ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Rapper rapper

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บัณฑิตางกูร เป็นนามปากกาของ อ.ชัยวัฒน์ เสาทอง อาจารย์ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ได้กล่าวไว้ในท้ายหนังสือในส่วนแนะนำผู้เขียนว่าได้นามปากกามาจากการเลือกหาชื่อบุคคลที่จารึกในเขมรโบราณ และชอบชื่อนี้มากจึงได้นำมาใช้เป็นนามปากกาในฐานะ นวนิยายเรื่องแรกเกี่ยวกับเขมรในยุคโบราณ

ไฟล์:เศวตฉัตรนาคา
www.weloveshopping.com - 624 × 415 - ค้นด้วยภาพ

บัณฑิตางกูร หรือ ชัยวัฒน์ เสาทอง เกิด พ.ศ. ๒๕๑๒ จังหวัดสุรินทร์ ที่อยู่ตามภูมิลำเนาเดิม ๑๘ ถนนมูลศาสตร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ประวัติด้านการศึกษา - อบรม - โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ - โรงเรียนสุรวิทยาคาร - พ.ศ. ๒๕๓๓ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต เอกภาษาไทย โทภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร - พ.ศ. ๒๕๔๕ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะโบราณคดี เอกเขมร มหาวิทยาลัยศิลปากร (การศึกษาระบบเสียงภาษาเขมรบ้านสำโรงบน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี) - กำลังทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เอกภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (การแปรของเสียงสระภาษาเขมรในประเทศไทย)

ประวัติการทำงาน - เคยทำงานบริษัทประกอบวิทยุสื่อสาร - บริษัทให้บริการสื่อสารทางดาวเทียม - บริษัทให้บริการระบบโทรศัพท์มือถือในกัมพูชา - ฝ่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์ประกอบฉากในละครทีวีภาพยนตร์ - ผู้จัดการร้านอาหารไทยในเวียดนาม - ผู้ดำเนินรายการวิทยุภาคภาษาเขมร - เจ้าหน้าที่แผนกวีซ่าถาวร สถานเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำประเทศไทย - ล่ามและนักแปลอิสระ ภาษาไทย-เขมร และเขมรไทย - นักเขียนบทความสารคดีและนวนิยาย - อาจารย์สอนภาษาเขมรในภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

งานเขียนสารคดี - “วันเพ็ญไทย-เขมร” จดหมายถึงบรรณาธิการ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม - “ภาษาเขมรในภาษาไทย” จดหมายถึงบรรณาธิการ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ พ.ย. ๒๕๔๕ - “สำรับกับข้าวเขมร” สโมสรศิลปวัฒนธรรม นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มิ.ย. ๒๕๔๗ - “กิน ในภาษามอญ-เขมร” จดหมายถึงบรรณาธิการ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ธ.ค. ๒๕๔๗ - “อาหารการกินเวียดนาม” สโมสรศิลปวัฒนธรรม นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ม.ค. ๒๕๔๘ - “พญาน้อยชมตลาดญวน” สโมสรศิลปวัฒนธรรม นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ส.ค. ๒๕๔๘ - “ชุดประจำชาติสตรีเวียดนาม” สโมสรศิลปวัฒนธรรม นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ก.ย. ๒๕๔๘ - “พญาน้อยชมตลาดเขมร” สโมสรศิลปวัฒนธรรม นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ธ.ค. ๒๕๔๘

บทความวิชาการ - “ภาษาเขมรที่บ้านสำโรงบน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี” วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒ (ก.ค.-ธ.ค. ๒๕๔๘) - “ประสบการณ์การแปล กรณีการดำเนินรายวิทยุภาคภาษาเขมร” วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2549

เรื่องสั้น - ไอศกรีมของโปรด, ผีขี้หึง, ความลับมีในโลก (นิตยสารขวัญเรือน)

นวนิยาย - เศวตฉัตรนาคา เล่ม ๑ - ๒ บุษบานาครี เล่ม ๑ - ๒ (นามปากกา บัณฑิตางกูร)