ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Webprasatsana

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จิตที่ควรแก่การงาน

พระไตรปิฎกที่มีอุปมากล่าวถึงเรื่องจิต มีปรากฏอยู่มากมาย เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาโลกุตตระ(เหนือโลกีย์)เน้นเรื่องจิตเป็นพิเศษ

ดังที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกที่ ๑๑(เล่มที่๒๐) อังคุตรนิกาย เอกนิกนิบาต ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า

(๔๖) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดกระเบื้องถ้วยบ้าง

ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น       ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้จักประโยชน์ตนบ้าง 

จักรู้จักประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้จักประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ดวยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี่มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัวฯ


(๔๗)ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋วไม่ขุ่น บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง

ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง  ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้างในห้วงน้ำนั้น   ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด 
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้จักประโยชน์ตนบ้าง รู้จักประโยชน์ผู้อื่นบ้าง รู้จักประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คืออุตริมนุสธรรม
คือความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว



(๔๘) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด
ดูภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติที่อ่อนและควรแก่การงานเหมือนจิต 
ดูกรภิกษุทั้งหลายจิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงานฉันนั้นเหมือนกันฯ
       จิตที่ควรแก่การงาน คือจิตที่ผ่านการอบรมแล้ว นั้นก็แปลว่า งานอบรมจิต เป็นพื้นฐานของการสร้างงานใดๆทั้งหมดทั้งมวล
เพราะถ้าจิตมีคุณภาพ งานก็มีคุณภาพ ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ งานก็ไม่มีคุณภาพ ถ้าต้องการให้งานมีคุณภาพก็ต้องหมั่นฝึกจิตให้มีคุณภาพ


--monk 17:54, 6 เมษายน 2553 (ICT)