ผู้ใช้:Sunhanutsee
หน้าตา
TRANSPLANT SPORT ASSOCIATION OF THAILAND (TSAT) | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2537 |
ผู้ก่อตั้ง | คุณสุปรีดิ์ ประกอบสันติสุข |
หน่วยงานก่อนหน้า | |
สำนักงานใหญ่ | ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย
ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
เว็บไซต์ | [1]https://www.transplantsports.org/ |
สมาคมกีฬาผู้เปลี่อนอวัยวะแห่งประเทศไทย
[แก้]สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: สกปวท)
เป็นสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า "แห่งประเทศไทย" อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มแพทย์และคนไข้ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ โดยมุ่งเน้นนำเสนอการเล่นกีฬาและออกกำลังกายที่นำมาใช้เป็นหนึ่งในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ในปัจจุบันสมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา เลขที่ 286 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้สมาคมฯ ยังเป็นสมาชิกของสมพันธ์กีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลก (World Transplant Game Federation: WTGF)
หน้าที่:
สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ในการช่วยเหลือสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปลูกถ่ายอวัยวะและรวมทั้งสมาชิกของสมาคมฯ ด้วยการนำกีฬามาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความแข็งแรงและเสริมสร้างนิสัยการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ และต่อยอดการพัฒนาไปสู่การเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับประเทศ ระดับนานาชาติ และระดับโลก
ประวัติสมาคม
สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นจากแนวความคิดของกลุ่มแพทย์และคนไข้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยทีมงานแพทย์ผู้รับผิดชอบด้านการปลูกถ่ายอวัยวะในประเทศไทย ได้รับเชิญจากสมาพันธ์กีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลก (World Transplant Game Federation) ให้ส่งตัวแทนนักกีฬาจากประเทศไทยเดินทางเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา World Transplant Games ครั้งที่ 7 ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) ซึ่งการเดินทางเข้าร่วมในครั้งนั้น ถือเป็นการส่งนักกีฬาเข้าร่วมกีฬาระดับนานาชาติของสมาคมฯ เป็นครั้งแรก ภายหลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้นลงจึงได้จัดตั้งเป็นชมรมผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการของชมรมเป็นผู้ป่วยหรือคนไข้ที่ได้รับการปลุกถ่ายอวัยวะมาแล้วทั้งสิ้น พร้อมกับทีมงานแพทย์ที่รับผิดชอบดูแลสาขาศัลยแพทย์ที่เกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะ หลังจากนั้นจึงได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีคุณสุปรีดิ์ ประกอบสันติสุข ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นท่านแรก ต่อมาจึงได้ทำการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อสมาคมฯ จากสมาคมผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย มาเป็น สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย โดยมีท่านศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ไพบูลย์ จิตประไพ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงชื่อสมาคมฯ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของสมาคมฯ ในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังจากที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะให้สามารถมีสุขภาพร่างการที่แข็งแรง สมบูรณ์ ด้ายการสนับสนุนทางด้านกีฬา ซึ่งพัฒนาจากกลุ่มเล็กๆ จนขยายตัวเกิดความนิยมและแพร่หลายในกลุ่มผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนอวัยวะ
“TO BE TRANSPLANT SPORT HUB OF ASEAN”
สมาคมกีฬผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย มีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนา ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะตลอดจนผู้ที่อยู่ในระหว่างรอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือประชาชนทั่วไปที่มีสนใจในการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เปลี่ยนอวัยวะให้กลับคืนมาปกติมากที่สุด และต่อยอดสู่การพัฒนาสมรรถภาพทางกายและจิตใจเพื่อเป็นนักกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะ พร้อมมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านกีฬา ตั้งแต่การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะระดับประเทศ นานาชาติ จนถึงระดับโลก ตามแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมฯ ที่ได้วางไว้ “To Be Transplant Sport Hub of ASEAN”
รายชื่อนายกสมาคมฯตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน * ปี 2539 - 2557 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ไพบูลย์ จิตประไพ * ปี 2557 - 2559 นายอนุสสรณ์ ทวีสิน * ปี 2559 - 2562 นายบรรจง เกษมธรรมนันท์ * ปี 2563 - ปัจจุบัน นายสัณหณัฐ สีจำปี
นายสัณหณัฐ สีจำปี นายกสมาคมกีฬผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย
พันธกิจ / เป้าหมาย พัฒนาคุณภาพชีวิตเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ส่งเสริมผู้เปลี่ยนอวัยวะในการ เล่นกีฬาและออกกำลังกาย
พัฒนาสู่นักกีฬา ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาทักษะ ด้านกีฬาให้กับผู้เปลี่ยนอวัยวะเพื่อก้าวสู่การเป็นนักกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะ
ศูนย์กลางการจัดแข่งกีฬา สนับสนุน ส่งเสริม การเป็นศูนย์กลางการจัดแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะในระดับอาเซียน นานาชาติ และร่วมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ดูแลและสนับสนุน พัฒนาศักภาพบุคลากรด้านกีฬาเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งดูแลด้านสวัสดิการของสมาชิกและนักกีฬา
โอกาสและความร่วมมือ สร้างความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาเล่นกีฬาและออกกำลังกาย
ผลงานการเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติ * ปี 2559 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยออสเตรเลีย (Australia Transplant Game) เมือง Gold Coast ประเทศ Australia
ผลงานการเข้าร่วมแข่งขันระดับโลก
* ปี 2552 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยโลกครั้งที่ 16 เมือง Bangkok ประเทศ Thailand * ปี 2552 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยโลกครั้งที่ 17 เมือง Gold Coast ประเทศ Australia * ปี 2554 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยโลกครั้งที่ 18 เมือง Gothenburg ประเทศ Sweden * ปี 2556 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยโลกครั้งที่ 19 เมือง Durban ประเทศ South Africa * ปี 2558 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยโลกครั้งที่ 20 เมือง Mar del Plata ประเทศ Argentina * ปี 2560 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยโลกครั้งที่ 21 เมือง Malaga ประเทศ Spain * ปี 2562 การแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยโลกครั้งที่ 22 เมือง Newcastle upon Tyne and Gateshead ประเทศ Great Britain
- ↑ ที่มา: สมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย