยธยา 
   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๓–๑๙๑๒ เป็นเวลานาน ๒๐ ปี ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ พญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย 
    พระพนรัต (จวน) เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๐๗ เรื่อยมา  จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร, สมเด็จพระราเมศวร ทรงครองราชย์ ครั้งแรก  พ.ศ. ๑๙๑๒–๑๙๑๔ เป็นเวลา ๒ ปี 
    พระพนรัต (จวน) เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้ว-ป่าแก้ว  สืบต่อมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ที่ ๑ หรืออีกพระนามหนึ่งคือ ขุนหลวงพงั่ว ๆทรงครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๑๓–๑๙๒๕ เป็นเวลานาน ๑๓ ปี 
    พระพนรัต (จวน) เป็นต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าทองลั่น เสวยราชสมบัติได้เจ็ดวัน ก็สิ้นรัชกาล  
    พระพนรัต (จวน) เป็นต่อมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ทรงครองราชครั้งที่ ๒ 
    พระพนรัต (จวน) นิพพานเมื่อสิริอายุได้ประมาณ ๙๐ พรรษา พระพนรัต(จวน) นิพพานในปีที่ ๒ ของรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร  
   สมเด็จพระราเมศวร   เมื่อทรงครองราช ครั้งที่ ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๒๕–๑๙๓๐ เป็นเวลานาน ๖ ปี

ตรงกับรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ ๒ แห่งสุโขทัย และ เมืองสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น ของกรุงศรีอยุธยา

    พระพนรัต (จวน) เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ถึง  ๕ แผ่นดิน พระพนรัต (จวน) พระองค์ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ  สืบต่อมาจาก  ท่านขรัวตาเฒ่า (ชื่น) วัดสามไห   เมืองอโยธยา  พระพนรัต (จวน)เป็นสัทธิวิหาริก รุ่นพี่ของ พระพนรัต (แดง) พระพนรัต (รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า
    รัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร  เมื่อทรงครองราชย์ ครั้งที่ ๒ ทรงสถาปนาพระมหาธาตุสูง สิบเก้าวา ยอดนพศูลสูงสามวา  สร้างพระอุโบสถ พระวิหารในพระอาราม พระราชทานขนานพระนามพระอารามว่า วัดมหาธาตุ ต่อมาเป็นที่สถิตของ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชฝ่ายขวา  ประมาณจุลศักราช  ๗๔๙  ตรงกับ ปีพระพุทธศักราช ๑๙๓๐  สมเด็จพระราเมศวร สถาปนาวัดภูเขาทอง
    สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตำแหน่งพระพนรัต (จวน) พระพนรัต (แดง) พระพนรัต (หลวงปู่เฒ่า รอด) พระพนรัต (สี) พระพนรัต (รอด) ยังคงใช้ พระรองเรื่อง หรือพระช่วยงาน  ตามอย่างกรุงสุโขทัย แทนพระถานานุกรม ถึง ๕ สมัย ๕ องค์ ต่อมาถึงสมัยพระพนรัต (แสง) ครองวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว จึงเปลี่ยนจากพระรองเรื่อง มาเป็นพระถานานุกรมมี พระครูปลัดเป็นต้น ครั้งแรกมี ๕-๖ ตำแหน่ง ต่อมาเพิ่มเป็น ๑๐ ตำแหน่ง และเพิ่มเป็น ๑๑ ตำแหน่งในปลายกรุงศรีอยุธยา  
   พระราชาคณะที่พระพนรัต เป็นตำแหน่งพระสังฆราช ฝ่ายอรัญวาสี พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแล้ว ทรงถวายพระราชทินนาม แล้ว พระราชทาน  สัปทนคันหนึ่ง เสลี่ยง พร้อมกับคนหาม ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา พระพนรัต เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้าย   

การศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา ครั้งแรกในวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ก่อนเข้าศึกษาพระกัมมัฏฐานนั้น ต้องฝากตัวต่อพระรัตนไตร ขึ้นถาดขันธ์ ๕ บูชาพระรัตนไตร ถาดเครื่องขันธ์ห้า ประกอบไปด้วย ดอกไม้ห้ากระทง ข้าวตอกห้ากระทง เทียนห้าเล่ม ธูปห้าดอก เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า การบูชาพระรัตนตรัย ก่อนเริ่มศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มีครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระพนรัต (รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ ของวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว จัดเป็นอุบายธรรมในการศึกษา พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา เป็นขั้น เป็นตอน เป็นลำดับ ดังนี้

   	๑. อามิสบูชา   บูชาด้วยวัตถุข้าวของ มีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น
   	๒.ปฏิบัติบูชา  บูชาด้วยการปฏิบัติ บำเพ็ญเพียรภาวนา

๒.พระพนรัต นามเดิมว่า แดง พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เดิมพระพนรัต (แดง) เป็นพระรองเรื่อง (ถานานุกรม) ที่พระบูรพาทิศาจารย์ พระรองเรื่องลำดับที่ ๑ ของพระพนรัต (จวน) อยู่วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ต่อมาเลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพมุนี อยู่ในวัดป่าแก้ว เมื่อพระพนรัต (จวน) นิพพานแล้ว พระเทพมุนี (แดง) จึงได้รับการสถาปนาจาก สมเด็จพระราเมศวร ให้เป็นที่พระพนรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย แล้วยกพระบูรพาทิศาจารย์ (รอด หรือหลวงปู่เฒ่า)พระรองเรื่องของพระพนรัต (จวน) ขึ้นเป็นที่พระเทพมุนี

   พระพนรัต (แดง) พระองค์ท่านนิพพาน ประมาณปี พ.ศ.๑๙๓๐ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ สมเด็จพระราเมศวร เสด็จสวรรคต     พระพนรัต (แดง) เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เพียง ๔ ปี  พระพนรัต (แดง) ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบเนื่องมา กับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น  วัดสามไห ยุคอโยธยา

๓. พระพนรัต พระนามเดิมว่า รอด ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ชาวเมืองเรียกขาน พระองค์ท่านว่า หลวงปู่เฒ่า (หลวงพ่อแก่) พระองค์ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วด้วย ท่านเป็นในรัชสมัย สมเด็จพระยารามราชาธิราช ทรงครองราชย์ ๑๙๓๐–๑๙๔๕ นาน ๑๕ ปี

    พระพนรัต (รอด) เป็นสืบมาจนถึงรัชสมัย สมเด็จพระยารามราชาธิราช (พระนครอินทร์) ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๔๕–๑๙๖๑ นาน ๑๘ ปี 
    พระพนรัต (รอด) ท่านเป็นสืบมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือ เจ้าสามพระยา  ทรงครองราชย์ นาน ๑๗ ปี     สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือพระนามเดิม เจ้าสามพระยา ทรงสถาปนา วัดมเหยงค์  อันเป็นที่สถิตของ พระธรรมกิติ    
   พระพนรัต (รอด) เป็นสืบมาจนถึง รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระนามเดิมคือสมเด็จพระราเมศวร) พระพนรัต (รอด) หรือหลวงปู่เฒ่านิพพาน ในต้นรัชกาลนี้  ท่านมี พระชนม์ชีพ อยู่ในยุคกรุงอโยธยา  ข้ามมาถึงยุคกรุงศรีอยุธยา  ชาวเมืองเรียกขานพระนามพระองค์ท่านว่า หลวงปู่เฒ่า   ท่านอยู่มาถึงห้าแผ่นดิน  ห้ารัชกาล
    

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ยกวัง ทำเป็นวัด ขนานนามว่าวัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ไม่มีพระสงฆ์ เป็นวัดใช้สำหรับประกอบพิธีหลวง ทรงสถาปนา วัดพระราม เป็นที่สถิตของ พระเทพกวี ทรงสถาปนาวัดจุฬามณี ที่เมืองพิษณุโลก เป็นที่สถิต ของสงฆ์คณะป่าแก้ว แล้วทรงผนวชที่วัดนี้ระยะเวลาหนึ่ง

   พระพนรัต (รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า พระนามที่ชาวเมืองเรียก เพราะท่านเป็นพระมหาเถรที่มีอายุมากถึง ๙๓ พรรษาเศษ มีผู้คนเคารพนับถือมาก 
    พระพนรัต (รอด) พระองค์ท่าน ประสูติประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๑ สมัยกรุงอโยธยา เป็นปีที่ ๔ ในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทองที่ ๓ บรมกษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งกรุงอโยธยา ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ๒ ปีเศษ 
   พระพนรัต (รอด) บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสามไห กับขรัวตาเฒ่าชื่น อุปสมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร แห่งกรุงศรีอยุธยา (เมื่อทรงครองราชย์ สมบัติครั้งแรก) ที่วัดสามไห ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วได้เล่าเรียนพระกัมมัฏฐาน แบบมัชฌิมา กับพระอุปัชฌาย์ ต่อมาพระองค์ท่าน ทรงย้ายมาสถิต ณ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว สมัยพระพนรัต (จวน) ครองวัดป่าแก้ว 
 ต่อมาพระภิกษุรอด ได้เป็นพระรองเรื่องชั้นที่ ๑ (ถานานุกรม) ที่ พระบูรพาทิศาจารย์ ของพระพนรัต (จวน) กาลต่อมาพระบูรพาทิศาจารย์ รอด ได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระเทพมุนี, 
  ต่อมาพระเทพมุนี (หลวงปู่เฒ่า) ได้รับการสถาปนาจากสมเด็จพระยารามราชาธิราชเจ้า เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระพนรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำวัดวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว และเป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วด้วย เมื่อสิริชนมายุได้ ๗๐ พรรษาเศษ  
 
พระพนรัต (รอด) ทรงครองวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว มาจนถึง รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า พระองค์ท่านนิพพาน ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๘๑ เมื่อสิริรวมชนมายุได้ประมาณ ๙๓ พรรษา เป็นปีที่ ๔ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า  พระพนรัต (รอด) เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วท่าน มีพระชนม์ชีพ อยู่ถึง ๔ แผ่นดิน และเป็นพระราชาจารย์ ของพระเจ้าแผ่นดินถึง ๕ พระองค์ 	นิพพานแล้ว เจ้าแผ่นดิน พระบรมไตรโลกนาถ ให้ช่าง ปั้นรูปท่านไว้ ในวิหารวัดวัดแก้วฟ้า - ป่าแก้ว
 

รูปหล่อสมเด็จพระพนรัต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว หล่อด้วยโลหะปิดทอง ถอดได้ครึ่งองค์ ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ วัดกษัตราธิราช เชิญมาจากวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว (วัดเจ้าฟ้า หรือวัดแก้วฟ้า ก็เรียก โบราณเรียกว่า วัดแก้วฟ้า – ป่าแก้ว อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์ คลองคูจาม หมู่บ้านดงตาล ต.สำเภาล่ม อ.เมืองอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อแก่ โบราณเรียกว่า หลวงปู่เฒ่า มีพระนามเดิมว่า รอด ก่อนพระพนรัต(รอด) จะนิพพาน พระองค์ท่านได้มอบไม้เท้าไผ่ยอดตาลของเก่าสีดำนิล ของสืบเนื่องมาแต่ พระอุบาลีเถร แห่งลังกา ให้กับ พระบูรพาทิศาจารย์(เข้ม) พระรองเรื่อง(ถานานุกรม) และสัทธิวิหาริก ของท่านในวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นผู้สืบทอด ข้อวัตรปฏิบัติของพระพนรัต วัดแก้วฟ้า ป่าแก้ว ยุคอยุธยา ๑.อยู่ป่าเป็นวัตร คือชอบอยู่ป่า ๒.ต้องเรียนพระกัมมัฏฐานโบราณ มัชฌิมา แบบลำดับ จนจบ ๓.ต้องเรียน พระบาลีมูลกัจจายน์จบ เพื่อให้คำภาวนา ถูกต้อง ๔.เรียนคัมภีร์มูลกัมมัฏฐานจบ (แทนวิสุทธิมรรค ยุคอยุธยา วิสุทธิมรรค ไม่ได้แปล) ๕.โบสถ์ภายในวัด คณะป่าแก้ว เป็นแบบ อุทกเสมา คือมีน้ำล้อมรอบ ๖.ท่องจำ และสวดพระปาฏิโมกข์ได้ ฯ ๗.ใช้อัฐบริขาร 8 คือ สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น 8 อย่างสำหรับพระภิกษุสงฆ์ คณะป่าแก้ว เช่น1. ผ้าจีวร 2. ผ้าสังฆาฎิ 3. ผ้าสบง4. ประคดเอว 5. มีดโกน6. บาตร ใช้บาตรดินเผา 7. เข็มเย็บผ้า8.เครื่องกรองน้ำ ๘.มีกลด สำหรับออกเดินป่า ไว้ประจำกาย ๙.ฉันอาหาร มื้อเดียว ๑๐.บิณฑบาต เป็นวัตร


เรื่องการสืบทอด ไม้เท้าเบิกไพรไผ่ยอดตาล ของพระอุบาลี ลังกา

 ตามตำนานการสืบทอดพระกรรมฐาน กล่าวว่าไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ของพระอุบาลี แห่งเกาะลังกานี้  เดิมท่านพระอุบาลีเถรเจ้า เกาะลังกา พระองค์ท่านได้รับสืบทอดมาจาก พระมหินทเถรเจ้า 

พระมหินทเถรเจ้าได้รับสืบทอดมาจากพระโสเรยยะเถรเจ้า ได้รับสืบทอดมาจาก พระโมคคัลลีบุตรติสเถรเจ้า ได้รับสืบต่อมาจาก ได้รับสืบทอดมาจากพระมัลลิกเถรเจ้า ได้รับสืบทอดมาจากพระมัลลิกะเถรเจ้า ได้รับสืบทอดมาจาก พระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นของสืบทอดคู่พระบารมีพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

กาลต่อมาสมัยสุวรรณภูมิ พระอุบาลีเถรเจ้า แห่งเกาะลังกา  ให้พระสัทธิวิหาริก ของท่านในเกาะลังกา  เดินทางออกจากเกาะลังกา มาสุวรรณภูมิ นำไม้เท้าเบิกไพร ของพระราหุลเถรเจ้า มามอบให้แก่ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร) วัดท้าวอู่ทอง ยุคสุวรรณภูมิ ไม้เท้านี้ตกทอดมาถึงสมัยทวาราวดีกับ พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (ไข)  ตกทอดมาถึง พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์) วัดมหาธาตุ สุโขทัย  และตกทอดมาถึง พระพนรัต (รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า วัดแก้วฟ้าป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา

ซึ่งต่อมา พระพนรัต (รอด) พระองค์ท่านทรงมอบไม้เท้านี้ให้แก่ ท่านบูรพาทิศาจารย์เข้มๆ ท่านชอบออกสัญจรจาริกธุดงค์ หาความวิเวกไปตามสถานที่ต่างๆ พระบูรพาทิศาจารย์ เข้ม ก่อนสิ้นอายุขัย ของท่านพระบูรพาทิศาจารย์ (เข้ม) ท่านได้มอบไม้เท้านี้ให้แก่ศิษย์ของท่าน และต่อกันไปเรื่อยจนเข้าปลายกรุงศรีอยุธยา ตกทอดอยู่กับพระมหาเถรท่านหนึ่ง และท่านได้ไปนิพพาน ที่ในถ้ำแห่งหนึ่งในป่าเมืองกำแพงเพชร เขตติดต่อป่าเมืองสุโขทัย กาลต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย เดินทางไปบำเพ็ญสมณะธรรมที่ถ้ำแห่งนี้ จึงได้นำไม้เท้า อันเป็นของพระพนรัต (รอด) ที่ทรงมอบให้พระบูรพาทิศาจารย์ (เข้ม) มาแต่เดิมนี้ กลับมาวัดท่าหอย

ครั้งถึงสมัยกรุงธนบุรี พระอธิการสุก วัดท่าหอย เมื่อพระองค์ได้ไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาลคู่พระบารมีของพระองค์แล้ว พระองค์ท่านจึงมอบไม้เท้าไผ่ยอดตาลอันนี้ให้กับ พระอาจารย์ฮั่น วัดท่าหอย (ต่อมาเป็นพระวินัยรักขิต เมื่อสถิตวัดพลับ)  เอาไว้ใช้เบิกไพร เวลาออก สัญจรจาริก-ธุดงค์
หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน พระองค์ท่านได้ทรงพบกับ พระพนรัต (รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า เมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๐๖ - ๒๓๐๘ ที่ป่าทึบเมืองกำแพงเพชร โดยพบท่านในร่างที่สำเร็จด้วย การอธิษฐานจิต ให้อยู่ด้วยกายทิพย์ ที่สามารถจับต้องกายนี้ได้ กายนี้ไม่ต้อง บริหาร หรือกินอาหาร เพราะเป็นกายที่สำเร็จด้วยอิทธิบาท ๔ เป็นกายทิพย์ ท่านอธิษฐาน ก่อนท่านนิพพานเล็กน้อยเวลาที่พระอาจารย์สุกพบกับ พระพนรัต( รอด) หรือหลวงปู่เฒ่านั้น ท่านพบที่ป่าเมืองกำแพงเพชร  พระพนรัต (รอด) นิพพาน ด้วยกายเนื้อแตกดับมาแล้ว เป็นเวลานานถึง ๓๒๗ ปี กายอธิฐานนี้จะเห็นได้เฉพาะหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน เพราะพระองค์ท่านเป็นผู้เหมาะสม เป็นผู้ทรงฌาน และจะเป็นผู้ที่จะได้สืบทอดพระกัมมัฏฐาน แบบมัชฌิมา ในยุคต่อไปหลังกรุงศรีอยุธยาสิ้นสลาย พระพนรัต (รอด) ท่านทรงเห็นว่าพระอาจารย์สุก จะได้เป็นผู้สืบทอดพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา ในยุคต่อจากอยุธยา และทรงเห็นว่าวิมุตติธรรม และความรู้ของพระอาจารย์สุก ยังไม่แก่กล้าทั่วถึงทั้งหมด ในพระกัมมัฏฐานแบบมัชฌิมา พระพนรัต (รอด) จึงต้องการให้พระอาจารย์สุก ศึกษารายละเอียดของ พระวิปัสสนากัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบสมบูรณ์เต็มรูปแบบ กับหลวงปู่เฒ่า (รอด)ที่ขาดหายมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ท่านศึกษาพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน อยู่กับกายอธิษฐาน ของหลวงปู่เฒ่า(รอด) ประมาณหนึ่งเดือนเศษ 

สิ่งของที่เห็นเนื่องด้วยกายหลวงปู่เฒ่า เช่นจีวร บาตร กลด ไม้เท้า เป็นของเนื่องมาจากสัญญาเก่าของหลวงปู่เฒ่า เมื่อครั้งสังขารร่างกายเนื้อของพระองค์ท่านยังดำรงอยู่เมื่อ ๓๒๗ ปีก่อน หลังจากพระอาจารย์สุก ได้ศึกษารายละเอียดต่างๆของพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน แบบมัชฌิมาแล้ว หลังจากนั้นหลวงปู่เฒ่าก็หายไปไม่ปรากฏร่างอีกต่อไป จึงมีคำกล่าวว่าหลวงปู่เฒ่าจะ มีร่างกายก็ไม่ใช่ไม่มีร่างกายก็ไม่ใช่


หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแล้วประมาณ สองวัน การอธิษฐานของหลวงปู่เฒ่า ก็อันตรธานหายไป ไม่ปรากฏ ให้ชาวเมืองเห็นต่อไป คือหมดหน้าที่ในทางโลก ดูแลพระศาสนายุคอยุธยา เพราะมีผู้สืบทอดพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยุครัตนโกสินทร์แล้ว และเป็นหน้าที่ของพระอาจารย์สุก ต้องดูแลรักษาสืบทอดมรดกธรรมนี้ต่อไป ๔. พระพนรัต นามเดิมว่า สี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จบรมไตรโลกนาถเจ้า

    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ทรงครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๗๗–๑๙๙๒ เป็นเวลานาน ๑๖ ปี ในรัชกาลนี้มีพระสงฆ์จากล้านนา และอยุธยา ไปบวชเรียนจาก สำนักพระวันรัต ที่ลังกา แล้วมาฟื้นนิกายลังกาวงศ์แบบวันรัต ให้มั่นคงยิ่งขึ้น พระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชที่วัดจุฬามณี-ป่าแก้ว เมืองพิษณุโลก พร้อมพระราชโอรส พระราชนัดดา และ ข้าราชการรวม ๑,๐๐๐ รูป 
   พระพนรัต (สี) เป็นสืบมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระอินทร์ราชา ในต้นๆรัชกาล พระพนรัต (สี) จึงนิพพาน    พระพนรัต (สี) ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อจาก ท่านขรัวตาเฒ่าจิต  ขรัวตาเฒ่าจิตเป็นศิษย์ ศึกษาพระกัมมัฏฐานกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น

๕. พระพนรัต นามเดิมว่า รอด (องค์ที่ ๒) นามที่ชาวเมืองเรียก ท่านขรัวตารอด พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชาๆ ทรงครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๙๒–๒๐๑๓ เป็นเวลานาน ๒๒ ปี พระพนรัต (รอด องค์ที่ ๒) ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาต่อจาก พระพนรัต (แดง) ๖.พระพนรัต นามเดิมว่า แสง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา เป็นสืบมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือพระนามเดิมว่า พระบรมราชามหาอุปราช,สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๑๓–๒๐๕๒ ครองราชเป็นเวลานาน ๔๐ ปี พระพนรัต (แสง) นิพพานในรัชกาลนี้พระพนรัต (แสง)ศึกษากัมมัฏฐานต่อจากพระพนรัต (สี)

              ๗.พระพนรัต นามเดิมว่า คร้าม  พระสังฆราช ฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  พระพนรัต(คร้าม) ศึกษาพระกัมมัฏฐานต่อจาก  พระพนรัต (สี)
   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนใหญ่สูงได้แปดวา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หุ้มทองคำหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง  ถวายพระนามว่า  พระศรีสรรเพชญ  ประดิษฐานไว้ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญดาราม

๘.พระพนรัต นามเดิมว่า จุ่น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือบรมราชามหาอุปราช มี พระพนรัต ถึง ๓ พระองค์ เพราะ ครองราช ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ในกรุงศรีอยุธยา

                พระพนรัต (จุ่น) เป็นข้ามมาถึงรัชสมัยสมเด็จบรมราชามหาพุทธางกูร ทรงมีพระนามเดิมว่า พระอาทิตย์วงศ์   พระองค์ทรงครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๕๒–๒๐๕๖ นาน ๕ ปี  
  พระพนรัต(จุ่น) เป็นมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จรัษฎาธิราช  ซึ่งพระองค์ทรงครองราช  ๕เดือน 
  พระพนรัต (จุ่น) ท่านดำรงตำแหน่งมาจนถึงต้นรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช  
  พระพนรัต (จุ่น) ครองวัดป่าแก้วถึง ๔ แผ่นดิน พระวันรัต  (จุ่น) ศึกษาพระกัมมัฏฐาน สืบต่อจาก  พระพนรัต (แสง)

๙. พระพนรัต นามเดิมว่า เอื๊ยน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระองค์ทรงครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๕๖–๒๐๗๐ นาน ๑๕ ปี พระพนรัต (เอี๊ยน) ศึกษาพระกัมมัฏฐานต่อจาก พระพนรัต (คร้าม). ๑๐. พระพนรัต นามเดิมว่า มี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระแก้วฟ้า พระองค์ทรงครองราช พ.ศ. ๒๐๗๐–๒๐๗๒ นาน ๒ปี ๖ เดือน

     พระพนรัต (มี) เป็นจนถึงรัชสมัยขุนวรวงศาธิราช  พระองค์ทรงครองราช  พ.ศ. ๒๐๗๒–๒๐๗๒ นาน ๕ เดือน 
     พระพนรัต (มี) เป็นมาจนถึงกลางรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชาธิราช  (พระเฑียนราชา) เป็น ๓ แผ่นดิน     พระพนรัต (มี) ศึกษาพระกัมมัฏฐานต่อจาก พระพนรัต (จุ่น)
๑๑.พระพนรัต  นามเดิมว่า เดช พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชาธิราช  พระองค์ทรงครองราช  พ.ศ. ๒๐๗๒–๒๐๙๙ นาน ๒๗ ปี
      พระพนรัต (เดช)เป็นมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหิทราธิราช พระองค์ครองราช สมบัติ ๑ ปี 
      พระพนรัต (เดช) เป็นมาจนถึงปีที่ ๗ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ขุนพิเรนทรเทพ) ท่านเป็นอยู่ถึง ๓  แผ่นดิน  พระพนรัต(เดช) ศึกษาพระกัมมัฏฐานต่อจาก    พระพนรัต (มี)
๑๒.พระพนรัต นามเดิมว่า  สอน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา   พระองค์ทรงครองราชย์  พ.ศ. ๒๑๐๐–๒๑๒๑ นาน ๒๓ปี  
      พระพนรัต (สอน) เป็นมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า  ท่านอยู่มาถึง ๒ แผ่นดิน พระพนรัต (สอน) ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานสืบต่อจาก  พระพนรัต (มี)
๑๓. พระพนรัต  นามเดิม   พระมหาเถรคันฉ่อง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว  ในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า พระมหาเถรคันฉ่อง ท่านมาสถิต กรุงศรีอยุธยาแต่ครั้ง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ยังทรงพระชนมายุอยู่ ต่อมาพระพนรัต(สอน) นิพพาน สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า   จึงสถาปนาพระมหาเถรคันฉ่อง ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ที่พระพนรัต(มหาเถรคันฉ่อง) สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ครองราชตั้งแต่  พ.ศ. ๒๑๒๑–๒๑๓๖ นาน ๑๖ปี  
  พระพนรัต (มหาเถรคันฉ่อง) เป็นมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จเอกาทศรถ ประมาณปีที่ ๓ แห่งรัชกาลนี้ จึงนิพพาน  ท่านเป็นอยู่ถึง ๒ แผ่นดิน 
  พระพนรัต (พระมหาเถรคันฉ่อง) เดิมท่านอยู่ที่เมืองแครง เป็นพระรามัญ(มอญ) ท่านเป็นองค์ที่ขอพระราชทานอภัยโทษนายทหารที่ไปราชการทัพเมื่อครั้งทรงกระทำยุทธหัตถี บนหลังช้าง  กับพระมหาอุปราช กรุงหงสาวดี และนายทหารเหล่านี้ถูกจำขัง รอการประหาร เนื่องจากเป็นวันพระ   ในครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงพระราชทานยกโทษให้  ตามคำขอของ พระพนรัต (พระมหาเถรคันฉ่อง)ๆ  ต่อมาเมื่อมาสถิต วัดป่าแก้ว ในกรุงศรีอยุธยาแล้ว ท่านได้ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาต่อจากหลวงปู่รอด หรือหลวงปู่เฒ่า หรือพระพนรัต(รอด) โดยพระพนรัต(รอด)มาสอนพระพนรัต(มหาเถรคันฉ่อง)ให้ทางสมาธินิมิต เพิ่มเติมเมื่อมาสถิต ณ  วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช   ในครั้งนั้นมี พระพนรัต(สอน) เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว พระมหาเถรคันฉ่อง ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐาน แบบมัชฌิมา หรือแบบลำดับ มาในแนวเดียวกัน ที่รามัญประเทศ 

๑๔.พระพนรัต นามเดิมว่า อ้น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ๆ ครองราช พ.ศ. ๒๑๓๖–๒๑๔๔ นาน ๙ ปี

     พระพนรัต (อ้น) เป็นมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระศรีเศาวภาค พระองค์ทรงครองราชย์ พ.ศ.๒๑๔๔–๒๑๔๕ นาน ๑ ปี จึงสิ้นราชวงศ์อู่ทองในรัชกาลนี้ 
     พระพนรัต (อ้น) เป็นต่อมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ปีที่ ๕ ในรัชกาลนี้ พระพนรัต (อ้น) จึงนิพพาน ท่านเป็นอยู่ถึง ๓ แผ่นดิน 
     พระพนรัต (อ้น) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาสืบต่อมาจาก พระพนรัต(เดช) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร  ครั้นอุปสมบทแล้วจึงมาศึกษาต่อ  กับพระพนรัต (มหาเถรคันฉ่อง) จนจบพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ   

๑๕.พระพนรัต นามเดิมว่า ขุน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงครองราชย์ พ.ศ.๒๑๔๕ -๒๑๗๐ นาน ๒๖ ปี

    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  เดิมเป็นพระราชาคณะที่ พระพิมลธรรม อยู่วัดระฆัง(อยุธยา)  พ.ศ. ๒๑๙๔ ปีมะเมีย ได้ข่าวรอยพระพุทธบาทปรากฏ ณ. เขาสุวรรณบรรพต จึงเสด็จขึ้นไปทรงสร้างพระมณฑป  และ พระวิหารบริเวณทั้งปวง แล้วทรงแต่งพระมหาชาติคำหลวงไว้สำหรับแผ่นดิน
    พระพนรัต (ขุน) ศึกษาพระกรรมฐานกับพระพนรัต (สอน) และพระพนรัต(มหาเถรคันฉ่อง)

๑๖ พระพนรัต นามเดิมว่า มาก พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระองค์ ครองราชพ.ศ. ๒๑๗๐–๒๑๗๐ นาน ๑ปี ๒ เดือน

     พระพนรัต (มาก) เป็นมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระอาทิตย์วงศ์  พระองค์ ครองราช พ.ศ. ๒๑๗๒–๒๑๗๒ นาน ๖ เดือน 
     พระพนรัต (มาก) เป็นจนถึงรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ปีที่ ๕ ในรัชกาลนี้ ท่านเป็นอยู่ถึง ๓ แผ่นดิน พระพนรัต (มาก) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาต่อจาก   พระพนรัต (อ้น)

๑๗.พระพนรัต นามเดิมว่า ใหญ่ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ) พระองค์ ครองราช พ.ศ. ๒๑๗๓–๒๑๙๘ นาน ๒๖ ปี สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงสร้างพระอาราม วัดชัยวัฒนาราม

พระพนรัต (ใหญ่) จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา  พระองค์ ครองราช พ.ศ. ๒๑๙๙–๒๑๙๙  เป็นเวลา ๒ เดือน ๑๐ วัน ท่านจนถึงต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  

พระพนรัต (ใหญ่) ท่านนิพพานในรัชกาลนี้ พระพนรัต (ใหญ่)เป็นอยู่ถึง ๔ แผ่นดิน พระพนรัต(ใหญ่) ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานสืบต่อจาก พระพนรัต(มาก)

๑๘. พระพนรัต  นามเดิมว่า บุญ  พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายมหาราชเป็นเจ้า  พระองค์ ครองราช พ.ศ. ๒๑๙๙- ๒๒๒๕ นาน ๒๖ ปี 

รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระสงฆ์อรัญวาสีศึกษาพระกัมมัฏฐานเริ่มมีน้อยลง เพราะศาสนาคริสต์ เริ่มเข้ามาเผยแพร่ในกรุงศรีอยุธยา และพระสงฆ์ไปศึกษาทางกวีกันมาก พระพนรัต (บุญ) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อจาก พระพนรัต (มาก)

     พระพรหมมุนี (ใหญ่) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำประสพ อยุธยา    ท่านเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลงพระตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ราธิราช  ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระพรหมมุนี(ใหญ่)  ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อมาจาก พระพนรัต (มาก) พร้อมทั้งได้ศึกษาวิชาลงตะกรุด พระมหาจักรพรรดิ์ จากพระพนรัต (มาก) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ด้วย
      พระยันต์ พระมหาจักรพรรดิ์ ใช้แผ่นทองคำ กว้าง ยาว ๑ คืบ  ลงด้วยพระพุทธคุณ ๕๖ อักขระ  ลงด้วยพระธรรมคุณ ๓๘ อักขระ ลงด้วยพระสังฆคุณ ๑๔ อักขระ รวมเป็น ๑๐๘ อักขระ ลงตามวิธีเดินตาม้าหมากรุก เมื่อเข้าตากลางข้างใน ให้ถอดแบบ ตรีนิสิงเห ลงพระคาถาในพระคัมภีร์รัตนมาลา  ให้ทำวันพฤหัสบดี ๙ ค่ำ  ๔ ค่ำ ๗ ค่ำ เป็นข้างขึ้น เป็นวันสิทธิโชค  วันอมฤตโชค วันมหาสิทธิโชค
    พระกริ่ง นวะโลหะ   ตำหรับประจำวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว  ประกอบด้วยโลหะอันเป็นมงคล ๙ ชนิด   ๑.ชินหนัก หนึ่งบาท ๒. เจ้าน้ำเงินหนัก   สองบาท ๓. พญาเหล็กละลายตัวหนัก สามบาท ๔. บริสุทธิ หนัก สี่บาท  ๕. ปรอทบริสุทธิ์หนัก  ห้าบาท ๖. สังกะสี หนัก หกบาท ๗. ทองแดง หนัก เจ็ดบาท  ๘. เงิน  หนัก แปดบาท  ๙. ทองคำหนัก   เก้าบาท ให้ทำวันพฤหัสบดีข้างขึ้น   เก้าค่ำ สี่ค่ำ เจ็ดค่ำ  อันเป็นวันสิทธิโชค วันอมฤตโชค วันมหาสิทธิโชค  ตะกรุดพระมหาจักรพรรดิ์  พระยอดธง พระกริ่งนวโลหะ  เป็นของสืบเนื่องมาแต่พระพนรัต (จวน) พระสังฆราชา ฝ่ายซ้าย  วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว องค์ปฐมเจ้าอาวาส        
๑๙.สมเด็จพระญาณมุนี  พระสังฆราชาฝ่ายขวา เคยทรงเป็นพระสังฆราช ฝ่ายซ้าย มาก่อน ทรงมีพระนามเดิมว่า  สิงห์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระสังฆราชฝ่ายขวา ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวา พระองค์แรกของกรุงศรีอยุธยา ที่สถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา 

เดิมสมเด็จพระญาณมุนี (สิงห์) ท่านเป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสัจจะญาณมุนี อยู่ วัดพญาแมนพระองค์ท่านทรงเป็นพระราชาจารย์ ของสมเด็จพระเพทราชา แต่ครั้งพระเพทราชา ยังทรงผนวชเป็นภิกษุภาวะ อยู่ใน วัดพญาแมน สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช ทรงเป็นพระราชาจารย์ ประทานพระโอวาทานุศาสตร์ในสมณะกิจทั้งปวงมีพระคุณมาก มาแต่กาลก่อน กับสมเด็จพระเพทราชา ครั้นสมเด็จพระเพทราชา ขึ้นครองราชย์ สมบัติในกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงดำริที่จะสนองพระคุณพระอาจารย์ให้ถึงขนาด ต่อมาตำแหน่ง พระเทพมุนี ในวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วว่างลง สมเด็จพระเพทราชาจึงเลื่อนสมณะศักดิ์ พระศรีสัจจะญาณมุนี(สิงห์) เป็นที่พระเทพมุนี ย้ายมาสถิต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ต่อมาตำแหน่งพระพนรัต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ว่างลง สมเด็จพระเพทราชา จึงสถาปนาให้พระเทพมุนี (สิงห์) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ตั้งเป็นพระสังฆราช ฝ่ายอรัญวาสี พระสังฆราชฝ่ายซ้ายที่ พระพนรัต และเป็นเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วด้วย ต่อมาตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวา ว่างลงอีก สมเด็จพระเพทราชา จึงได้สถาปนาพระพนรัต (สิงห์) เป็น พระสังฆราชฝ่ายขวา ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณมุนี ตำแหน่งพระสังฆราช ฝ่ายขวา สถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ดังเดิม ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชานั้นเอง สมเด็จพระเพทราชา ทรงครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๒๕–๒๒๔๐ นาน ๑๖ปี สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช สิ้นพระชนม์ในรัชกาลนี้ สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช (สิงห์) ทรงศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อจากพระพนรัต (มาก) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว สมเด็จพระญาณมุนีพระสังฆราช (สิงห์) ทรงดำรงตำแหน่งต่างๆทางคณะสงฆ์ดังนี้ ๑. ดำรงตำแหน่ง พระศรีสัจญาณมุนี (สิงห์) อยู่วัดพญาแมน ต่อมาตำแหน่งพระเทพมุนี วัดป่าแก้ว ว่างลง จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาสถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นที่ พระเทพมุนี สถิตอยู่วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ซึ่งตรงกับสมัยที่พระพนรัต (บุญ) ครองวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อยู่ ๒. ดำรงตำแหน่งพระพนรัต สังฆราชฝ่ายซ้าย เนื่องจากพระพนรัต(บุญ) มรณภาพลง ๓.ดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ สิ้นพระชนม์ลง สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช (สิงห์) บรรพชา-อุปสมบท อยู่ที่วัดพญาแมน ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา กับ พระพนรัต (มาก) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ครั้งดำรงตำแหน่งพระศรีสัจญาณมุนี ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ดำรงตำแหน่งพระพนรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย ในรัชกาล สมเด็จพระเพทราชา ดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราชฝ่ายขวา ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ๆ สร้างวัดตำหนักถวาย พระพนรัต (สิง) ซึ่งเป็นบรมราชาจารย์

พระศรีสัจญาณมุนี(สิง) อยู่ วัดพญาแมน สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช สิ้นพระชนม์ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พระพนรัต (แปร) เป็นสัทธิวิหาริกศึกษาพระกัมมัฏฐาน กับ สมเด็จพระญาณมุนีพระสังฆราช เมื่อคราวที่ พระพนรัต (สิงห์) ได้รับการสถาปนา ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราชนั้น ตำแหน่งพระพนรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว จึงว่างลง สมเด็จพระเพทราชา จึงทรงสถาปนา พระเทพมุนี (แสง) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งพระพนรัต (แสง) เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี แทนตำแหน่งที่ว่าง พระพนรัต (แสง) ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อกับ พระพนรัต (บุญ) พระพนรัต (แสง) มรณภาพ ในปลายรัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา ปีเดียวกันกับ สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช ทรงสิ้นพระชนม์ พระพนรัต (แสง) พระองค์ท่านมี ถานานุกรมองค์หนึ่งคือ พระครูวินัยธรสิงห์ ท่านพระครูวินัยธร(สิงห์) ท่านเป็นพระอาจารย์บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ให้กับพระพุทธาจารย์ (แดง) พระพุทธาจารย์ (สี ) วัดโบสถ์ ต่อมา เปลี่ยนนามวัด เป็นวัดโบสถ์ราชเดชะ สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กาลต่อมา พระพุทธาจารย์ ทั้งสองพระองค์ ได้รับหน้าที่ เป็นเจ้าคณะกลางฝ่ายอรัญวาสี เป็นคณะที่ทรงตั้งขึ้นใหม่ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

หมายเหตุ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปนา วัดกุฎีดาว แล้วทรงแต่งตั้งพระราชาคณะที่ พระเทพมุนี เป็นวัดแก้วฟ้า -ป่าแก้ว มาแต่ก่อนนั้น โปรดเกล้าฯให้ตำแหน่งพระเทพมุนี มาเป็นพระราชาคณะประจำ วัดกุฎีดาว อันเป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายสมถะ-วิปัสสนา   ที่พระองค์ทรงสถาปนา

๒๐.พระพนรัต นามเดิมว่า แปร พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ (หลวงสรศักดิ์)

     สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ  พระองค์ทรง ครองราชย์ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๒๔๐–๒๒๔๙ นาน ๑๐ ปี
     พระพนรัต (แปร) ดำรงตำแหน่งมาจนถึง ต้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พระองค์ทรง ครองราชย์ ตั้งแต่  พ.ศ.๒๒๔๙–๒๒๗๕ นาน  ๒๗ ปี พระพนรัต (แปร) นิพพานในต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
     พระพนรัต (แปร) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบมาต่อจาก   สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช (สิงห์) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

๒๑ พระพนรัต มีพระนามเดิมว่า ดำ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พระพนรัต (ดำ) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อจาก พระพนรัต (แปร) ๒๒.พระพนรัต มีพระนามเดิม แก้ว พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (เจ้าฟ้าเพชร) ครองราช พ.ศ.๒๒๔๙–๒๒๗๕ นาน ๒๗ ปี พระพนรัต (แก้ว) ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปลายรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เจ้าฟ้าพร) นับเป็นสมัยสุดท้าย ที่พระพนรัต (แก้ว) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบเต็มรูปแบบ ไม่มีวิชาไสยศาสตร์ หรืออย่างอื่นเข้ามาปะปน พระพนรัต (แก้ว) ศึกษาพระกัมมัฏฐานสืบต่อจาก พระพนรัต (แปร) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว พระพนรัต (แก้ว) พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งพระพนรัต เจ้าคณะอรัญวาสี องค์สุดท้ายของวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในยุคอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเปลี่ยนพระนามพระพนรัต สังฆราชฝ่ายซ้าย วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว มาเป็นพระวันรัต เจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา พระพนรัต (แก้ว) พระองค์นี้ ทรงขึ้นพระกัมมัฏฐาน ให้กับพระอาจารย์สุก เมื่ออุปสมบทในพรรษาแรก โดยการนำของ ท่านพระครูรักขิตญาณ (สี) องค์พระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นประเพณีมาแต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอารามต่างๆต้องนำภิกษุไปขึ้นพระกัมมัฏฐานในสำนักใหญ่ คือวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๔๘๙ ภิกษุสงฆ์ในพระอารามต่างๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์ ต้องมาขึ้นพระกัมมัฏฐาน ณ วัดราชสิทธาราม อันเป็นศูนย์กลางพระกัมมัฏฐานประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๓. พระวันรัต มีพระนามเดิม ใย เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เจ้าฟ้าพร) ครองราช ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๗๕ -๒๓๐๑ นาน ๒๖ ปี

      พระวันรัต (ใย) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา ไม่เต็มรูปแบบ คือไม่จบพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา อย่างสมบูรณ์  พระพนรัต (ใย) ศึกษาพระกัมมมัฏฐานมัชฌิมาสืบต่อจาก  พระพนรัต (ดำ)
     หมายเหตุ  รัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  หลังพระพนรัต(แก้ว)มรณภาพ ลงแล้ว  พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเปลี่ยนตำแหน่ง พระพนรัต จากเจ้าคณะอรัญวาสี ฝ่ายซ้าย มาเป็นตำแหน่ง เจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา  และทรงเปลี่ยนราชทินนามที่ พระพนรัต มาเป็นราชทินนามที่ พระวันรัต แทนตั้งแต่นั้นมา 

๒๔.พระวันรัต มีพระนามเดิม ผา (ศึกษาไม่เต็มรูปแบบ) เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้าอุทุมพร (เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ กรมขุนพรพินิต) ทรงครองราชย์ เป็นเวลา ๑๐ วัน จึงทูลลาออกทรงผนวชอยู่ ณ. วัดประดู่

พระวันรัต (ผา)  เป็นพระวันรัต เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา องค์สุดท้าย ของวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในยุคกรุงศรีอยุธยา พระวันรัต (ผา) ท่านดำรงตำแหน่งมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ครองราชตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๐๑–๒๓๑๐ เป็นเวลา ๙ ปี  (ศึกษากัมมัฏฐานไม่เต็มรูปแบบ)  ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาสืบต่อจาก  พระพนรัต (ดำ), พระวันรัต (ผา)  มรณภาพก่อนกรุงแตก

๒๕.ท่านพระครูปลัด (เขียน) ท่านสถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ท่านเป็นถานานุกรม ของพระพนรัต (แปร) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ท่านเป็นพระถานานุกรม อยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (เจ้าฟ้าเพชร) ครองราชย์ สมบัติ พ.ศ. ๒๒๔๙–๒๒๗๕ อยู่ในราชสมบัติ ๒๗ ปี

    พระครูปลัดเขียน ท่านเป็นพระมหาเถรที่รัก สันโดด มีความมักน้อย ชอบท่องเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ หาความสงบวิเวก เที่ยวกัมมัฏฐานไปตามสถานที่ต่างๆ   เพราะท่านเกิด ความเบื่อหน่าย ภายในวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เวลานั้น วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วเริ่มเสื่อมจากการศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา ภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติพระกัมมัฏฐานแบบเต็มรูปแบบเริ่มมีน้อยลง เริ่มมีวิชาอย่างอื่นเข้ามาปะปนกับพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา ภิกษุทั้งหลายไม่รักษาของเดิม ประพฤติ ปฎิบัติ กันออกนอกลู่ นอกทาง 
    พระภิกษุทั้งหลายต่างหันไปศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาไสยศาสตร์กันมาก แล้วไม่กลับมาปฏิบัติพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา เพิ่มเติมเหมือนอย่างแต่ก่อน พระกรรมฐานมัชฌิมา เริ่มไปเจริญตามวัดอรัญวาสีต่างๆ แต่ไม่เต็มรูปแบบอย่างแต่ก่อน มีอย่างอื่นเข้ามาปะปนกับพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา มากมาย วัดอรัญวาสีในกรุงศรีอยุธยา เช่น วัดโบสถ์ราชเดชะ วัดโรงธรรม วัดกุฎ วัดเจ้ามอน วัดประดู่ วัดกุฎีดาว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงสร้าง วัดสมณะโกฎ   วัดมเหยงค์ วัดศรีอโยธยา เป็นต้น  

วัดทุกวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็น วัดคามวาสี วัดอรัญวาสี จะสอนทั้งสองอย่างคือ ทั้งคันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ เมื่อจะศึกษาคันถะธุระขั้นสูง ก็ต้องไปวัดใหญ่ๆ เช่นวัดหน้าพระธาตุ วัดพุทไธศวรรย์ เป็นต้น และถ้าจะศึกษาวิปัสสนาธุระขั้นสูง ต้องไปศึกษาตามวัดใหญ่ๆ เช่น วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นต้น ท่านพระครูปลัดเขียน ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อจาก พระพนรัต (แปร) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อย่างเต็มรูปแบบ

  ต่อมาตำแหน่ง พระพนรัต หรือพระวันรัต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว  ไม่มีพระมหาเถรที่มีความสามารถมากพอเหมือนแต่ก่อน ในการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบเต็มรูปแบบ พอดีก็มาเสียกรุงเสียก่อน พระวันรัต (ผา) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงเป็นพระองค์สุดท้ายของ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว และของกรุงศรีอยุธยา เพราะกรุงศรีอยุธยา ก็ล่มสลายลง  

แต่ตำนาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน กล่าวว่า วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อยู่ใกล้วัดท่าหอย ฝั่งตรงข้ามคลองคูจามไปทางทิศจะวันออก ประมาณ ๒ เส้น ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าผู้เขียนได้ไปที่วัดท่าหอย เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๐ ยืนอยู่วัดท่าหอย ถามชาวบ้านแถวนั้นว่า ซากเจดีย์ และที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นแต่ไกลๆนั้น เป็นอะไร ชาวบ้านแถวนั้น บอกว่า เป็นวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว แล้วชาวบ้านก็บอกว่า วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วนี้ อยู่ห่างจาก วัดพุทไธศวรรย์ ประมาณ ๕ เส้นในวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วนี้ ชาวบ้านเล่าว่า เดิมชื่อวัดชายทุ่ง พระเจ้าอู่ทองได้ให้ ขุคพระศพเจ้าแก้ว เจ้าไท ที่ฝังไว้วัดนี้ ขึ้นมาถวายพระเพลิงที่วัดชายทุ่งนี้ แล้วสถาปนา วัดชายทุ่งให้เป็น วัดอรัญวาสี ชื่อว่า วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นที่สถิตของ พระพนรัต สังฆราชฝ่ายซ้าย คู่กับวัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งเป็นวัดคามวาสี สังฆราชฝ่ายขวา วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เดิม มีวิหารใหญ่ เจดีย์ปรางค์ เจดีย์เจ้าแก้ว เจ้าไท อยู่ข้างเจดีย์ ปรางค์ คู่กัน แต่สังฆาวาส มีบริเวณกว้างขวางใหญ่โต คือเป็นป่าเสียส่วนมาก เป็นธรรมเนียมของวัดอรัญวาสี ซึ่งจะไม่สร้างเสนาสนะไว้มาก หรือใหญ่โตเกินไป แต่จะรักษาป่าไว้ เพื่อเป็นที่ปฏิบัติ ของพระสงฆ์กรรมฐาน และรักษากัมมัฏฐาน มัชฌิมาแบบดั่งเดิมเอาไว้ ต่อมาสมัยหลังๆพระเจ้าแผ่นดิน สถาปนา พระพนรัต ที่เป็นพระอาจารย์ จะสร้างวัดเล็กในวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วถวาย วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว จึงมีวัดบริวารหลายวัด เช่น วัดเตว็ด วัดบันไดนาค วัดโคกสูง วัดน้อยหน่า วัดตะมะ เป็นต้น

 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ถึงกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จนมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คณะสงฆ์แบ่งออกเป็น สองคณะ คือ
 คณะคามวาสี    สมเด็จพระสังฆราช  เป็นหัวหน้าคณะ  เรียกว่าพระสังฆราชฝ่ายขวา ควบคุมดูแล พระสงฆ์ที่ศึกษาคันถะธุระ    
 คณะอรัญวาสี    มีพระพนรัต  เป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี หรือเรียกว่าพระสังฆราช ฝ่ายซ้าย เดิมพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีมีมาก  ต่อมาจนกระทั้งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  พระสงฆ์อรัญวาสีเริ่มมีน้อยลงมาก   พระสังฆราชฝ่ายซ้ายมีหน้าที่ควบคุมดูแล  พระสงฆ์ที่ศึกษาสมถะ-วิปัสสนาธุระ
 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ดังนี้ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นพระสังฆราช ฝ่ายขวามาแต่เดิม ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายขวา  มาเป็นตำแหน่งเจ้าคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย  ปกครองคณะสงฆ์หัวเมืองภาคเหนือ
 ตำแหน่งพระพนรัต ซึ่งเป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี มาแต่เดิม  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ทรงเปลี่ยน ราชทินนาม   พระพนรัต  เป็นพระวันรัต  เปลี่ยนมาเป็นตำแหน่งเจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา ปกครองคณะสงฆ์หัวเมือง ปักใต้ ตั้งแต่นั้นมา

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเพิ่มการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่งคือ เจ้าคณะกลาง ฝ่ายอรัญวาสี โดยมี พระพุทธาจารย์ เป็นหัวหน้าคณะปกครอง คณะพระสงฆ์ฝ่ายสมถะ-วิปัสสนาในกรุง และหัวเมืองทุกแห่ง รวมทั้งพระครู เจ้าคณะรามัญ พระครู เจ้าคณะลาว ยกเว้นพระครูหัวเมือง การเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ ๑. คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย สมเด็จพระอริยวงษาสังฆราชาธิบดี เป็นเจ้าคณะใหญ่ สถิต วัดหน้าพระธาตุ ปกครองคณะสงฆ์หัวเมืองภาคเหนือ มีพระครู ๒๔ รูป ๒๒ หัวเมือง และหัวเมืองไม่มีพระครู ๒๖ หัวเมือง สมเด็จพระสังฆราชมี ถานานุกรม ๑๐ รูป พระครูสดำปลัดขวา ๑ พระครูเฉวียงปลัดซ้าย ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี คู่สวดขวา ๑ พระครูศรีสุนทรวิจิตร คู่สวดซ้าย ๑ พระครูเมธังกร ๑ พระครูวรวงษา ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ มีพระราชาคณะอยู่ในปกครอง ๑๗ รูป พระพิมลธรรม ๑ พระเทพกวี ๑ พระพรหมมุนี ๑ พระราชมุนี ๑ พระปรากรม ๑ พระราชกระวี๑ พระศรีสมโพธิ์ ๑ พระพากุลเถร ๑ พระญาณสิทธิ ๑ พระอภัยสรณ ๑ พระอภัยสารท ๑ พระอนุรุทร ๑ พระโชติบาล ๑ พระศรีสัจญาณมุนี ๑ พระธรรมนิโรธ ๑ พระญาณรักขิต ๑ พระไตรสรณธัช ๑ ๒.คณะกลางฝ่ายอรัญวาสี มี พระพุทธาจารย์ เป็นเจ้าคณะใหญ่ สถิตวัดโบสถ์ราชเดชะ ปกครองบังคับบัญชา พระสงฆ์ฝ่ายสมถะ-วิปัสสนา มีพระราชาคณะอยู่ในปกครอง ๗ รูป ๗ วัด คือ.. ๑.พระญาณไตรโลกย์ วัดโรงธรรม ๒.พระอุบาฬี วัดกุฎ ๓.พระญาณโพธิ วัดเจ้ามอน ๔.พระธรรมโกษา วัดประดู่ ๕.พระเทพมุนี วัดกุฎีดาว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงสร้าง วัดกุฏีดาว ครั้งเป็นพระอุปราช ๖.พระเทพโมฬี วัดสมณโกฎ ๗.พระธรรมกิติ วัดมเหยงคณ์ รวมทั้ง พระครู เจ้าคณะรามัญ พระครูเจ้าคณะลาว รวมทั้งพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระหัวเมืองทุกแห่ง ยกเว้นพระครูตำแหน่งหัวเมือง ครั้งแรกตำแหน่งพระพุทธาจารย์ มีถานานุกรม ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ วัดโบสถ์ราชเดชะ แต่เดิมมาเป็นวัดราษฎร์เล็กๆ ชื่อว่า วัดโบสถ์ มีพระครูวินัยธรสิงห์ ถานานุกรมของ พระพนรัต (แสง) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว สมัยสมเด็จพระญาณมุนี(สิงห์) พระสังฆราช ครองวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อยู่ในรัชสมัยพระเพทราชา พระครูวินัยธร(สิงห์) แต่ก่อนท่านสถิต อยู่วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ต่อมาย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดโบสถ์ ก่อนสถาปนา พระอารามขึ้นใหม่ กาลต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ขึ้นครองราชย์ แล้ว ทรงสถาปนา วัดโบสถ์ ให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า แล้วพระราชทานนามพระอารามใหม่ว่า วัดโบสถ์ราชเดชะ ด้วยมีพระประสงค์ให้เป็นที่สถิตของ พระพุทธาจารย์ เจ้าคณะกลางอรัญวาสี ที่พระองค์ทรงตั้งเป็นคณะขึ้นใหม่ และทรงอุทิศกุศลถวายพระญาติพระวงศ์ ตำแหน่ง พระพุทธาจารย์ สถิต วัดโบสถราชเดชะ ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามแบบอย่าง พระมหาเถราจารย์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ศูนย์กลางพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของกรุงศรีอยุธยา วัดโบสถ์ราชเดชะ มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลพระอาราม หลังสถาปนาแล้วดังนี้

๑.พระพุทธาจารย์ (แดง) วัดโบสถ์ราชเดชะ ดำรงตำแหน่งในปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ท่านครองอยู่ประมาณ ๒ ปีเศษ ก็มรณภาพ พระพุทธาจารย์ (แดง) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาสืบต่อจาก พระครูวินัยธรสิงห์ วัดโบสถ์ (นามพระอารามก่อนสถาปนาเป็น วัดโบสถ์ราชเดชะ) พระครูวินัยธรสิงห์ เป็นศิษย์วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ถานานุกรมของพระพนรัต (แสง) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว พระพนรัต(แสง) พระองค์นี้ ท่านเป็นพระพนรัต ในสมัยสมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช (สิงห์) ทรงครองวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ซึ่งตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา หรือสมเด็จมหาบุรุษ ๒. พระพุทธาจารย์ (สี) ดำรงตำแหน่งปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงรัชสมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ท่านมรณภาพในรัชกาลนี้พระพุทธาจารย์ (สี) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อมาจาก พระครูวินัยธรสิงห์ วัดโบสถ์ (ก่อนสถาปนา เป็นวัดโบสถ์ราชเดชะ) ๓.พระพุทธาจารย์ (มั่น) สมัยพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาสืบต่อจากพระพุทธาจารย์ (แดง) วัดโบสถ์ราชเดชะ ท่านครองวัดไม่นาน ก็ถึงแก่ มรณภาพ ๔.พระพุทธาจารย์ (ขาว) สมัยพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ศึกษาพระกัมมัฏฐ าน มัชฌิมาสืบต่อจากพระพุทธาจารย์ (แดง) วัดโบสถ์ราชเดชะ ท่านครองวัดไม่นานก็ลาออกจาก เจ้าคณะกลางอรัญวาสี ออกสัญจรจาริกธุดงค์ หาความวิเวกไปตามป่าเขา เพราะเกิดความเบื่อหน่าย ๕.พระพุทธาจารย์ (เฒ่า) สมัยพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ศึกษาพระกัมมัฏฐาน มัชฌิมาสืบ ต่อจาก พระพุทธาจารย์ (สี ) วัดโบสถ์ราชเดชะ ท่านจาริกธุดงค์ ออกจากวัดโบสถ์ราชเดชะก่อนกรุงแตก ออกสัญจรจาริกธุดงค์ หาความวิเวกไปตามป่าเขา ๓.เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา มีพระพนรัต (วันรัต) เป็นเจ้าคณะใหญ่ สถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ปกครองคณะสงฆ์หัวเมืองปักไต้ ที่มีพระครูหัวเมือง ๔๖ รูป ๒๖ หัวเมือง และหัวเมืองที่ไม่มีพระครู ๒๐ เมือง มีฐานานุกรม ๑๑ รูป พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูพรหมสร คู่สวดขวา ๑ พระครูอมรสัท คู่สวดซ้าย ๑ พระครูธรรมคุต ๑ พระครูพุทธบาล ๑ พระครูญาณกิจ ๑ พระครูสังฆรักขิต ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ มีพระราชาคณะอยู่ในปกครอง ๑๗ รูป คือ พระธรรมโคดม ๑ พระธรรมไตรโลกย์ ๑ พระธรรมเจดีย์ ๑ พระโพธิวงษ์ ๑ พระธรรมวิโรจน์ ๑ พระนารท ๑ พระพุทธโฆษา ๑ พระวิเชียรเถร ๑ พระธรรมสารเถร ๑ พระญาณสมโพธิ์ ๑ พระอริยะโคดม ๑ พระอริยะวงษมุนี ๑ พระนิกรม ๑ พระนิโครธญาณ ๑ พระญาณรังษี ๑ พระอริยธัช ๑ พระอริยะมุนี ๑ ตำแหน่ง พระพุทธาจารย์ เป็นเจ้าคณะกลางฝ่ายอรัญวาสี มาปกครองพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ แทน ตำแหน่ง พระพนรัต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ปลายกรุงศรีอยุธยา พระพนรัต วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นพระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสีเดิม เปลี่ยนชื่อเป็น พระวันรัต เป็นเจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ปกครองคณะสงฆ์หัวเมืองปักษ์ใต้ ตำแหน่ง พระวันรัต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแล้ว จะพระราชทาน สัปทนคันหนึ่ง เสลี่ยง พร้อมกับคนหาม มีพระครูหัวเมือง ๔๖ หัวเมือง มีพระครู ๒๖ หัวเมือง ไม่มีพระครู ๒๐ หัวเมือง มี ฐานานุกรมได้ ๑๑ รูป ไว้สำหรับช่วยกิจการศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ คือ ๑ พระครูปลัด ๒.พระครูวินัยธร ๓.พระครูวินัยธรรม ๔. พระครูพรหมสร พระครูคู่สวดขวา ๕. พระครูอมรสัท พระครูคู่สวดซ้าย ๖. พระครูธรรมคุต ๗. พระครูพุทธบาล ๘.พระครูญาณกิจ ๙.พระครูสังฆรักขิต ๑๐. พระครูสมุห์ ๑๑. พระครูใบฎีกา


๒๖. พระครูวินัยธรรมจ้อย สถิตวัดท่าเกวียน ท่านเป็นถานานุกรม ในพระพนรัต (แปร) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ท่านย้ายจากวัดป่าแก้ว มาสถิตวัดท่าเกวียน ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เจ้าฟ้าพร) ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๗๕ -๒๓๐๑ นาน ๒๖ ปี ท่านมีชนมายุมาถึง สมัยพระเจ้าอุทุมพร(เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ กรมขุนพรพินิต อยู่ในราชสมบัติ ๑๐ วัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครองราช พ.ศ. ๒๓๗๕– ๒๓๐๑ นาน ๒๖ ปี ในรัชกาลนี้ มีพระสงฆ์ไทยไปให้การอุปสมบทพระสงฆ์ที่เกาะลังกา เรียกพระสงฆ์ที่พระอุบาลี บรรพชา-อุปสมบทว่า สยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ พระครูวินัยธรรมจ้อย ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา ต่อมาจาก พระพนรัต (แปร)

๒๗.ท่านขรัวตาทอง ทางราชการสงฆ์เรียกท่านว่า พระอธิการทอง สถิตวัดท่าหอย แต่เดิมวัดท่าหอย มีชื่อว่า วัดท่าข่อย ท่านขรัวตาทอง ท่านมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครองราช , พระเจ้าอุทุมพร จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์, (พระที่นั่งสุริยามรินทร์ หรือ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๐๑–๒๓๑๐ นาน ๙ ปี ท่านขรัวตาทอง ท่านเป็นพระอาจารย์บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาองค์แรกของ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย ครั้งพระอาจารย์สุกบรรพชาเป็นสามเณร อยู่ที่วัดท่าหอย ท่านขรัวตาทองท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา สืบต่อมาจาก พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน ศิษย์พระพนรัต (แปร) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว รายนามพระอธิการวัดท่าหอย ๑.พระอธิการทอง หรือ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย (ท่าหอย) ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเสือ ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา ท่านขรัวตาทองศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมากับ พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน ๒.พระอธิการแย้ม วัดท่าข่อย (ท่าหอย) เป็นพระอธิการในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงพระเจ้าเอกทัศน์ สมัยอยุธยา ท่านพระอธิการแย้ม ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมากับ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย

๓.พระอธิการสุก หรือพระอาจารย์สุก (ไก่ เถื่อน) วัดท่าข่อย (ท่าหอย) เป็นพระอธิการ ครั้งแรก ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ สมัยอยุธยา พระอธิการสุกศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาครั้งแรกกับ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย ต่อกับ ท่านพระครูรักขิตญาณ (สี) วัดโรงช้าง พระธรรมภาวนาเถร (อิน) วัดราชาวาส อยุธยา ฯลฯ ๔.พระอธิการสุก หรือ พระอาจารย์ (สุก ไก่เถื่อน) วัดท่าหอย (ภายหลังเรียก วัดท่าข่อย เพี้ยนเป็น วัดท่าหอย) เป็นเจ้าอาวาสครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยพระเจ้าตากสิน สมัยกรุงธนบุรี

   ถึงปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ทรงอาราธนาพระอาจารย์สุก มากรุงเทพ โปรดเกล้าฯให้สถิตวัดพลับ  ถึงรัชกาลที่ ๓ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดราชสิทธาราม

๕.พระอธิการมาก วัดท่าหอย เป็นอธิการในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมากับ พระอาจารย์สุก ไก่เถื่อน วัดท่าหอย ๖.พระอธิการเต็ม วัดท่าหอย เป็นพระอธิการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศึกษาพระกัมมัฏฐาน มัชฌิมากับ พระอาจารย์สุก ไก่เถื่อน วัดท่าหอย ๗.พระอธิการขาม วัดท่าหอย เป็นพระอธิการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมากับ พระอาจารย์สุก ไก่เถื่อน ๘.พระอธิการไปล่ เจ้าอาวาส วัดท่าหอย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมากับ พระอาจารย์สุก ไก่เถื่อน

               คลองคูจาม                                       วัดท่าหอย อยุธยา
 
   ต่อมาถึงปลายรัชกาลที่ ๓ วัดท่าหอยเป็นวัดร้างไม่มีเจ้าอาวาสปกครอง  วัดจึงชำรุดทรุดโทรมลง อย่างมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญ พระพุทธรูปปางต่างที่ทิ้งรกร้างอยู่ ที่วัดท่าหอย  ให้นำเอามาประดิษฐานไว้ที่  กุฏิวิปัสสนา รอบพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม  เมื่อคราวบูรณะซ่อมแซมใหญ่ วัดราชสิทธาราม ประมาณพระพุทธศักราช ๒๓๗๙

๒๘. พระครูรักขิตญาณ มีนามเดิมว่า สี ชาวบ้านเรียกขานนามท่านว่า หลวงปู่สี สถิตวัดโรงช้าง วัดนี้เคยเป็นที่เลี้ยงช้างหลวงมาแต่โบราณกาล วัดนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับประตูเมืองกรุงศรีอยุธยา ด้านเหนือ วัดโรงช้าง อยู่ฝั่งเดียวกันกับวัดพุทไธศวรรค์ ท่านพระครูรักขิตญาณ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาอุปสมบทพระอาจารย์สุก(สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน) ท่านเป็นพระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาเบื้องต้นสามห้องคือ พระปีติ ห้าประการ พระยุคลธรรม หกประการ พระสุข สองประการ และท่านเป็นพระอาจารย์บอกพระบาลีมูลกัจจายน์เบื้องต้น ๓ ผูก ให้กับพระอาจารย์สุกด้วย พระครูรักขิตญาณ (สี) ท่านศึกษากัมมัฏฐาน มัชฌิมา สืบต่อมาจาก พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน ศิษย์พระพนรัต (แปร)วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ๒๙.พระธรรมภาวนาเถร ท่านเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ถือพัดงาสาน ท่านมีนามเดิมว่า อิน ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงปู่อิน พระธรรมภาวนาเถร ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาสืบต่อมาจาก พระพนรัต (แปร) วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว พระธรรมภาวนาเถร ท่านสถิตวัดราชาวาสมาแต่เดิม ท่านศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ บั้นต้น บั้นกลาง บั้นปลาย ที่วัดราชาวาส ท่านเป็นพระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาขั้นสูง ตั้งแต่อานาปานสติ จนถึง พระวิปัสสนากัมมัฏฐาน และบอกพระบาลีมูลกัจจายน์ ขั้นสูง ให้กับพระอาจารย์สุก (ไก่เถื่อน) พระธรรมภาวนาเถร(อิน)ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดราชาวาส ภายหลังวัดราชาวาส เป็นสนามสอบพระบาลีปากเปล่า ของทางราชการสงฆ์ สมัยกรุงศรีอยุธยา แห่งหนึ่ง พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาต่อ และสอบพระบาลี ณ วัดราชาวาส แห่งนี้ ๓๐.ท่านขรัวตา วัดเกาะหงส์ มีนามเดิมว่า จ้าว คนทั้งหลายเรียกท่านว่าท่านขรัวตาจ้าว ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาต่อจาก พระพนรัต (แปร) สำนักวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ท่านได้รับตำราพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาของเก่าเป็นสมุดข่อยไทยดำ ๑ เล่ม ตำราเดินจิตรักษาโรคต่างๆของเก่าสมุดข่อยไทยดำ ๑ เล่ม พระคัมภีร์เทศขึ้นธรรม(พระกัมมัฏฐาน)ฉบับลานสั้น ของเก่า ๑ ผูก จากท่าน พระครูปลัดเขียน ถานานุกรม ของพระพนรัต (แปร) สำนักวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นตำราที่คัดลอก ออกกันต่อๆมาเป็นหลายชุดมาแต่โบราณกาล ครั้งกรุงสุโขทัย กาลต่อมาก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก สามเดือนเศษ ท่านขรัวตาจ้าว เดินทางออกจากวัดเกาะหงส์ แขวงกรุงศรีอยุธยา มาพบพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย กลางทาง กล่าวว่าท่านตั้งใจมาคอยพระอาจารย์สุก เพื่อมอบตำราทั้งสามเล่ม และบอกกัมมัฏฐานขั้นสูง ให้กับพระอาจารย์สุก เพื่อสืบทอดในกาลต่อไปเพราะท่านเห็นว่า พระอาจารย์สุกได้อบรมบ่มวิมุติธรรม มาแก่กล้าแล้ว ควรที่จะได้มรรคผลเบื้องต้นบ้างแล้ว

    ท่านขรัวตาจ้าว วัดเกาะหงส์ ท่านสำเร็จมรรคผลแล้ว มีญาณหยั่งรู้แก่กล้า ท่านพบพระอาจารย์สุก ที่ป่าเมืองธนบุรี แล้วร่วมเดินทางมาด้วยกัน จนถึงวัดพลับร้าง แขวงธนบุรี ท่านขรัวตาจ้าว วัดเกาะหงส์ ได้บอกพระกัมมัฏฐานเพิ่มเติมให้กับพระอาจารย์สุก กล่าวว่าพระอาจารย์สุก ท่านได้มรรคผลขั้นต้น คือพระโสดาปัตติผลที่วัดพลับแห่งร้างนี้ โดยการแนะนำของท่านขรัวตาจ้าว วัดเกาะหงส์   ก่อนที่ทั้งสององค์จะแยกย้ายกันกลับบ้านเกิดของแต่ละท่าน เพราะทราบข่าว พระยาตาก กู้กรุงศรีอยุธยาสำเร็จแล้ว ภายในสามเดือน ท่านขรัวตาจ้าว จึงได้มอบตำราสมุดข่อยไทยดำทั้งสองเล่ม กับพระคัมภีร์เทศขึ้นธรรมของเก่า วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อยุธยา ๑ ผูก ให้กับพระอาจารย์สุก พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา จึงได้สืบทอดต่อๆกันมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงปัจจุบันนี้
     กรุงศรีอยุธยา มีราชวงศ์ปกครอง ๕ ราชวงศ์ ๑ราชวงศ์อู่ทอง  ๒.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๓.ราชวงศ์สุโขทัย ๔.ราชวงศ์ปราสาททอง  ๕. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ๓๕ พระองค์  มีพระพนรัต(พระวันรัต) ประจำวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว  ๒๔ พระองค์