แคนตันทาวเวอร์ Canton Tower 广州塔 |
---|
แคนตันทาวเวอร์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 |
|
สถิติความสูง |
---|
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ตั้งแต่ สิงหาคม ค.ศ. 2009 ถึง มีนาคม ค.ศ. 2011[I] |
ก่อนหน้านี้ | ซีเอ็นทาวเวอร์ |
---|
หลังจากนี้ | โตเกียวสกายทรี |
---|
ข้อมูลทั่วไป |
---|
สถานะ | เปิดใช้งาน |
---|
ประเภท | ภัตตาคาร หอสังเกตการณ์ และหอกระจายคลื่น |
---|
สถาปัตยกรรม | Structural expressionism |
---|
ที่อยู่ | เขตไฮ่จู, กว่างโจว, มณฑลกวางตุ้ง |
---|
พิกัด | 23°6′32″N 113°19′8″E / 23.10889°N 113.31889°E / 23.10889; 113.31889 |
---|
ลงเสาเข็ม | 2005; 19 ปีที่แล้ว (2005) |
---|
เริ่มสร้าง | พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 |
---|
แล้วเสร็จ | 2010; 14 ปีที่แล้ว (2010) |
---|
เปิดใช้งาน | 1 ตุลาคม ค.ศ. 2010 |
---|
ค่าก่อสร้าง | CNY ¥ 2,803,635,000.00 (US$ 450,000,000.00)[1] |
---|
ความสูง |
---|
ปลายยอด | 600 m (1,982 ft)[2] |
---|
หลังคา | 462.1 m (1,516 ft) |
---|
ชั้นบนสุด | 488 m (1,601 ft) |
---|
ดาดฟ้า | 449 m (1,473 ft) |
---|
ข้อมูลทางเทคนิค |
---|
จำนวนชั้น | 112 2 ชั้นใต้ดิน |
---|
พื้นที่แต่ละชั้น | 114,054 m2 (1,227,700 sq ft) |
---|
ลิฟต์ | 9 |
---|
การออกแบบและการก่อสร้าง |
---|
สถาปนิก | Information Based Architecture (IBA): มาร์ก เฮเมล, บาร์บารา ควิต |
---|
วิศวกรโครงสร้าง | อารัป |
---|
เว็บไซต์ |
---|
www.cantontower.com |
อ้างอิง |
---|
[3][4][5][6][7][8] |
แคนตันทาวเวอร์ (จีน: 广州塔, อังกฤษ: Canton Tower) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ หอโทรทัศน์ ดาราศาสตร์และการท่องเที่ยวกว่างโจว (จีน: 广州电视台天文及观光塔, อังกฤษ: Guangzhou TV Astronomical and Sightseeing Tower) เป็นหอคอยสังเกตการณ์อเนกประสงค์ความสูง 600 เมตรในเขตไฮ่จู นครกว่างโจว และเคยเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในโลกในระยะเวลาสั้น ๆ แทนที่ซีเอ็นทาวเวอร์ ก่อนที่จะถูกแซงหน้าโดยโตเกียวสกายทรี แคนตันทาวเวอร์เคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในประเทศจีนก่อนที่อาคารเซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์จะก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ปัจจุบันแคนตันทาวเวอร์เป็นหอคอยที่สูงเป็นอันดับ 2 และเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก
แคนตันทาวเวอร์ก่อสร้างโดย Guangzhou New Television Tower Group และออกแบบโดยสถาปนิกชาวดัตช์ มาร์ก เฮเมล และ บาร์บารา ควิต จาก Information Based Architecture (IBA) ร่วมกับอารัป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ วิศวกรรม และธุรกิจ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในลอนดอน สหราชอาณาจักร ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการลงเสาเข็มอาคาร[9] หอคอยได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ก่อนการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 ที่นครกว่างโจวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยหอสังเกตการณ์บนดาดฟ้าได้เปิดอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554
แคนตันทาวเวอร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของนครกว่างโจว โดยจัดสถานที่ท่องเที่ยวระดับ AAAA (4A) ในประเทศจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556[10] บนดาดฟ้าประกอบด้วยบริเวณสังเกตการณ์ที่ความสูง 450 เมตรและ 488 เมตร เครื่องเล่นแนวดิ่งความเร็วสูง (Sky drop) ชิงช้าสวรรค์แนวราบรูปไข่มุก (Bubble tram)[11] ส่วนภายในอาคารมีบริเวณสังเกตการณ์ ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์
| แคนตันทาวเวอร์มองจากประตูหน้าของสวนสาธารณะหงเฉิง |
| แคนตันทาวเวอร์ในเวลาเที่ยง |
| แคนตันทาวเวอร์ในเวลาบ่าย ถ่ายจากพื้นราบ |
| แคนตันทาวเวอร์ขณะเปิดไฟ |
|
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในกว่างโจว]]
[[หมวดหมู่:หอคอยในประเทศจีน]]