ผู้ใช้:Tanathorn
ยินดีต้อนรับสู่หน้าทดลองเขียน! พื้นที่เพื่อทดลองเขียนหรือแก้ไขวิกิพีเดีย
ในการแก้ไขหน้าทดลองเขียนนี้ คุณสามารถแก้ไขรหัสต้นฉบับ (แถบ "แก้ไขต้นฉบับ" ด้านบน) หรือใช้วิชวลเอดิเตอร์ (แถบ "แก้ไข" ด้านบน) แล้วทำการเปลี่ยนแปลง และคลิกปุ่ม "เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง" เมื่อเสร็จสิ้น คุณสามารถคลิก "แสดงตัวอย่าง" เพื่อดูตัวอย่างของหน้าที่คุณกำลังบันทึก หรือ "แสดงการเปลี่ยนแปลง" เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิม ไม่ว่าผู้ใช้ใดก็สามารถแก้ไขหน้านี้และมีการเก็บกวาดอัตโนมัติเป็นประจำ (สิ่งที่คุณเขียนจะไม่อยู่ถาวร) หากคุณล็อกอิน คุณสามารถเข้าถึงหน้าทดลองเขียนส่วนตัวของคุณ (ลิงก์ "ทดลองเขียน" ที่อยู่บนสุดของทุกหน้า อยู่ถัดจากชื่อผู้ใช้ของคุณ) กรุณาอย่าใส่เนื้อหาซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ก้าวร้าวหรือหมิ่นประมาทในหน้าทดลองเขียนนี้ สำหรับสารสนเทศและทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าใจ ออกความเห็นและแก้ไขวิกิพีเดีย ดู การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย |
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นองค์กรที่รวมคนทำงานด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในการขับเคลื่อนแนวคิด นโยบาย กฎหมาย เพื่อพิทักษ์ และสร้างเสริมสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในสังคม
ประวัติ
[แก้]สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เดิมคือ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ก่อตั้งเมื่อปี 2550 เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งในทางวิชาการและการใช้มาตรฐานทางกฎหมาย เช่น การดำเนินคดี โดยมีความหวังร่วมกันว่า จะสามารถสร้างสรรค์บรรทัดฐานทางกฎหมายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมในสังคม ต่อมาเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล ในชื่อว่า สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน[1]
วัตถุประสงค์และภารกิจ
[แก้]- ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
- ส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่สิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ให้ประชาชนตื่นตัว และยึดถือปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน
- เสริมสร้างนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายนักสิทธิมนุษยชนให้กว้างขวาง มีสถานะและบทบาทเป็นที่ยอมรับในสังคม
- ส่งเสริมและคุ้มครองการเข้าถึงความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสามารถร้องเรียน ดำเนินมาตรการทางกฎหมาย ฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งรับมอบอำนาจดำเนินคดี หรือดำเนินการใด ๆ ในทางกฎหมาย แทนบุคคลต่าง ๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส.
- ส่งเสริมการรณรงค์และผลักดันนโยบายและกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน
- ร่วมมือกับภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส
ฝ่ายเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่าย
[แก้]เป็นผู้จัดอบรมเสริมสร้างแนวคิดและศักยภาพนักกฎหมาย สมาชิกและประชาชน รวมทั้งบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ ศาล ฯลฯ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางกฎหมาย
ฝ่ายคดียุทธศาสตร์
[แก้]เป็นฝ่ายประสานงานนักกฎหมายและทนายความให้ความช่วยเหลือคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน
ฝ่ายวิชาการและรณรงค์
[แก้]เป็นแหล่งฐานข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนและการศึกษาวิจัย พิจารณากฎหมายและร่างกฎหมายตลอดจนผลักดันการใช้และการตีความกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน ใช้งานวิชาการสนับสนุนงานคดี เผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั้งในทางวิชาการและในการดำเนินคดีและสื่อสารประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขไปสู่สาธารณะ สร้างการเรียนรู้ประเด็นสิทธิมนุษยชนในสังคม เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนทางสังคมต่อไป
กิจกรรมของสมาคม
[แก้]- เสริมสร้างศักยภาพของนักกฎหมายและเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน รวมทั้งทำงานกับอาจารย์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อเปิดมุมมอง สร้างความเข้าใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
- เสนอความเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายและการกระทำที่ละเมิดหรือจำกัดสิทธิมนุษยชน เสนอและผลักดันร่างกฎหมายภาคประชาชน และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ให้ความช่วยเหลือคดีสิทธิมนุษยชนที่เป็นคดียุทธศาสตร์ ส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่ดี
- ส่งเสริม ผลักดันให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนคณะนิติศาสตร์มีมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนที่กว้างขวางมากขึ้น ขยายฐานสมาชิก การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในแต่ละภาค และในสถาบันการศึกษา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศนายทะเบียนสมาคม ประจำกรุงเทพมหานคร เรื่องการจัดตั้งสมาคมราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนที่ 25ง วันที่ 7 มีนาคม 2556