ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Rossukon kokul/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติ=เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2477 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2521 รวมอายุได้ 44 ปี 5 เดือน|การศึกษา=มัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ.2496 ปริญญาตรี (ร.บ.เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2500 ปริญญาโท (Sociology) University of Chicago พ.ศ.2505 ปริญญาเอก (Sociology) University of Chicago พ.ศ.2508|การรับราชการ=อาจารย์ตรี พ.ศ. 2500 อาจารย์โท พ.ศ. 2505 อาจารย์เอก พ.ศ. 2508 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2510 รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2516 ศาสตราจารย์ พ.ศ. 2518 ศาสตราจารย์ระดับ 10 พ.ศ. 2520|ตำแหน่งบริหาร=รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร พ.ศ.2509-2513 รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันประชากรศาสตร์ พ.ศ.2513-2516 ผู้อำนวยการสถาบันประชากรศาสตร์ พ.ศ.2516-2518 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต พ.ศ.2517-2518 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ.2518-2521|ประวัติครอบครัว=สมรสกับรองศาสตราจารย์พรรณี ประจวบเหมาะ (เวคะวากยานนท์) มีบุตร 2 คน คือ ศาสตราจารย์ ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ และนายเชษฐพงศ์ ประจวบเหมาะ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2521 ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ในฐานะบุคคลหลักของสถาบันประชากรศาสตร์ ได้ผลักดันให้สถาบันแห่งนี้ ทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้บริการวิชาการด้านความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนในเรื่องประชากรตามความสามารถที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยสภาประชากร ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับการดำเนินงานในระยะแรก นอกจากนี้ท่านยังได้ขยายความร่วมมือระหว่างสถาบันประชากรศาสตร์กับหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประชากรทั้งในและต่างประเทศ ในรูปของการดำเนินการวิจัยร่วมซึ่งเป็นประโยชน์ทางวิชาการ รวมทั้งการวางนโยบายประชากรที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งวิทยาลัยประชากรศาสตร์ได้สืบทอดเจตนารมณ์ดังกล่าวของศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เป็นนโยบายของสถาบันตราบจนทุกวันนี้|ผู้วางรากฐานและพัฒนาวิชาการด้านประชากรศาสตร์=เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของนักวิชาการด้านประชากรศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศว่าศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการวางพื้นฐานการพัฒนาวิชาการและการวิจัยด้านประชากรศาสตร์ในประเทศไทยให้เจริญเติบโต และได้รับการพัฒนาต่อกันมาโดยคนรุ่นหลังจนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศในปัจจุบัน ในช่วงปี พ.ศ.2500 รัฐบาลเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนนโยบายจากการสนับสนุนการเพิ่มประชากรที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาเป็นการชะลอการเพิ่มประชากรให้อยู่ในระดับที่สมดุลกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ซึ่งขณะนั้นรับราชการในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกด้านสังคมวิทยา เน้นหนักด้านประชากรศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความสนับสนุนและการเล็งเห็นการไกลของศาสตราจารย์ ดร.เกษม อุทยานิน คณบดีคณะรัฐศาสตร์ในขณะนั้น ที่เห็นว่าประชากรจะเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในอนาคตและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรจะเป็นหน่วยงานแรกที่ริเริ่มและรับผิดชอบงานทั้งการวิจัยและการสอนด้านประชากรศาสตร์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศ เมื่อศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ สำเร็จการศึกษา ได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมีส่วนร่วมในการพิจารณานโยบายประชากรแนวใหม่ของประเทศ รวมทั้งได้ร่วมงานวิจัยด้านประชากรในโครงการสำคัญ ที่รัฐบาลได้ริเริ่มขึ้นจากแรงผลักดันของหลายหน่วยงานซึ่งได้พิจารณาเห็นความสำคัญที่จะให้มีโครงการชะลอการเพิ่มประชากร อาทิ โครงการวิจัยด้านการวางแผนครอบครัวที่รู้จักกันในชื่อ “โครงการโพธาราม” สำหรับงานด้านการศึกษาและการวิจัยทางประชากรศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร” แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น “สถาบันประชากรศาสตร์” เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2513 สถาบันประชากรศาสตร์จึงเป็นสถาบันวิจัยแห่งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ นับเป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในอันที่จะดำเนินการวิจัยควบคู่ไปกับการสอนและการบริการชุมชน และในปี พ.ศ.2541 ได้รับการเปลี่ยนสถานภาพเป็น “วิทยาลัยประชากรศาสตร์”|งานบริการชุมชน=ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ มีส่วนอย่างสำคัญในการก่อตั้งแผนงานประชากรของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Population Programme) เมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อตอบสนองมติของที่ประชุมสุดยอดของหัวหน้ารัฐบาลประเทศสมาชิกของสมาคมในอันที่จะ“กระชับและขยายความร่วมมือในการแก้ปัญหาการเพิ่มของประชากรในภูมิภาคอาเซียน” ท่านเป็นผู้ผลักดันให้ประเทศสมาชิกของสมาคมเห็นความสำคัญของการดำเนินงานกิจกรรมประชากรอย่างเต็มรูปแบบ มิใช่เน้นเฉพาะด้านการวางแผนครอบครัว ซึ่งเป็นผลให้โครงการต่างๆ ภายใต้แผนงานประชากรของอาเซียนในปัจจุบันขยายขอบข่ายการศึกษาวิจัยและกิจกรรมของโครงการออกไป ในด้านส่งเสริมคุณภาพของประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศ}}

ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ[แก้]

ประวัติ[แก้]

  • เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2477
  • ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2521
  • รวมอายุได้ 44 ปี 5 เดือน

การศึกษา[แก้]

มัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ.2496

ปริญญาตรี (ร.บ.เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2500

ปริญญาโท (Sociology) University of Chicago พ.ศ.2505

ปริญญาเอก (Sociology) University of Chicago พ.ศ.2508

การรับราชการ[แก้]

อาจารย์ตรี พ.ศ. 2500
อาจารย์โท พ.ศ. 2505
อาจารย์เอก พ.ศ. 2508
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2510
รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2516
ศาสตราจารย์ พ.ศ. 2518
ศาสตราจารย์ระดับ 10 พ.ศ. 2520

ตำแหน่งบริหาร[แก้]

รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร พ.ศ.2509-2513

รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันประชากรศาสตร์ พ.ศ.2513-2516

ผู้อำนวยการสถาบันประชากรศาสตร์ พ.ศ.2516-2518

รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต พ.ศ.2517-2518

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ.2518-2521

ประวัติครอบครัว[แก้]

สมรสกับรองศาสตราจารย์พรรณี ประจวบเหมาะ (เวคะวากยานนท์) มีบุตร 2 คน คือ ศาสตราจารย์ ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ และนายเชษฐพงศ์ ประจวบเหมาะ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2521 ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ในฐานะบุคคลหลักของสถาบันประชากรศาสตร์ ได้ผลักดันให้สถาบันแห่งนี้  

ทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้บริการวิชาการด้านความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนในเรื่องประชากรตามความสามารถที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยสภาประชากร ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับการดำเนินงานในระยะแรก  นอกจากนี้ท่านยังได้ขยายความร่วมมือระหว่างสถาบันประชากรศาสตร์กับหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประชากรทั้งในและต่างประเทศ ในรูปของการดำเนินการวิจัยร่วมซึ่งเป็นประโยชน์ทางวิชาการ รวมทั้งการวางนโยบายประชากรที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งวิทยาลัยประชากรศาสตร์ได้สืบทอดเจตนารมณ์ดังกล่าวของศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เป็นนโยบายของสถาบันตราบจนทุกวันนี้

ผู้วางรากฐานและพัฒนาวิชาการด้านประชากรศาสตร์[แก้]

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของนักวิชาการด้านประชากรศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศว่าศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการวางพื้นฐานการพัฒนาวิชาการและการวิจัยด้านประชากรศาสตร์ในประเทศไทยให้เจริญเติบโต และได้รับการพัฒนาต่อกันมาโดยคนรุ่นหลังจนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศในปัจจุบัน

ในช่วงปี พ.ศ.2500 รัฐบาลเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนนโยบายจากการสนับสนุนการเพิ่มประชากรที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาเป็นการชะลอการเพิ่มประชากรให้อยู่ในระดับที่สมดุลกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ซึ่งขณะนั้นรับราชการในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกด้านสังคมวิทยา เน้นหนักด้านประชากรศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความสนับสนุนและการเล็งเห็นการไกลของศาสตราจารย์ ดร.เกษม อุทยานิน คณบดีคณะรัฐศาสตร์ในขณะนั้น ที่เห็นว่าประชากรจะเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในอนาคตและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรจะเป็นหน่วยงานแรกที่ริเริ่มและรับผิดชอบงานทั้งการวิจัยและการสอนด้านประชากรศาสตร์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศ เมื่อศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ สำเร็จการศึกษา ได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมีส่วนร่วมในการพิจารณานโยบายประชากรแนวใหม่ของประเทศ รวมทั้งได้ร่วมงานวิจัยด้านประชากรในโครงการสำคัญ ที่รัฐบาลได้ริเริ่มขึ้นจากแรงผลักดันของหลายหน่วยงานซึ่งได้พิจารณาเห็นความสำคัญที่จะให้มีโครงการชะลอการเพิ่มประชากร อาทิ โครงการวิจัยด้านการวางแผนครอบครัวที่รู้จักกันในชื่อ “โครงการโพธาราม” สำหรับงานด้านการศึกษาและการวิจัยทางประชากรศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร” แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น “สถาบันประชากรศาสตร์” เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2513 สถาบันประชากรศาสตร์จึงเป็นสถาบันวิจัยแห่งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ นับเป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในอันที่จะดำเนินการวิจัยควบคู่ไปกับการสอนและการบริการชุมชน และในปี พ.ศ.2541 ได้รับการเปลี่ยนสถานภาพเป็น “วิทยาลัยประชากรศาสตร์”

งานบริการชุมชน[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ มีส่วนอย่างสำคัญในการก่อตั้งแผนงานประชากรของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Population Programme) เมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อตอบสนองมติของที่ประชุมสุดยอดของหัวหน้ารัฐบาลประเทศสมาชิกของสมาคมในอันที่จะ“กระชับและขยายความร่วมมือในการแก้ปัญหาการเพิ่มของประชากรในภูมิภาคอาเซียน” ท่านเป็นผู้ผลักดันให้ประเทศสมาชิกของสมาคมเห็นความสำคัญของการดำเนินงานกิจกรรมประชากรอย่างเต็มรูปแบบ มิใช่เน้นเฉพาะด้านการวางแผนครอบครัว ซึ่งเป็นผลให้โครงการต่างๆ ภายใต้แผนงานประชากรของอาเซียนในปัจจุบันขยายขอบข่ายการศึกษาวิจัยและกิจกรรมของโครงการออกไป ในด้านส่งเสริมคุณภาพของประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศ