ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Wattanansw/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์[แก้]

จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556

ประวัติสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์[แก้]

      การดำเนินงานของสาขาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ มีความร่วมมือกันในการทำงานและการพัฒนาร่วมกันเป็นระยะ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (กสค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รวมถึงสมาคมวิชาชีพในสายการแพทย์ ได้แก่ สมาคมนักสังคมสงเคราะห์การแพทย์ไทย สมาคมนักสังคมสงเคราะห์จิตเวช และคณะบุคคลที่เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพหลายท่านจากกระทรวงต่างๆ ได้ร่วมมือกัน ผลักดันให้มีการส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์มาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการดำเนินงานของนักสังคมสงเคราะห์มาจากกระทรวง หน่วยงานที่หลากหลาย การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพที่เป็นอยู่แต่เดิมจึงขึ้นกับความรับผิดชอบของกระทรวงแต่ละสังกัดที่กำหนดคุณลักษณะงานที่แตกต่างกันไป การรวมตัวกันจึงมีเป้าหมายให้เกิดการผลักดันวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ได้รับการยอมรับในมาตรฐานคุณภาพของการทำงาน และมีองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ตามกฎหมาย
      การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ในระยะต้น เป็นการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 โดยสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรและมาตรฐาน สำนักงาน กสค. ให้รับผิดชอบจัดทำหลักเกณฑ์การส่งเสริมมาตรฐานของนักสังคมสงเคราะห์ จัดทำคู่มือ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและเชิญชวนให้หน่วยงานทางสังคมสงเคราะห์ส่งนักสังคมสงเคราะห์เข้าสู่ระบบการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ (มสค.) ขณะเดียวกันยังได้รับความร่วมมือจากสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO และนักวิชาการต่าง ๆ ร่วมกันจัดทำมาตรฐานขององค์กรสาธารณประโยชน์ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546
       ปัจจุบันข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีนักสังคมสงเคราะห์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว จำนวน 1,070 คน (ข้อมูลจากคณะคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรและมาตรฐาน, กสค.,7 มกราคม 2558)