ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Reic.or/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Information Center) เป็นศูนย์กลางรวบรวมและพัฒนาข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์และข้อมูลประกอบด้านอื่นๆ

ประวัติ[แก้]

ในช่วงหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ได้ไม่นาน หลายฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่า ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานกลางในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ที่ครบถ้วนเป็นระบบ เพื่อใช้ในการสร้างดัชนีและระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจ การที่จะป้องกันมิให้เกิดวิกฤตหรือลดความเสี่ยงในอนาคตในลักษณะทำนองเดียวกันนี้ จำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมี ”ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ” ที่เป็นหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่หลัก ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ต่างๆมาประมวลผลเป็นข้อมูลภาพรวมของประเทศมาเผยแพร่โดยรวดเร็ว และทันเหตุการณ์

ธนาคารโลกได้ทำการศึกษา และจัดทำรายงานเสนอต่อกระทรวงการคลังและต่อธนาคารอาคารสงเคราะห์เมื่อปี พ.ศ. 2543 สนับสนุนให้มีการดำเนินการจัดตั้ง "ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ" (National Real Estate Information Center) ทั้งนี้ ธนาคารโลกเสนอว่า เห็นสมควรให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นผู้ดำเนินการศึกษาต่อเพื่อการจัดตั้ง เพื่อให้การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 ธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงได้เสนอแผนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป็นหน่วยงานอิสระระดับสายงานในสังกัดธนาคารอาคารสงเคราะห์ไปก่อน และใช้งบประมาณจัดตั้งและดำเนินงานจากธนาคารฯ ส่วนในแง่การบริหารและดำเนินงานนั้นให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยมีคณะกรรมการประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานราชการและเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้หรือใช้ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น เช่น กรมธนารักษ์ กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมบังคับคดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กรุงเทพมหานคร รวมทั้งภาคเอกชนที่ประกอบกันขึ้นเป็นสภาที่อยู่อาศัย "ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นและเริ่มต้นปฏิบัติงานกันมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547

ภารกิจ[แก้]

ภารกิจหลักของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มี 5 ด้าน คือ[แก้]

  • เป็นศูนย์กลางรวบรวมและพัฒนาข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์และข้อมูลประกอบด้านอื่นๆ
  • เป็นศูนย์สำรวจวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของอสังหาริมทรัพย์
  • เป็นศูนย์พยากรณ์อุปสงค์ อุปทาน และราคาของอสังหาริมทรัพย์
  • เป็นศูนย์เผยแพร่และให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
  • เป็นศูนย์ให้บริการคำปรึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

ภารกิจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ย่อมตอบสนองต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ สำหรับภาครัฐ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ต้องตอบสนองข้อมูลที่เพียงพอ มีความถูกต้องเชื่อถือได้และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ภาครัฐสามารถนำไปกำหนดนโยบายทั้งสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เองโดยตรงและสำหรับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม สำหรับภาคเอกชนผู้ประกอบการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ต้องตอบสนองข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และสำหรับผู้บริโภค ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ต้องตอบสนองข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับความสามารถเชิงเศรษฐกิจของตน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบรายละเอียดในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ โดยได้หารือแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมการผังเมือง กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร การเคหะแห่งชาติ ฯลฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อการหารือแนวทางไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อหลีกเลี่ยงการสิ้นเปลืองทรัพยากรของภาครัฐด้วยกันเอง

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เช่น การจัดทำแผนผังรายละเอียดฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กำหนดผลิตภัณฑ์ จัดทำร่างคำนิยามศัพท์อสังหาริมทรัพย์ พัฒนาเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล นอกจากนั้น ยังมีการสำรวจภาคสนามเพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่ยังไม่มีหน่วยงานใดจัดเก็บ เช่น ฐานข้อมูลโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการขาย โครงการอาคารสำนักงาน โครงการอาคารขนาดใหญ่ที่ยุติการก่อสร้าง ฐานข้อมูลกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ บทคัดย่องานวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

สามารถแยกข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้เป็น 2 ส่วนคือ ข้อมูลมหภาค เช่น ดัชนีราคาขาย ดัชนีราคาให้เช่า สถิติการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน สถิติการขออนุญาตก่อสร้าง สถิติการเริ่มสร้าง สถิติการขายอสังหาริมทรัพย์ และการสร้างเสร็จ ฯลฯ และข้อมูลจุลภาคที่จะเป็นปัจจัยที่ใช้ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์รายแปลง อาทิ รายละเอียดประเภทอสังหาริมทรัพย์ ราคา ที่ตั้ง ฯลฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ของผู้ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเงินในการให้บริการสินเชื่อ

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์รวบรวมและจัดทำข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภาคอสังหาริมทรัพย์มากมายทั้งข้อมูลด้านอุปทาน อุปสงค์ ดัชนีราคา และตัวชี้วัดต่างๆ ได้แก่

  • การขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน (Land Subdivision Permits)
  • การขอใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร (Building Permits)
  • การเริ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัย (Housing Starts)
  • การก่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้วเสร็จ (Housing Completions)
  • ยอดขายที่อยู่อาศัย (Housing Sales)
  • การโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (Housing Transfers)
  • ดัชนีราคาขายที่อยู่อาศัย (House Price Index)
  • ข้อมูลการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Housing Finance) ฯลฯ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการจัดเก็บข้อมูลกระจายอยู่ครบในหมวดย่อยต่างๆของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือ ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรมและรีสอร์ท ศูนย์การค้า นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ และที่ดินเปล่า ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จึงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจประเทศชาติ สมควรได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่สำคัญก็คือ ต้นทุนในการจัดทำและรักษาระบบคลังข้อมูลข่าวสารให้เป็นประโยชน์สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดและมูลค่าของความเสียหายมหาศาลในยามที่วิกฤตมาเยือน

โครงสร้างองค์กร[แก้]

ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ที่ศูนย์ข้อมูลฯ จัดเก็บและเผยแพร่[แก้]

ที่อยู่อาศัย[แก้]

การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย[แก้]

  • จำนวนหน่วย
  • มูลค่า (ลบ.)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย (มูลค่า (ลบ.))[แก้]

ยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่ (กรุงเทพฯ และปริมณฑล)[แก้]

  • จำนวนหน่วย
  • มูลค่า (ลบ.)

ดัชนีความคาดหวังด้านยอดขายในอีก 6 เดือนข้างหน้าของผู้ประกอบการ[แก้]

การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน[แก้]

  • จำนวนโครงการ
  • จำนวนหน่วย

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยแนวราบ (จำนวนหน่วย,พื้นที่ก่อสร้าง (ตร.ม.))[แก้]

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยอาคารสูง (จำนวนหน่วย,พื้นที่ก่อสร้าง (ตร.ม.))[แก้]

ที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ (กรุงเทพฯ และปริมณฑล)[แก้]

จำนวนหน่วย

ที่อยู่อาศัยเริ่มก่อสร้างใหม่ (กรุงเทพฯ และปริมณฑล)[แก้]

  • จำนวนหน่วย แนวราบ
  • จำนวนหน่วย แนวสูง

ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่ (กรุงเทพฯ และปริมณฑล)[แก้]

ที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสม (กรุงเทพฯ และปริมณฑล)[แก้]

  • จำนวนหน่วย
  • มูลค่า (ลบ.)

ที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสม (จังหวัดหลักของภูมิภาค)[แก้]

  • จำนวนหน่วย
  • มูลค่า (ลบ.)

ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเหลือขาย (กรุงเทพฯ และปริมณฑล)[แก้]

  • จำนวนหน่วย
  • มูลค่า (ลบ.)

ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเหลือขาย (จังหวัดหลักของภูมิภาค)[แก้]

  • จำนวนหน่วย
  • มูลค่า (ลบ.)

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัย[แก้]

อัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ย 6 ธพ.ใหญ่ ณ สิ้นช่วงเวลา[แก้]

ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย[แก้]

ที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ (กคช.)[แก้]

อาคารสำนักงาน[แก้]

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารสำนักงาน[แก้]

สินเชื่อผู้ประกอบการพัฒนาอาคารสำนักงานคงค้าง[แก้]

ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์อาคารสำนักงาน[แก้]

  • แสดงจำนวนแปลง กทม.-ปริมณฑล
  • แสดงมูลค่า กทม.-ปริมณฑล

ศูนย์การค้า-อาคารพาณิชย์[แก้]

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์[แก้]

สินเชื่อผู้ประกอบการพัฒนาศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าคงค้าง[แก้]

ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ศูนย์การค้า - อาคารพาณิชย์[แก้]

  • แสดงจำนวนแปลง กทม.-ปริมณฑล
  • แสดงมูลค่า กทม.-ปริมณฑล

โรงแรม-รีสอร์ท[แก้]

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อการโรงแรม[แก้]

ข้อมูลโรงแรม-รีสอร์ท โดย กรมการท่องเที่ยว[แก้]

  • จำนวนห้องพักที่ขายได้ทั่วประเทศ
  • อัตราการเข้าพักเฉลี่ย แสดงจำนวนร้อยละ ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย แสดงจำนวนวัน
  • จำนวนนักท่องเที่ยว แสดงจำนวนคน
  • จำนวนห้องพักที่มีไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
  • จำนวนสถานพักแรมที่มีไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว

สินเชื่อผู้ประกอบการพัฒนาโรงแรมคงค้าง[แก้]

ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์โรงแรม-รีสอร์ท[แก้]

  • แสดงจำนวนแปลง กทม.-ปริมณฑล
  • แสดงมูลค่า กทม.-ปริมณฑล

อุตสาหกรรม[แก้]

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงาน[แก้]

ข้อมูลนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ[แก้]

  • จำนวนนิคมอุตสาหกรรมจัดตั้งใหม่ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจัดตั้งใหม่
  • จำนวนและพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสะสม
  • พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมคงเหลือจากการขายหรือให้เช่า
  • พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ขายหรือให้เช่าได้
  • ราคาขายและค่าเช่าพื้นที่

สินเชื่อผู้ประกอบการพัฒนาโรงงานคงค้าง[แก้]

ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์โรงงานอุตสาหกรรม[แก้]

  • แสดงจำนวนแปลง กทม.-ปริมณฑล
  • แสดงมูลค่า กทม.-ปริมณฑล

สนามกอล์ฟ[แก้]

ข้อมูลสนามกอล์ฟ[แก้]

  • จำนวนสนามเปิดใหม่
  • พื้นที่ของสนามเปิดใหม่
  • จำนวนและพื้นที่สะสม
  • จำนวนสนามแยกตามจำนวนหลุม

รายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสนามกอล์ฟ[แก้]

สินเชื่อผู้ประกอบการพัฒนาสนามกอล์ฟคงค้าง[แก้]

ที่ดินเปล่า[แก้]

ราคาประเมินที่ดินรอบบัญชี 2551-2554[แก้]

ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรอบบัญชี 2555-2558[แก้]

ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรอบบัญชี 2559-2562[แก้]

สินเชื่อผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินเปล่าคงค้าง[แก้]

ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่า[แก้]

ข้อมูลอื่นๆ[แก้]

ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน (HCCI)[แก้]

ดัชนีราคาขายส่งวัสดุก่อสร้าง[แก้]

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์[แก้]

หุ้นกู้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์[แก้]

ประชากรและครัวเรือน[แก้]

สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ[แก้]

  • สินเชื่อเพื่อการเตรียมสถานที่ก่อสร้างคงค้าง
  • สินเชื่อรับเหมาก่อสร้างอาคารคงค้าง
  • สินเชื่อเพื่องานวิศวกรรมโยธาหรือการก่อสร้างขนาดใหญ่คงค้าง
  • สินเชื่อตัวแทนและนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์คงค้าง

อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3]