ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Roongruedee

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                                                                   การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น (ประเทศไทย)

1.การวางแผนพัฒนา 1.1) ความหมายของการวางแผน เป็นการวางแผนคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น จัดทำกำหนดเพื่อบรรลุเป้าหมาย การวางแผนเป็นการคาดการณ์ต่างๆเพื่อให้ดีที่สุด คิดพิจารณาก่อนทำ ใช้ดุลพินิจอย่างมากในการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ เป็นการปฎิบัติที่ต้องเป็นระบบเพื่อเป็นการตัดสินการวางแผนให้ดีที่สุด 1.2) แนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนา

    หน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การส่วนท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงมาก นับตั้งแต่ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีความสำคัญมาก กำหนดความเป็นอิสระในการปกครองและกำหนดนโยบาย บริหาร การคลัง การเงิน และมีหน้าที่เฉพาะในแต่ละคน องค์กรส่วนท้องถิ่นมีอำนาจกว้างขวาง รวมไปถึงพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นองค์กรที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ     บริหาร และพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจท้องถิ่น
    เนื่องจากพระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนให้รัฐต้องจัดงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ20ของรายได้รัฐในปี2544 และไม่น้อยกว่าร้อยละ35ของรายได้รัฐในปี2549 จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรรายได้ ทั้งท้องถิ่นจัดเก็บเองและรัฐบาลจัดทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมาย

1.3) ความหมายของการวางแผน 1.) การวางแผนจะต้องเป็นการคาดการณอย่างกว้างไกล จัดว่าเป็นการลดความยุ่งยากไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2.) ปรัชญาของการวางแผนยอมรับเรื่องการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งที่อยู่คงถาวร จึงทำให้เกิดการยอมรับแนวคิดใหม่ๆ 3.) การวางแผนเป็นสิ่งที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องทำ ทำให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายเพราะการวางแผน 4.) การมองเห็นภาพรวมจัดว่าเกิดจากการวางแผน เป็นการจัดระเบียบองค์การให้เหมาะสมกับลักษณะงานจึงช่วยลดการสูญเปล่าของหน่วยงานที่ซ้ำซ้อน 5.) การวางแผนอาศัยหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นหลักการวิจัยต่างๆ ทฤษฎี เป็นตัวกำหนด แนวทางปฏิบัติจึงทำให้เกิดความแจ่มชัดในการปฏิบัติดำเนินการ

ประโยชน์ของการวางแผน 1.) การจะทำจะดำเนินการปฏิบัติอะไรต้องมีเป้าหมาย และประโยชน์ของการพัฒนาทำให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย 2.) การวางแผนล้วนใช้สติปัญญา มีการประสานกัน มีวิธีคิดอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ลดการใช้จ่ายเพราะล้วนใช้สติปัญญา 3.) ลดความไม่แน่นอน เพราะการวางแผนเป็นข้อเท็จจริงที่คาดการณ์ในอนาคตเป็นข้อเท็จจริงที่มีประสิทธิภาพ 4.) การวางแผนได้สร้างความมั่นใจในเอกภาพที่จะบรรลุจุดมุ่งหมาย ได้มีการประสานงานกัน มีการทำไปในทางเดียวกัน จึงทำให้เกิดการประสานงานที่ดี 5.) การวางแผนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ มีทั้งความคิดใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีการระดมความคิดกันส่งเสริมให้เกิดวัตกรรมและการสร้างสรรค์ 6.) เนื่องจากการวางแผนที่มีประสิทธิภาพจะได้เปรียบเสมอจึงทำให้เกิดการพัฒนาแข่งขัน 7.) การทำงานมีการร่วมแรงร่วมใจกันทำ การวางแผนเป็นเครื่องมือพัฒนาเราให้มีประสิทธิภาพในการวางแผน ดังนั้นจึงช่วยพัฒนาแรงจูงใจอีกด้วย 8.) การวางแผนมีการปฎิบัติประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร ทำให้ประสานงานได้ตามจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี

หลักการพื้นฐานในการวางแผน' หลักการในการวางแผนมี 4 ประการ 1.) ผู้วางแผนจะต้องนึกถึงเป้าหมายของแผนทุกแผนที่ได้กำหนดขึ้นมา การวางแผนจะต้องสนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร 2.) กระบวนการจัดการมีหลายกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล สั่งการ การควบคุม จะเห็นได้ว่าการวางแผนจะอยู่ในขั้นตอนแรก ดังนั้นการวางแผนเป็นงานอันดับแรกของกระบวนการ 3.) การบริหารมีหลากหลายหน้าที่ การวางแผนเป็นงานของผู้บริหารทุกระดับจะต้องทำแต่ละหน้าที่ของตน 4.) ประสิทธิภาพของการวางแผนสำคัญมาก ต้องบรรลุเป้าหมายด้วยการใช้ทรัพยากรที่ประหยัดและนึกถึงคุณค่า เช่น แรงงาน เครื่องมือ เงิน การบริหารที่มีประสิทธิภาพจะสร้างความพอใจให้สมาชิกด้วยกัน

1.4) ลำดับขั้นตอนในการวางแผน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่กำหนด การวางแผนจะต้องมีประสิทธิภาพ จะต้องการจัดการกระบวนการต่างๆมีการจัดลำดับขั้นตอนในการวางแผนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสสุด 1.) เป็นลำดับที่นักวางแผนจะดำเนินคือการกำหนดวัตถุประสงค์ จากที่ได้กล่าวมาคือ การวางแผนเป็นการคาดการณ์อนาคต สิ่งที่จะต้องตระหนักอย่างมาก คือความชัดเจน และให้สมาชิกมีการเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน 2.) ผู้วางแผนต้องมีการตกลงข้อตกลงต่างๆที่จะใช้ในการวางแผน เพื่อให้ใกล้เคียงในการวางแผน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็จัดว่าเป็นข้อมูลภายนอกในการวางแผน ไม่ใช่แค่ปัจจัยภายนอกเพียงอย่างเดียว ต้องมีปัจจัยภายในด้วย จึงทำให้แผนมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ดังนั้นจะต้องมีการพัฒนาข้อตกลงที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน 3.) ข้อจำกัดต่างๆที่เกิดขึ้นในการวางแผนต้องนำมาพิจารณาด้วยในการทำงานต้องมีข้อจำกัดในการทำงาน สิ่งที่ควรพิจารณาคาดการณ์ในการประกอบการวางแผนเป็นขอบเขต อำนาจหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ สภาพทางการเงิน บุคลากรต่างๆในองค์การ สิ่งที่กล่าวมานี้มีน้ำหนักมากในการกำหนดการวางแผน 4.) ควรแสวงหาทางเลิอกต่างๆ เพราะต้องมีการพัฒนาทางเลือก ไม่ใช่แค่ทางเลือกเดียวที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ต้องมีหลายแนวทางปฏิบัติ เป็นการพัฒนาความคิดของผู้วางแผนได้หลากหลายอีกด้วย 5.) หลังจากการพัฒนาทางเลือกในข้อ4แล้ว จะต้องมีการประเมินทางเลือกเป็นขั้นตอนต่อไป ผู้วางแผนมีความจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยต่างๆของทางเลือกแต่ละแนวประกอบว่าทางเลือกนั้นๆจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้นจะต้องประเมินทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดเพื่อจะบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ลักษณะแผนที่ดีในการพัฒนา

1.) การชี้เฉพาะ มีความชัดเจน ที่กล่าวมาคือลักษณะของแผนที่ดีที่จะนำไปปฏิบัติในการพัฒนาเพราะต้องมีลักษณะชี้เฉพาะและมีความชัดเจน เพราะถ้าไปดำเนินไปในทางที่ถูก แผนที่จะดำเนินไปในทิศทางเดียวกันไม่ได้ 2.) การวางแผนเป็นการคาดการณ์ ดังนั้นจะต้องแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้และสิ่งที่ยังไม่ชัดเจนเพราะจะได้รู้ว่าอันไหนไม่รอบคอบ 3.) การวางแผนจะต้องมีการคิดวิเคราะห์ สิ่งสำคัญคือเชื่องโยงกันแลละสามารถไปฏิบัติให้บรรลุเป่าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4,) แผนจะต้องมีสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นแผนที่ดีต้องมีความยืดหยุ่นสามารถเปลร่ยนแปลงแก้ไขได้ 5,) แผนต้องมีการยอมรับ เนื่องจากแผนจะมีความร่วมมือและความตั้งใจที่จะนำไปปฏิบัติ ถ้าแผนได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องก็แสดงให้เห็นว่า แผนนั้นมีประสิทธิภาพที่จะนำไปปฏิบัติ


'ประเภทของการวางแผน' 1.) จำแนกตามระดับการจัดการ 1.1) การวางแผนกลยุทธ์ ฝ่ายบริหารระดับสูงมีหน้าที่รับผิดชอบ 1.2) การวางแผนบริหาร ฝ่ายบริหารระดับกลางมีหน้าที่รับผิดชอบ 1.3) การวางแผนปฏิบัติการ ฝ่ายบริหารระดับต้นนำไปดำเนินปฏิบัติ

2.) จำแนกตามลักษณะการปฏิบัติ 2.1) การวางแผนดำเนินงาน เป็นแผนถาวร เป็นแนวทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยในองค์การใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นประจำ 2.2) การวางแผนใช้เฉพาะครั้ง เป็นแผนเพื่อปรับและเสริมแผนดำเนินงานประจำ

    3.) จำแนกตามระยะเวลา
             3.1) การวางแผนระยะยาว แผนที่ดำเนินการ5ปีขึ้นไป เป็นแผนที่เหมาะสามารถคาดการณ์ได้อย่างมีเหตุผล
             3.2) การวางแผนระยะปานกลาง แผนที่ดำเนิน 3-5 ปี
             3.3)  การวางแผนระยะสั้น แผนที่ดำเนิน 3-5 ปี
 

4.)จำแนกตามขอบข่ายลักษณะของแผน

วัตถุประสงค์                วิธีปฏิบัติงาน             มาตรฐาน           นโยบาย         วิธีการ              งบประมาณ               แผนงาน

การวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครงท้องถิ่น การวางแผนเป็นการคาดการณ์อนาคต อาจมีช่วงระยะเวลาระยะยาว ระยะปานกลาง ระยะสั้น ล้วนใช้ทรัพยากรณ์ขององค์กร โดยดำเนินการตามแผนให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประโยชน์สูงสุด เป้าหมายอาจเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษย์ ส่วนแผนพัฒนาขององค์กรส่วนท้องถิ่นมี 2 ประเภท 1.) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (แผนระยะยาว) โดยจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาอำเภอ เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองท้องถิ่น 2.) แผนพัฒนา 3ปี (แบบหมุนเวียน) จะมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณ มีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผน งบประมาณแต่ละปี มีลักษณะต่อเนื่อง

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

         แผนยุทธศาสตร์การพัฒนานั้นจะเป็นการวางแผนในการพัฒนาต่างๆให้สอดคล้องกับสิ่งนั้นๆ ทั้งนี้การวางแผนจะมีประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามามีบทบาทในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา และการที่การวางแผนนี้จะบรรลุตามเป้าหมายคือต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและแต่ละหน่วยงานมีความรับผิดชอบส่วนไหนก็ทำงานตามที่ได้รับผิดชอบ มีการรับผิดชอบและดำเนินไปสู่ภาคปฎิบัติ

ลักษณะของการพัฒนาต่างๆ 1.สภาพของท้องถิ่นและจังหวัดเป็นลักษณะแบบไหนก็ต้องมีแม่บทและแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้อง 2.วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดมีลักษณะกว้างๆ 3.ทุกส่วนที่ทางราชการจะต้องวางแผนให้บรรลุเป้าหมายต้องมีลักษณะยุทธศาสตร์ที่มีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางในอนาคต

วิธีการดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 1.เตรียมจัดทำแผน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย มีการประชุมให้ชี้แจงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 2.สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล 3.นำข้อมูล ปัญหา ความต้องการ ความตอบสนองมาวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญ 4.กำหนดจุดประสงค์ แนวทางการพัฒนา และเป้าหมาย 5.รวบรวมยุทธศาสตร์ด้านต่างๆมาประกอบเพื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ 6.ถ้าแผนได้รับการอุมัติจากคณะกรรมการแล้วก็สามารถประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ได้เลย

ประโยชน์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 1.ทำให้เกิดการตรวจสอบงาน การประสานกัน เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย และทำงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ 2.ทำให้ท้องถิ่นนั้นๆเกิดการพัฒนาที่ชัดเจน มีทิศทางในการพัฒนา และสามารถรู้ถึงปัญหาและสามารถแก้ไขได้ตรงจุดที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน 3.มีการจัดการวางแผนกันอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดการลดความขัดแย้ง ลดความซับซ้อน


การจัดทำแผนพัฒนาสามปี

       แผนพัฒนาสามปีเป็นการเปลี่ยนแปลงแผนยุทธสาสตร์การเปลี่ยนแปลงนั้นๆจะต้องมากกว่าหนึ่งโครงการ หรือกิจกรรม และภายใต้กิจกรรมนั้นๆจะต้องดำเนินเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายซึ่งต้องตรงกับวัคตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเป็นไปอย่างราบรื่นวิสัยทัศน์ในที่สุด แผนพัฒนาสามปีนี้มีส่วนเกี่ยวข้องสอดคล้องกับงบประมาณรายปีโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนนั้นๆ

ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี 1.เป็นเอกสารแสดงการพัฒนาสามปี ไม่ว่าจะเป็นโครงการหรือกิจกรรม 2.เชื่อมโยงสอดคล้องกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3.เป็นยุทธศาตร์การพัฒนารูปแบบหนึ่ง จึงแสดงถึงความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 4.เป็นแผนที่แก้ไขปปัญหาได้ตรงจุดสำหรับการวางแผนพัฒนานี้ จึงเป็นการแสดงแนวทางที่ชัดเจนเจาะจงในการดำเนินการ วิธีการดำเนินจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.เตรียมจัดทำแผน คือต้อพบทางผู้บริหารให้ทราบถึงปัญหา ชี้แจงวัตถุประสงค์ และเพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานต่อไป พร้อมทั้งหน่วยงานแจ้งถึงการอนุมัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 2.การคัดเลือกแผน ในขั้นตอนนี้จะแจ้งให้ทราบถึงปัญหา ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ข้อสรุปต่างๆ ทางคณะกรรมการก็จะประชุมในการหาลือกันเรื่องคัดเลือกแผน 4.เก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนพัฒนาสามปีแล้วทั้งนี้นอกจากจะรวบแล้วยังต้องวิเคราะห์ให้ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย 5.กำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางกรพัฒนา เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วก็ต้องดูว่าส่วนไหนตรงกับส่วนไหน ส่วนไหนเป็นไปตามเป้าหมายสูงสุด 6.คณะกรรมการอนุมมัติให้ผู้บริหารใช้แผนพัฒนาสามปีต่อไป


ประโยชน์ของกาจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.ประหยัด ทำให้เกิดการประหยัดเพราะแผนพัฒนาสามปีเน้นการใช้สติปัญญาเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย จึงส่งผลให้ค่าใช้จ่ายประหยัด 2.เกิดการตัดสินใจในการดำเนินงาน การใช้ทรัพยากรให้กิดประโยชน์สูงสุดและประหยัดคุ้มค่าที่สุด 3.เกิดความร่วมแรงร่วมใจสามัคคีกัน เนื่องจากการจัดทำแผนจะต้องมีการประสานงานกัน สร้างความเป็เอกภาพ 4.ลดความไม่แน่นอน เนื่องจากการจัดเก็บค่าใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม 5.เกิดการบรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งข้อนี้สำคัญมากเพราะการวางแผนทุกครั้งจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

การติดตามและประเมินแผนพัฒนาท้องถิ่น

                การติดตามจะช่วยให้งานบรรลุอย่างสมบูณ์เพื่อลดปัญหาในการดำเนินงานจึงมีการติดตามผล เวลาดำเนินงานแล้วงานเกิดขัดข้องหรือมีปัญหา การติดตามผลจะช่วยเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทาที่ดีขึ้น ให้ตรงต่อความตอบสนองมากขึ้น การติดตามและประเมินนั้นจะเน้นไปในทางที่ที่คิดว่าเน้นปฎิบัติแผนจริงเพียงใด นำไปปฎิบัติเพียงใด และการที่จะประเมินแผนยุทธศาสตร์จะต้องประเมินทีละแผนว่าสำเร้จเพียงใด ส่วนการติดตามจะทำให้เราทราบว่าแผนแต่ละแผนดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้ว ซึ่งในแต่ละขั้นตอนก็มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามขขั้นตอนนั้นๆเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

[1]

[2]

[3]

[4]


[5]

[6]

  1. http://www.dla.go.th/work/planlocal/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99(%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%993%E0%B8%9B%E0%B8%B5).pdf
  2. http://www.bohin.org/plan%2059-61.pdf
  3. http://www.dongyen.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=65&Itemid=94
  4. http://thailocal.nso.go.th/nso-cms/strategyplan.html
  5. http://www.hatyaicity.go.th/files/com_develop_plan/2016-09_9efa9e09a1073e8.pdf
  6. www.nonjan.go.th/fileupload/5116plan55.doc