ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:TanatasW/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

TanatasW (คุย) 14:39, 29 พฤศจิกายน 2567 (+07)   



ศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (Thailand and ASEAN Information Center - TAIC)[1]

[แก้]
ภาพบรรยากาศห้องสมุดและห้องอ่านหนังสือภายในศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน ชั้น 6 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ

ศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (Thailand and ASEAN Information Center - TAIC) เป็นห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) ที่ตั้งอยู่ ณ ชั้น 6 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] ให้บริการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีทรัพยากรกว่า 140,000 รายการ

ประวัติความเป็นมา

[แก้]

ศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน เดิมชื่อ ศูนย์เอกสารประเทศไทย (Thailand Information Center - TIC) แรกเริ่มเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด (MDRC) และหน่วยงานวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (RDC-T) กับองค์การวิจัยโครงการชั้นสูง (ARPA) กระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา

จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2511 ขณะนั้นศูนย์เอกสารฯ ดำเนินงานโดย The Battelle Memorial Institute - Columbus Laboratories ภายใต้สัญญาที่ลงนามกับ ARPA ถือได้ว่าเป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย โดยมุ่งเน้นด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มผู้ใช้เป็นเจ้าหน้าที่ของ MDRC และ RDC-T บุคลากรหน่วยงานภาครัฐทั้งจากไทยและสหรัฐอเมริกา และนักวิจัยอิสระหรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานและทำวิจัยเกี่ยวกับปัญหาด้านความมั่นคงและการพัฒนาประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2514 ARPA ได้เตรียมปิดการดำเนินงานในประเทศไทย ดังนั้น ศูนย์เอกสารฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ ARPA จึงจําเป็นต้องยุติงานตามไปด้วย แต่ด้วยทรัพยากรสารสนเทศอันทรงคุณค่ากว่า 20,000 รายการ ที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการศึกษาและวิจัยในประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้แจ้งความจำนงขอรับศูนย์เอกสารฯ มาดำเนินการ โดยมีผู้แทนจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้อนุมัติ

ศูนย์เอกสารฯ โอนย้ายมาเป็นหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2514 และเปิดทำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2515 ณ ชั้นหนึ่ง ตึกสาม ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 1 เมษายน 2525 ศูนย์เอกสารประเทศไทยย้ายมาอยู่ที่อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ หรือ อาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร ในปัจจุบัน รวมเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานวิทยทรัพยากร ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] โดยการรวมหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน คือ หอสมุดกลาง ศูนย์เอกสารประเทศไทย และศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง[4] เปิดให้บริการแก่สาธารณะเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2525[5]

การบริหารงาน

[แก้]

ศูนย์ฯ ดำเนินงานในลักษณะห้องสมุดเฉพาะ ให้บริการเอกสารข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่:

สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียนภายในศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน โดยรวบรวมหนังสือ รายงานวิจัย รายงานการประชุม และสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ในวงจำกัด (Grey Literature) ทางด้านสังคมศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และการพัฒนาประเทศ  เน้นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น ช่วงทศวรรษที่ 1960 จนถึงปัจจุบัน

สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน[6] รวบรวมหนังสือ รายงานวิจัย รายงานการประชุม และสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ในวงจำกัด (Grey Literature) ประมาณ 100,000 ชื่อเรื่อง ทางด้านสังคมศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และการพัฒนาประเทศ เน้นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ ยุคหลังสงครามเย็น ช่วงทศวรรษที่ 1960 (พ.ศ. 2500) จนถึงปัจจุบัน มีการคัดเลือกสารสนเทศมาจัดทำฐานข้อมูลเฉพาะสารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน พร้อมบทคัดย่อ (Abstract) และดรรชนีสืบค้น (Index) เป็นภาษาอังกฤษ จัดเก็บด้วยระบบกำหนดรหัสเอกสาร (numbering) ปัจจุบันมีการคัดเลือกทรัพยากรสารเทศยุคหลังสงครามเย็นที่ได้รับมาจากองค์การวิจัยโครงการชั้นสูง (ARPA) ตั้งแต่สมัยก่อตั้ง รวมถึงเอกสารเกี่ยวกับผู้พลัดถิ่นในประเทศไทย ช่วงทศวรรษที่ 1970 จาก The Committee for Coordination of Services to Displaced Persons in Thailand (CCSDPT) มาจัดทำเป็นดิจิทัลคอลเลกชันเพื่อให้บริการแบบ Free Access

ภาพตู้หนังสือหายากซึ่งเป็นหนังสือส่วนพระองค์ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ในห้องหนังสือหายาก ศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน ชั้น 6 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนังสือหายาก รวบรวมหนังสือเก่าหายากซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษ มีประวัติการพิมพ์ที่สำคัญ มีรูปเล่มสวยงามตามยุคสมัย เป็นเอกสารปฐมภูมิในด้านการศึกษาและเป็นหนังสือที่มีประวัติการครอบครองมาก่อน หรือ เป็นหนังสือที่ได้รับพระราชทาน ประทาน หรือบริจาคจากเจ้านาย หรือบุคคลสำคัญ ศูนย์ฯ มีหนังสือหายากกว่า 20,000 รายการ อาทิ

มุมจุฬาภารัตคดีสถาน[8] จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสถานฑูตอินเดียประจำประเทศไทย เพื่อน้อมถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับประเทศอินเดียใน 3 ศาสตร์ ได้แก่ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บางเล่มไม่มีตีพิมพ์ในประเทศไทย

มุมสารสนเทศไต้หวันและจีนศึกษา (Taiwan Resource Center for Chinese Studies: TRCCS)[9] บริการทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน มีตั้งแต่หนังสือทำเลียนแบบหนังสือหายากของจีน (Manuscript Replica) จนถึงหนังสือปัจจุบันพร้อมบริการคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของ National Central Library, Taiwan (NCL) และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดยหน่วยงานหลักของไต้หวัน

ทรัพยากรดิจิทัล

[แก้]

ศูนย์ฯ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล Chula DigiVerse[10] ซึ่งเป็นคลังสารสนเทศดิจิทัลแบบ Open Access รวมถึงการพัฒนาระบบการสงวนรักษาดิจิทัลเพื่อความยั่งยืนของข้อมูลระยะยาว เอกสารดิจิทัลด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทศวรรษ 1960 และคลังสารสนเทศดิจิทัลและนิทรรศการจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย (King Chulalongkorn Digital Archives) เป็นคลังข้อมูลหนังสือหายากฉบับดิจิทัลและนิทรรศการออนไลน์ เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่พระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประเทศไทย นำเสนอข้อมูลพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ผลงานพระราชนิพนธ์ นอกจากนั้นยังให้บริการคลังภาพถ่ายหายาก หนังสือหายาก วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ฉบับดิจิทัล เกี่ยวข้องกับทั้งสองพระองค์

อ้างอิง

[แก้]
  1. โครงสร้างองค์กรศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน
  2. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1961537.pdf
  3. "Timeline". www.car.chula.ac.th.
  4. "โครงสร้างองค์กร - หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". www.car.chula.ac.th.
  5. https://www.okmd.or.th/upload/pdf/chapter7_kc.pdf
  6. "สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานวิทยทรัพยากร". www.car.chula.ac.th.
  7. "หน้าแรก [จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย]". kingchulalongkorn.car.chula.ac.th.
  8. "Taiwan Resource Center for Chinese Studies". www.car.chula.ac.th.
  9. "Taiwan Resource Center for Chinese Studies". www.car.chula.ac.th.
  10. ResponsiveWebInc. "Chula DigiVerse: Digital Preservation of Chulalongkorn University". digiverse.chula.ac.th (ภาษาอังกฤษ).