ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Veerasak1234567890

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นานราชการ[แก้]

วัดราษฎร์บูรณะ

นานเดิม[แก้]

วัดนอก

ที่ตั้ง[แก้]

เลขที่ 377 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

สังกัด[แก้]

มหานิกาย

เริ่มสร้าง[แก้]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ 2310 (กรุงแตก)

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา[แก้]

ครั้งแรกไม่ปรากฏ

เนื้อที่พระราชทานวิสุงคามสีมา[แก้]

กว้าง 9.00 เมตร ยาว - เมตร

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา[แก้]

ครั้งหลัง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ 2539

เนื้อที่พระราชทานวิสุงคามสีมา[แก้]

กว้าง 9.00 เมตร ยาว 25.50 เมตร

พื้นที่ตั้งวัด[แก้]

เดิมจากหลักฐานโฉนดที่ดิน เมื่อครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าแผ่นดินสยาม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เป็นที่ธรณีสงฆ์วัดราษฎร์บูรณะ ตามวาระที่ 4353 หมายเลขที่ดินที่ 54 คิดเป็นเนื้อที่ 3216 ตารางวา หรือ 8 ไร่ 16 ตารางวา ต่อมาจากการสำรวจของเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ 18249 เล่มที่ 138 หน้าที่ 49 เลขที่ 685 หน้าสำรวจ 1010 ให้แก่วัดราษฎร์บูรณะ อยู่บ้านเลขที่ 14 ปัจจุบันเลขที่ 377 หมู่ที่ 10 ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 56 ตารางวา ออก ณ วันที่ 27 เดือนเมษายน 2520

อาณาเขต[แก้]

ทิศตะวันออก ติดกับคลองราษฎร์บูรณะซึ่งแยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยามีสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะตั้งอยู่ตรงกันข้ามคนละฝั่งคลองกับวัด ทิศตะวันตก ติดกับที่เอกชน

ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดแนว สุดเขตวัด

ทิศใต้ ติดกับถนนราษฎร์บูรณะตลอดแนวจนสุดเขตวัด <https://lh3.googleusercontent.com/a_NuaUCd0OOxL1-lOTsox48CpjhdMDX6DBOqNM8AN7EfVRW2xOzUVxMP2LX5T6_Ay2jupA=s128> Example.jpg บรรยากาศรอบวัด

ศาสนวัตถุในวัด[แก้]

1 อุโบสถหลังเก่า สร้างมานานคู่กับวัด เป็นที่ประกอบพิธี ทำวัตรสวดมนต์ทำสังฆกรรม เมื่อโทรมตามกาลเวลา ปัจจุบันจึงได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ ในพื้นที่เดิมแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ  2538  เป็นทรงไทยคอนกรีต เสริมเหล็ก กว้าง  9 เมตร ยาว  25.50 เมตร
    ลักษณะอุโบสถหลังเก่า มีความงดงาม เป็นอุโบสถแบบมีพะไลร้อม หมายถึง อาคารของอุโบสถแนวรอบนอกสุดตั้งเป็นแนวเสารับปีกนกชายคาโดยรอบ ส่วนผนังอาคารอยู่เลยตัดเข้าไปอีกแนวหนึ่ง  อาคารของอุโบสถหลังเก่าจึงมีระเบียงทางเดินโดยรอบได้ ซึ่งการก่อสร้างอุโบสถในสมัยนั้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตก อยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย

ช่อฟ้า อุโบสถทำด้วยไม้สัก มีจงอยปากตรงส่วนกลางเรียวโค้งปรายสะบัดอย่างอ่อนช้อยงดงาม ใบระกา ทำด้วยไม้ เป็นคลีบเรี้ยวโค้งแหลม สันนูน เรียงระดับช่อฟ้าอย่างงดงามตลอดแนวของตัวลำยอง ส่วนหางหงส์ เป็นรูปนาคเสี้ยว เป็นโครงของนาค 3 เศรียรซ้อนกันอย่างงดงาม โครงสร้างของหลังคา เช่น อกไก่ แปลาน แปงวง แปหัวเสา แปปลายเต้าด้วย

      เสมาและซุ้มเสมาเก่า ที่แสดงเขตสำหรับทำสังฆกรรมของพระภิกษุในวัดราษฎร์บูรณะ โดยซุ้มเสมา มีลักษณะซุ้มเสมายอดเจดีย์ ซึ่งนิยมสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย รูปทรงมียอดโดยทำเรือนซุ้มอย่างทรงปราสาท

2 หอระฆังและหอกลอง นายชุน กาญจนกุญชร สร้างเมื่อ ปีพ.ศ 2474 ปัจจุบันเสื่อมโทรมลงไปมาก แต่ก็สามารถใช้งานได้ มีลักษณะเป็น 2 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นหอกอง ชั้นที่ 2 เป็นหอระฆัง เป็นทรงยอดเจดีย์ มีเทพพนม4ทิศ <https://lh3.googleusercontent.com/Mjng5o-VCFRjU3_loGnzu-prQK88dI0nnuo_wUyAusEiVt4HrvePjV63pRh7H5OCDRuWzQ=s85> Example.jpg|บุโบสถ

ปูชนียวัตถุสำคัญภายในวัด[แก้]

พระพุทธรูปศิลา หรือชาวบ้านเรียก หลวงพ่อพุทธศิลา เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยศิลาหรือหินทรายละเอียดอ่อน มีขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สามารถถอดชิ้นส่วนออกได้ เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่คู่กับวัด สมัยก่อนชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธามาก ตอนหลังได้สร้างพระประธานอุโบสถเป็นปูน ซึ่งองค์ใหญ่กว่าเดิม จึงได้นำพระพุทธรูปศิลาบรรจุไว้ในฐานพระประธานในอุโบสถ ต่อมาพระพุทธรูปศิลาให้ชำรุดตามกาลเวลา จึงได้เอาปูนปั้นทับพระพุทธรูปศิลาอีกชั้นหนึ่งและประดิษฐานไว้ด้านหลังอุโบสถ

  ส่วนพระพุทธรูป องค์ประธานในอุโบสถ วัดราษฎร์บูรณะ ได้จัดสร้างใหม่ ด้วยปูนรูปแบบ ปางมารวิชัย มีความงดงาม มีพระพักตร์เอิมอิ่ม เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตามีพุทธลักษณะอ่อนช้อย งดงามสมกับยุคร่วมสมัยที่ได้นำเอารูปแบบพระพุทธรูปที่เคยสร้างสมัยก่อนมาสร้างใหม่แบบร่วมสมัย
 ส่วน พระพุทธรูปองค์เล็กจำนวน 3 องค์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ประจำวัด เนื้อโลหะ  มีลักษณะการห่มลายจีวรดอกพิกุล พระรัศมีเป็นเปลว  เปลวรัศมีสามารถถอดแยกส่วนได้พระพักตร์ สี่เหลี่ยมเคร่งขรึม พระเมาลีขนาดเล็ก สังฆาฏิพาดยาว ในอุโบสถวัดราษฎร์บูรณะ มีจำนวน 3 องค์ ได้แก่ ปางมารวิชัย 2 องค์ ปางสมาธิ 1 องค์ พระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทางวัดได้ดำเนินการปิดทองใหม่แล้วอัญเชิญประดิษฐานไว้ในอุโบสถ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่ของทางวัดอีกหลายองค์ที่เก็บไว้ในพระวิหาร และส่วนหนึ่งประดิษฐานไว้ ณ  กุฏิเจ้าอาวาสอีก  3  องค์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาสำหรับองค์ที่ประดิษฐานไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาสปัจจุบันนั้น ระบุใต้ฐานองค์พระพุทธรูปไว้แสดงถึงเจตนาผู้สร้างและปี พ.ศ ที่ได้สร้างไว้ว่า แม่เสมสร้าง ไว้ให้หลวงเวชการพิเศษเมื่อ พ.ส 2479
นอกจากนี้ ยังมี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านชุมชนราษฎร์บูรณะให้ความเคารพศรัทธาอย่างมาก คือหลวงพ่อพระพุทธโสธร จำลอง สร้าง เมื่อ ปีพ.ศ 2599 แม้จะเป็นพระพุทธโสธรจำลองก็ตาม แต่ก็เกิดความผูกพันต่อคนในชุมชนราษฎร์บูรณะอย่างมาก และทางวัดได้อัญเชิญหลวงพ่อโสธรจำลอง เป็นองค์ปิดทองงานประจำปีของวัดติดต่อกันมานานหลาย 10 ปีจนเป็นที่รู้จักและเคารพศรัทธาของคนในชุมชนอย่างมาก 

ลำดับอดีตเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน[แก้]

ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า มีเจ้าอาวาสแล้วกี่รูป แต่เท่าที่สืบได้คำบอกเล่าของผู้สูงอายุในท้องถิ่นและหลักฐานบางอย่างประกอบ จัดลำดับได้ดังนี้

1  พระอาจารย์ไหล
2  พระอาจารย์เอี่ยม
3  พระอาจารย์เปีย
4  พระอาจารย์เมี้ยน
5  พระอาจารย์ร่วม
6  พระอาจารย์ทองอยู่
7  พระครูวิจิตรบูรณาการ
8  พระครูสิริวีราภรณ์ ( บุญมี วีรปญฺโญ )

9 พระมหาสมศักดิ์ ทนฺตจิตฺโต ( พ.ศ 2557-ปัจจุบัน )

บริหารพัฒนาวัดราษฎร์บูรณะในด้านต่างๆ สืบค้นประวัติข้อมูลและหลักฐานการพัฒนาวัดเป็นช่วงช่วง ได้เพียง 3 ยุคได้แก่

ยุคพระครูวิจิตรบูรณาการ เป็นยุคฟื้นฟู บูรณะปฏิสังขรณ์ วัดราษฎร์บูรณะ เช่นอุโบสถที่ทรุดโทรมวัดได้ดำเนินการรื้อถอนออกแล้วดำเนินการสร้างใหม่ ณ บริเวณเดิมพร้อมกับออกแบบโครงสร้างอุโบสถแบบร่วมสมัย เดิมเป็นอุโบสถมีเสาพะไลรอบ ปัจจุบันสร้างแบบมุขลด คอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งในยุคพระครูวิจิตรบูรณาการ มุ่งเน้นการพัฒนาถาวรวัตถุต่างๆ แต่ยังไม่เรียบร้อยทั้งหมดท่านก็ได้มรณภาพก่อน

ต่อมา คือ พระครูสิริวีราภรณ์ เป็นยุคที่พัฒนาทางด้านถาวรวัตถุในด้านต่างๆ ซึ่งพระครูสิริวีราภรณ์ ได้สานต่องานพัฒนาก่อสร้างต่างๆ จนสำเร็จ พร้อมกับเป็นยุคที่ท่านมีบทบาทในการปกครองคณะสงฆ์ ในระดับเขตเป็นเจ้าคณะเขตราษฎร์บูรณะ และท่านเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  และมีตำแหน่งเป็นรองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ด้วย จนกระทั่งมรณภาพ
พอถึงยุคปัจจุบัน มีพระมหาสมศักดิ์ ทนฺตจิตฺโต ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ เมื่อ   ปีพ.ศ  2557  ถือว่าเป็นยุคพัฒนาบุคลากรมากกว่าวัตถุซึ่งท่านได้มีนโยบายมุ่งเน้นด้านการส่งเสริมการศึกษา เนื่องจากการก่อสร้างถาวรวัตถุ อดีตเจ้าอาวาส แต่ละยุคได้สร้างไว้พอเพียงแก่การใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมต่างๆ แล้วเช่น อาคารสถานที่ต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเปิดการเรียนการสอนได้ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ จึงนำไปสู่การเปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี ในนามสำนักเรียนคณะเขตราษฎร์บูรณะ และได้เสนอแต่งตั้งเป็นสำนักศาสนศึกษาวัดราษฎร์บูรณะ โดยมอบหมายให้ พระมหาไพบูลย์ ชนเทโว เป็นอาจารย์ใหญ่แผนกบาลี เปิดทำการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ในปีพ.ศ  2558  ปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรสนใจเข้ามาศึกษาภาษาบาลีมากขึ้นและมีการสอบบาลีสนามหลวงได้ทุกปี
นอกจากนี้ ท่านได้พัฒนาระบบการบริหาร ให้เกิดความเป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ โดยวางกฎระเบียบต่างๆ ขึ้นมาใหม่ เช่น ระเบียบฌาปนสถาน ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ  2557 เป็นต้น

[1]

  1. หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น แปล ฉบับวัดราษฎร์บูรณะ แขวงบางปะกอก เขต ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140 พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ 2561 จำนวน 3,500 เล่ม